Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5503
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิทย์ สุนทรนันท์-
dc.contributor.advisorณัฐพร โทณานนท์-
dc.contributor.authorมโน ลิ่มวรพันธุ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-01-16T08:36:33Z-
dc.date.available2008-01-16T08:36:33Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9743471944-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5503-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractน้ำมันเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ (CNSL) เป็นวัตถุดิบทางธรรมชาติที่สามารถนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ที่มีประโยชน์ได้หลายชนิด เช่น ผ้าเบรกหรือวาณิชเป็นต้น ก่อนนำมาใช้งาน CNSL ควรได้รับการปรับปรุงคุณภาพเบื้องต้นโดยการทำปฏิกิริยาดีคาร์บอกซิเลชันเพื่อให้กรดอานาคาร์ดิกถูกเปลี่ยนเป็นคาร์ดานอล เพื่อความง่ายและปลอดภัยในการใช้งานต่อไป แต่สิ่งที่มักเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการดีคาร์บอกซิเลชันคือปฏิกิริยาการเสื่อมสภาพ ซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีปริมาณลดลง งานวิจัยนี้จะค้นหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการทำปฏิกิริยาดีคาร์บอกซิเลชันเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ออกมาสูงที่สุด และเกิดปฏิกิริยาการเสื่อมสภาพน้อยที่สุด อีกทั้งยังเป็นการค้นหาวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์ปริมาณองค์ประกอบต่างๆ ใน CNSL อีกด้วย ในการทดลอง สภาวะของปฏิกิริยาดีคาร์บอกซิเลชันที่เลือกศึกษาคือ ที่อุณหภูมิ 80 ํC, 120 ํC, 160 ํC, 200 ํC และ 240 ํC โดยทำการเก็บตัวอย่างของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำที่เกิดขึ้นที่เวลาต่างๆ และนำตัวอย่าง CNSL ณ เวลาต่างๆ มาวิเคราะห์หาปริมาณสารองค์ประกอบด้วยเทคนิค HPLC จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ที่อุณหภูมิ 80 ํC และ 120 ํC อัตราการเกิดปฏิกิริยาดีคาร์บอกซิเลชันจะต่ำ ในขณะที่อุณหภูมิ 200 ํC และ 240 ํC ปฏิกิริยาดีคาร์บอกซิเลชันจะเกิดได้รวดเร็ว แต่อัตราการเสื่อมสภาพก็จะเพิ่มขึ้นในระดับที่ค่อนข้างเด่นชัด ดังนั้นสภาวะที่เหมาะสมในการดีคาร์บอกซิเลชัน คือที่อุณหภูมิ 160 ํC และใช้ช่วงระยะเวลาสั้น เพื่อเพิ่มอัตราการเกิดปฏิกิริยาดีคาร์บอกซิเลชัน ในขณะเดียวกันก็ลดผลของปฏิกิริยาการเสื่อมสภาพen
dc.description.abstractalternativeCashew nut shell liquid (CNSL) is the natural raw material which can be used to produce various useful polymer products such as breaklining or coating material. Prior to any uses, CNSL should be modified via decarboxylation of Anacardic acid to Cardanol for the sake of ease and safety in further operations. Nevertheless deterioration has mostly been presented during decarboxylation. Which results in the decrease of decarboxylation product. This research focuses on the determination of appropriate conditions for decarboxylation in order to achieve high product yield and minimal deterioration. In addition, the proper method for analyses CNSL compositions is evaluated. In the experiments, the chosen conditions for decarboxylation are at 80 ํC, 120 ํC, 160 ํC, 200 ํC and 240 ํC respectively. The resulted carbondioxide and water were collected at various reaction times. CNSL were then taken to analyze their compositions using HPLC method. The results show that at 80 ํC and 120 ํC, the rate of decarboxylation is low, whereas at 200 ํC and 240 ํC, decarboxylation occurs more rapid, but the rate of deterioration has increased markedly. Consequently, the appropriate condition for decarboxylation is at 160 ํC and to use short period of reaction time in order to enhance the rate of decarboxylation while the deterioration reaction is suppressed.en
dc.format.extent3259880 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเมล็ดมะม่วงหิมพานต์en
dc.titleปฏิกิริยาดีคาร์บอกซิเลชันและปฏิกิริยาการเสื่อมสภาพของน้ำมันเปลื่อกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์en
dc.title.alternativeDecarboxylation and deterioration reaction of cashew nut shell liquiden
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมเคมีes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorWit.S@Chula.ac.th-
dc.email.advisorNattaporn.T@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mano.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.