Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55019
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนพดล จอกแก้ว-
dc.contributor.advisorศิริมา ปัญญาเมธีกุล-
dc.contributor.authorสมจินตนา แขนงแก้ว-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:23:12Z-
dc.date.available2017-10-30T04:23:12Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55019-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractกิจกรรมในงานก่อสร้างถนนเป็นหนึ่งในแหล่งกำเนิดที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองในบริเวณหน่วยงานก่อสร้าง ซึ่งส่งผลกระทบด้านสุขภาพต่อคนงานในหน่วยงานก่อสร้างและประชาชนที่อยู่บริเวณโดยรอบ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีแก้ไขและลดปัญหาการเกิดฝุ่นละอองจากแหล่งกำเนิดฝุ่นละออง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการศึกษากระบวนการวัดและวิเคราะห์ปริมาณฝุ่นละอองที่มีแหล่งกำเนิดจากกิจกรรมในการก่อสร้างถนนและนำเสนอแนวทางการลดปริมาณฝุ่นละอองที่เกิดจากกิจกรรมก่อสร้างถนนโดยการปรับปรุงขั้นตอนการก่อสร้าง ซึ่งจากการศึกษาพบว่าตัวอย่างกิจกรรมก่อสร้างในส่วนของงานดินที่เป็นแหล่งกำเนิดของฝุ่นละออง ได้แก่ กิจกรรมถมดินและกิจกรรมเกลี่ยดิน จากผลการศึกษาพบว่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นในกิจกรรมก่อสร้างมีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 5.16 ถึง 94.07 µg/m3 และเมื่อทำการปรับปรุงขั้นตอนการก่อสร้างในกิจกรรมก่อสร้าง ได้แก่ การฉีดพ่นน้ำและการใช้แผงกั้นฝุ่นละอองในกิจกรรมเทดินและกิจกรรมเกลี่ยดินตามลำดับ พบว่าสามารถลดปริมาณฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นในบริเวณก่อสร้างได้ 43 และ 85 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบกับขั้นตอนการก่อสร้างปกติและเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการก่อสร้างระหว่างขั้นตอนการก่อสร้างปกติกับขั้นตอนการก่อสร้างที่ออกแบบเพื่อลดการเกิดฝุ่นละออง พบว่าขั้นตอนการก่อสร้างที่ออกแบบเพื่อลดการเกิดฝุ่นละอองของกิจกรรมเทดินและกิจกรรมเกลี่ยดินมีต้นทุนที่สูงกว่าขั้นตอนการก่อสร้างปกติประมาณ 1.25 บาทต่อลูกบาศก์เมตรและ 7 บาทต่อลูกบาศก์เมตร หรือ 1.4 และ 7.2 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ-
dc.description.abstractalternativeActivities of road construction are known as one major sources of dust occurrence along the construction site also affect those working in such area and people around the construction site. Nowadays, the problem remains unsolved although it gets more concerned. The objectives of this research are (i) to present the process of measurement and analyze the dust occurrence from road construction activities and (ii) to propose the reduction methods of dust occurrence from road construction activities by construction process improvement. The results show that construction activities which are sources of dust occurrence consist of filling activity and grading activity. Average of dust concentration range from 5.16 to 94.07 µg/m3. The quantity of dust successfully reduce by 43 and 85 percentage by uses of water spraying and dust net protection for filling activity and grading activity, respectively. Moreover, in comparison with the concentration cost, both improvement processes of filling activity and grading activity would add more cost around 1.25 Baht per cu.m. and 7 Baht per cu.m. or 1.4 and 7.2 percentage, respectively.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.904-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการวัดและการลดปริมาณการเกิดฝุ่นละอองจากกิจกรรมในโครงการก่อสร้างถนน กรณีศึกษาการก่อสร้างถนนในเขตจังหวัดลำปาง-
dc.title.alternativeA MEASUREMENT AND REDUCTION OF DUST OCCURRENCE FROM ROAD CONSTRUCTION ACTIVITIES: A CASE STUDY OF ROAD CONSTRUCTION PROJECT IN LAMPANG PROVINCE-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorNoppadon.J@chula.ac.th,Noppadon.J@chula.ac.th-
dc.email.advisorSirima.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.904-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770319821.pdf13.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.