Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55197
Title: การกำหนดขนาดของแบตเตอรี่ที่เหมาะสมในระบบผลิตไฟฟ้าโดยคำนึงถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงของโหลดและการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
Other Titles: DETERMINATION OF OPTIMAL BATTERY SIZE IN GENERATION SYSTEM CONSIDERING RAMP RATE OF LOAD AND RENEWABLE ENERGY GENERATION
Authors: พัทธพล อั้นจุกฉุน
Advisors: กุลยศ อุดมวงศ์เสรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kulyos.A@Chula.ac.th,kulyos.a@eng.chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ทำให้ภาครัฐต้องจัดหาเชื้อเพลิงเพื่อนำมาผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหลัก คือ เชื้อเพลิงประเภทฟอสซิล อย่างไรก็ดี การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีเป็นเชื้อเพลิงที่มีแนวโน้มจะหมดไปในอนาคต ดังนั้น พลังงานหมุนเวียนจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำมาช่วยในการผลิตไฟฟ้าได้ กระทรวงพลังงานมีแผนการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้มีมากขึ้นทุกๆ ปี อย่างไรก็ตาม การใช้งานพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วนสูงอาจก่อให้เกิดปัญหากับระบบไฟฟ้าได้ เช่น ปัญหาความไม่แน่นอนของกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้โดยเฉพาะจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตได้มากในเวลากลางวันแต่ไม่สามารถผลิตได้ในเวลากลางคืน ส่งผลกระทบทำให้ระบบไฟฟ้าขาดเสถียรภาพ ซึ่งปัญหาหนึ่งที่เห็นได้เด่นชัด คือ ปัญหาการตอบสนองของระบบผลิตไฟฟ้าต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงของโหลด กล่าวคือ โรงไฟฟ้าที่เดินเครื่องอยู่ในระบบอาจไม่สามารถตอบสนองต่อการเพิ่มและลดลงอย่างฉับพลันของโหลดได้ ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงได้นำเสนอแนวคิดของการนำแบตเตอรี่มาช่วยในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อเพิ่มความมั่นคงต่อระบบไฟฟ้าและลดปัญหาที่เกิดจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของโหลดที่สูงขึ้นจากการใช้พลังงานหมุนเวียนในสัดส่วนสูง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ นำเสนอวิธีการหาขนาดของแบตเตอรี่ที่เหมาะสมเพื่อแก้ปัญหาการตอบสนองต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงของโหลดเมื่อมีพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วนสูงเข้าสู่ระบบ ทั้งนี้ จะอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลของกำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ณ ปี 2579 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก และจะแบ่งการพิจารณาแยกรายพื้นที่โดยแบ่งออกเป็น 6 พื้นที่ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย โดยในขั้นตอนการวิเคราะห์ จะเริ่มจากสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของพลังงานหมุนเวียนและความต้องการใช้ไฟฟ้า สำหรับในส่วนของแบตเตอรี่นั้นจะใช้แบบจำลองในสภาวะอยู่ตัวของแบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออน ผลที่ได้จากการทดลองพบว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงของโหลดเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด
Other Abstract: Thailand’s electricity demand is growing steadily. The main energy resource that has been used to generate the electricity in Thailand is the fossil fuel. Obviously, the fossil fuel causes an environmental problem. Thus, renewable energy is considered to be a better option for the electricity generation in term of the environmental consideration. The ministry of energy has been planning to increase the use of renewable energy. However, the high penetration of renewable energy can cause problems, such as unpredictability of power output from wind and solar, to power systems. Electrical power generated from the solar PV depends on solar intensity and ambient temperature during the day. Combining with power demand profile of Thailand, it may lead to a main problem in the future that the generation system cannot respond to the ramp rate of the (net) load. In other words, the generator in the system cannot respond to the sudden change of load. Thus, this thesis proposes the use of battery to solve this problem which makes the power system more stable and help reduce problem from high ramp rate of load from high penetration of renewable energy. This thesis proposes the method to determine the optimal size of battery that can remedy ramp rate of load problem when there is high penetration of renewable energy connected to the power system. This thesis uses the forecasted data of Thailand’s power demand in 2036 which is the final year of the PDP2015 and AEDP2015. By considering the regions of Thailand, 6 areas based on geographical characters are of interest. For battery model, the steady state model of lithium ion battery is used. The result shown that the ramp rate change drastically.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55197
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.948
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.948
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5870200821.pdf5.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.