Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55028
Title: การเปรียบเทียบรูปแบบมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศระหว่างค่าสูงสุดและเปอร์เซ็นต์ไทล์ ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) และ ก๊าซโอโซน
Other Titles: The Comparison of Forms of Ambient Air Quality Standards between Highest Value and Percentile Value for PM10 and Ozone
Authors: ชนกานต์ พูลทรัพย์
Advisors: ศิริมา ปัญญาเมธีกุล
วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sirima.P@Chula.ac.th,Sirima.P@Chula.ac.th
wongpunl@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศที่เหมาะสมกับประเทศไทยของค่ามาตรฐานระยะสั้นฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) และก๊าซโอโซนเพื่อให้สามารถนำผลการประเมินสถานการณ์คุณภาพอากาศไปใช้ในการกำหนดแผนงานจัดการคุณภาพอากาศได้อย่างเหมาะสม และเสนอแนะค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศที่ได้จากรูปแบบค่ามาตรฐานใหม่ ที่ยังคงมีความเข้มงวดมิได้ลดหย่อนไปกว่าเกณฑ์มาตรฐานปัจจุบัน โดยในงานวิจัยได้ทำการเปรียบเทียบรูปแบบมาตรฐานคุณภาพอากาศปัจจุบันที่ประเทศไทยใช้อยู่คือ ค่า PM10 - 24 ชั่วโมงสูงสุด (A1) กับรูปแบบใหม่ที่นำเสนอคือ เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 98 (P98) และ 95 (P95) ในส่วนของก๊าซโอโซนมาตรฐาน 1- ชั่วโมง และ 8 - ชั่วโมง ได้ทำการเปรียบเทียบ รูปแบบค่ามาตรฐานปัจจุบัน (ค่าสูงสุด OA1) ค่าสูงสุดที่ยอมให้เกินได้ 1 ครั้งใน 1 ปี (OA2) และค่าสูงสุดลาดับที่ 4 (OA4) กับรูปแบบใหม่คือ เปอร์เซ็นต์ไทล์(OP98, OP95) โดยใช้ข้อมูลรายชั่วโมงจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ (67 สถานีตรวจวัด) ของกรมควบคุมมลพิษเป็นระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ. 2548-2557) ผลการศึกษารูปแบบการกระจายระหว่างค่าเฉลี่ยรายปีซึ่งยอมรับว่ามีความน่าเชื่อถือทางสถิติ กับรูปแบบต่างๆของค่ามาตรฐานระยะสั้น พบว่าค่าสหสัมพันธ์ (Correlation coefficient: R) ระหว่างA1 P98 และP95 กับค่าเฉลี่ยรายปีของ PM10 (24 ชั่วโมง) เท่ากับ 0.6880 0.7822 และ0.8517 ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถสรุปได้ว่า P95 เป็นรูปแบบมาตรฐานที่มีความแปรปรวนน้อยที่สุด ทั้งนี้พบว่าค่ามาตรฐานที่เหมาะสมอยู่ที่ 80 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะมีความเข้มงวดเทียบเท่ามาตรฐานปัจจุบัน โดยพิจารณาจากจำนวนสถานีที่เกินค่ามาตรฐาน ผลการศึกษารูปแบบการกระจายระหว่าง OA1 OA2 OP98 และ OP95 กับค่าเฉลี่ยรายปีของก๊าซโอโซนมาตรฐาน 1 ชั่วโมง มีค่าสหสัมพันธ์ (Correlation coefficient: R) เท่ากับ 0.5920 0.6159 0.7972 และ 0.8748 ผลการศึกษารูปแบบการกระจายระหว่าง OA1 OA4 OP98 และ OP95 กับค่าเฉลี่ยรายปีของก๊าซโอโซนมาตรฐาน 8 ชั่วโมง มีค่าสหสัมพันธ์ (Correlation coefficient: R) เท่ากับ 0.6391 0.7762 0.8232 และ 0.8808 จึงสรุปได้ว่า OP95 เป็นรูปแบบมาตรฐานที่มีความแปรปรวนน้อยที่สุดเช่นเดียวกับฝุ่นละออง และค่ามาตรฐาน 1 ชั่วโมง และ 8 ชั่วโมงที่เหมาะสมกับรูปแบบ OP95 อยู่ที่ 70 ส่วนในพันล้านส่วน และ 50 ส่วนในพันล้านส่วนตามลำดับ การประเมินเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 95 สามารถประเมินสถานการณ์คุณภาพอากาศได้ชัดเจนยิ่งขึ้นและมีความแปรปรวน (Fluctuation) น้อยกว่า ส่งผลให้ทางภาครัฐสามารถกำหนดนโยบายจัดการคุณภาพอากาศในระยะยาวได้ดีกว่าการประเมินด้วยค่าสูงสุด โดยยังคงความเข้มงวดเทียบเท่ามาตรฐานปัจจุบัน
Other Abstract: The purpose of this research is to study the suitable form of Thailand National Ambient Air Quality Standard (NAAQS) of 24-hour PM10 (Short-term standard), 1-hour Ozone (Short-term standard) and 8-hour Ozone (Long-term standard) for assessing the effective policy in the long term and recommend the standard value of NAAQs in the new form that is as stringent as before. This study compared the existing form of maximum 24-hour PM10 (A1) with the proposed 98 percentile and 95 percentile values and the existing form of maximum 1-hour Ozone and 8-hour Ozone (OA1), the highest value can not exceed more than once per year (OA2) and the forth highest value (OA4) with the proposed 98 percentile and 95 percentile values. Air quality data were obtained from 67 PCD air quality stations for 10 years (B.E. 2548-2557). The scatter diagram of PM10 shows that correlation coefficient (R) between annual average (AN) with maximum (A1), 98 percentile (P98) and 95 percentile (P95) values were found to be equal to 0.6880, 0.7822, 0.8517 respectively. It can be concluded that P95 has the least fluctuation. Furthermore, the proposed P95 standard should be 80 μg/m3 to be as stringent as before based on the number of stations that exceed the standard each year. For 1-hour Ozone (short-term) standard the correlation coefficient (R) between annual average (OAN) with OA1, OA2, OP98 and OP95 values were found to be 0.5920 0.6159, 0.7972 and 0.8748, respectively. For 8-hour Ozone standard the correlation coefficient (R) between annual average (OAN) with OA1, OA4, OP98 and OP95 values of were found equal to 0.6391 0.7762 0.8232 and 0.8808, respectively. It can be concluded that OP95 has the least fluctuation the same as PM10. The equivalent OP95 1-hour Ozone and 8-hour Ozone standards should be 70 ppb and 50 ppb respectively to be as stringent as the existing based on the number of stations that exceed the standard each year. The 95 percentile standard can evaluate the situation of air quality with less fluctuation from year-to-year. As a result, the government can make a more consistence mitigation policy than in the past
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55028
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1031
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1031
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770390221.pdf9.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.