Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55032
Title: ประสิทธิภาพและเกณฑ์การออกแบบอุปกรณ์เติมอากาศแบบเวนจูรีและการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์สร้างฟิล์มของเหลว
Other Titles: EFFICIENCY AND DESIGN CRITERIA OF VENTURI AIR INJECTOR COUPLE WITH LIQUID-FILM-FORMING APPARATUS (LFFA)
Authors: รัชกาล พันธวิศิษฏ์
Advisors: พิสุทธิ์ เพียรมนกุล
มรุพัชร จำนงค์วงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Pisut.P@Chula.ac.th,pisut114@hotmail.com
marupatch@hotmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาอุปกรณ์เติมอากาศเวนจูรี (Venturi Air Injector) ในด้านประสิทธิภาพการเติมอากาศ ปัจจัยที่ส่งผลประทบต่อประสิทธิภาพการเติมอากาศ การพัฒนาประสิทธิภาพการเติมอากาศด้วยการติดตั้งอุปกรณ์สร้างฟิล์มของเหลว (Liquid Film Forming Apparatus) และการสร้างสมการทำนายประสิทธิภาพการเติมอากาศของอุปกรณ์เวนจูรี โดยงานวิจัยเริ่มจากการทดสอบอุปกรณ์เวนจูรีขนาด 2 นิ้ว ได้ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทออกซิเจนที่สภาวะมาตรฐาน (KLa20) เท่ากับ 30.57 ชม.-1 ค่าอัตราการถ่ายเทออกซิเจนมาตรฐาน (SOTR) เท่ากับ 236.62 กรัม-ออกซิเจน/ชม. ค่าประสิทธิภาพการเติมอากาศมาตรฐาน (SAE) เท่ากับ 0.22 กก.ออกซิเจน/กิโลวัตต์-ชม. และค่าประสิทธิภาพการถ่ายเทออกซิเจนมาตรฐาน (SOTE) เท่ากับ 3.98% ตามลำดับ ที่อัตราการไหลน้ำ 240 ลิตร/นาที แรงดัน 1.15 บาร์ ความลึกน้ำ 70 เซนติเมตร โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลประทบต่อประสิทธิภาพของเวนจูรีได้แก่ 1) เครื่องสูบน้ำ 2) การออกแบบอุปกรณ์เวนจูรี และ 3) การติดตั้งอุปกรณ์เวนจูรี ปัจจัยแรกควรเลือกเครื่องสูบน้ำให้เหมาะสมกับสภาวะการเดินระบบ (Operating Point) ของเวนจูรีแต่ละขนาดซึ่งควรตกอยู่ในช่วงกึ่งกลาง Pump Curve ของเครื่องสูบน้ำที่เลือกใช้งาน ปัจจัยที่สองการออกแบบอุปกรณ์เวนจูรีพบว่าอัตราส่วนหน้าตัดบริเวณคอคอดต่อหน้าตัดทางน้ำเข้า (Dt/D) เท่ากับ 0.5 มีค่าเรย์โนลด์นัมเบอร์ด้านขาเข้าที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 63,000 – 188,000 ปัจจัยที่สามการติดตั้งเวนจูรีโดยเลือกอัตราไหลน้ำและระดับความลึกน้ำที่เหมาะสม จากการทดลองพบว่าความเร็วน้ำที่บริเวณคอคอดของเวนจูรีที่ให้ประสิทธิภาพในการดูดอากาศสูงอยู่ในช่วง 12 – 15 เมตร/วินาที และระดับความลึกน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลประสิทธิภาพการเติมอากาศดีขึ้น แต่อัตราการไหลอากาศจากเวนจูรีที่เหมาะสมจะสูงขึ้นตาม ด้านตัวแปรอุทกศาสตร์ฟองอากาศจากอุปกรณ์เวนจูรีพบว่า การเคลื่อนที่ของฟองอากาศมีลักษณะเป็นเส้นโค้งขึ้นสู่ผิวน้ำ โดยระยะทางที่ฟองอากาศพุ่งไปด้านหน้าจะแปรผันตรงกับอัตราการไหลน้ำ และตัวแปรขนาดฟองอากาศ (DB) ของเวนจูรีขนาด 2 นิ้ว ที่อัตราไหลอากาศ 2 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง พบว่ามีค่าเฉลี่ยขนาดฟองอากาศเท่ากับ 3.26 มิลลิเมตร ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าฟองอากาศจากหัวทราย แต่มีขนาดใกล้เคียงกับฟองอากาศจากท่อยางยืดหยุ่น การพัฒนาประสิทธิภาพอุปกรณ์เวนจูรีโดยการติดตั้งอุปกรณ์สร้างฟิล์มของเหลว สามารถเพิ่มค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทออกซิเจน (KLa) ได้ประมาณ 5.10 – 9.43 % และจากผลการทดลองประสิทธิภาพของเวนจูรีขนาด 2 นิ้ว สามารถนำมาสร้างสามารถสมการทำนายค่าอัตราส่วนการไหลของอากาศต่อน้ำ (Qg/Qw) และสร้างสมการทำนายค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทออกซิเจนมาตรฐาน (KLa20) โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนสูงสุด 12.03% และ 14.50% ตามลำดับ
Other Abstract: This article focuses on studying Venturi air injector in several term instead of the aeration efficiency, the variables that affect the performance of aeration, the improvement of aeration efficiency by installed the Liquid Film Forming Apparatus (LFFA) and create the efficiency prediction models of Venturi. The results of 2-inch Venturi aeration test showed that the value of standard oxygen transfer coefficient (KLa20) is 30.57 hr-1, the standard oxygen transfer rate (SOTR) is 236.62 gO2/hr, the standard aeration efficiency (SAE) is 0.22 kgO2/kWh and the standard oxygen transfer efficiency (SOTE) is 3.98% respectively at water flow rate 240 liters/min pressure 1.15 bar. The results of the experiment showed that there are three main factors that affect the performance of Venturi. The first factor is water pump, the pump should be selected to suit the operating point of each Venturi size, which should operate at the middle of the pump performance curve. The second factor is the design of Venturi, the ratio of throat diameter to inlet diameter (Dt/D) 0.5 is suitable for inlet Reynolds number 63,000 - 188,000. The third factor is the installation of the Venturi by selecting the appropriate water flow rate and water depth. The experiments showed that the water velocity at throat in range 12 - 15 m/s gave high air suction rate. Higher water levels improve aerating performance but the appropriate air flow rate of Venturi will increase accordingly. The study of bubbles hydrodynamics of Venturi found that the bubbles from outlet of Venturi move in straight line for a short distance and bend up to the water surface, by the dispersion distance of bubbles to the front of Venturi is varies with the water flow rate. The bubbles size of 2-inch Venturi at air flow rate 2 m3/hr have the average bubble size 3.26 mm. which was smaller than the bubbles from stone ball diffuser but close to the bubbles size of elastic hoses diffuser. The improvement of Venturi aeration efficiency by installing LFFA. It is possible to increase the oxygen transfer coefficient (KLa) by about 5.10 - 9.43%. Based on the results of the 2-inch Venturi experiment, we can construct the equations for the rato of air -water flow rate (Qg/Qw) and standard oxygen transfer coefficient (KLa20) prediction with a maximum error of 12.03% and 14.50%, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55032
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1021
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1021
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770455421.pdf9.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.