Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55217
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธราพงษ์ วิทิตศานต์-
dc.contributor.authorสิญจนา มาบุญลือ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:31:13Z-
dc.date.available2017-10-30T04:31:13Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55217-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาการแตกตัวของน้ำมันปลาเหลือทิ้งด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาแมกนีเซียมออกไซด์ ในเครื่องปฏิกรณ์แบบแบตช์ขนาด 70 มิลลิลิตร โดยใช้การทดลองแบบแฟกทอเรียลสองระดับ ศึกษาอิทธิพลของตัวแปรที่มีผลต่อการเปลี่ยนสารตั้งต้น ไปเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งประกอบด้วย อุณหภูมิ เวลาในการทำปฏิกิริยา ความดันไฮโดรเจนเริ่มต้น และปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา โดยกระบวนการแตกตัวจะทำการศึกษาที่อุณหภูมิ 420 – 500 องศาเซลเซียส เวลาในการทำปฏิกิริยา 30 – 60 นาที ความดันไฮโดรเจนเริ่มต้น 1 – 5 บาร์ และปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา ร้อยละ 1 – 5 โดยน้ำหนัก โดยนำผลิตภัณฑ์น้ำมันที่ได้ไปวิเคราะห์องค์ประกอบตามคาบจุดเดือดด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟแบบจำลองการกลั่น (DGC) เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์และองค์ประกอบที่ดีที่สุด จากการทดลองพบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อร้อยละผลิตภัณฑ์ที่เป็นแนฟทา และอัตราส่วนแนฟทาต่อกากน้ำมัน คือ อุณหภูมิ ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา เวลาในการทำปฏิกิริยา และปริมาณแก๊สไฮโดรเจนเริ่มต้น จากการคำนวณด้วยโปรแกรม Design-expert พบว่าภาวะที่เหมาะสมในการแตกตัวของน้ำมันปลาเหลือทิ้งโดยใช้แมกนีเซียมออกไซด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา คือ อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส เวลา 60 นาที ความดันของไฮโดรเจนเริ่มต้น 5 บาร์ และปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก ได้ร้อยละของผลิตภัณฑ์ที่เป็นแก๊ส 62.0 ของเหลว 24.4 และของแข็ง 13.6 ตามลำดับ เมื่อนำผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลวไปวิเคราะห์องค์ประกอบตามคาบจุดเดือดด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟแบบจำลองการกลั่น (DGC) พบว่ามีปริมาณร้อยละของแนฟทา 7.8 เคโรซีน 3.3 ดีเซล 6.4 แก๊สออยล์ 2.0 และกากน้ำมัน 4.9 โดยน้ำหนัก-
dc.description.abstractalternativeThis catalytic cracking of waste fish oil over magnesium oxide in a 70 mL microbatch reactor were investigated. The two level factorial experimental designs were performed to investigate the effect of variables of oil yield and their product distribution at the conditions : temperature (420 – 500 °C), time of reaction (30 – 60 min), initial hydrogen pressure (1 – 5 bar) and amount of MgO (1 – 5 %wt). The liquid yield was analyzed by simulated distillation gas chromatography (DGC) according to ASTM 2887 – D86. The result shown that the effects of variables on naphtha yield and ratio naphtha : long residue were temperature, amount of catalyst, reaction time and initial hydrogen pressure. From Design-Expert program, it was found the optimum condition is temperature of 500 °C, reaction time 60 min, initial hydrogen pressure 5 bars and using 1 wt% catalyst. The product was in 62.0 wt% gas, 24.4 wt% oil, 13.6 wt% of solid. This liquid product was analyzed by simulated distillation gas chromatography which was composed of 7.8 % of naphtha, 3.3 % of kerosene, 6.4 % of diesel, 2.0 % of gas oil and 4.9 % of long residue.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.15-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการแตกตัวเชิงเร่งปฏิกิริยาของน้ำมันปลาเหลือทิ้งบนแมกนีเซียมออกไซด์ในเครื่องปฏิกรณ์แบบแบตช์-
dc.title.alternativeCATALYTIC CRACKING OF WASTE FISH OIL ON MAGNESIUM OXIDE IN BATCH REACTOR-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีเชื้อเพลิง-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorTharapong.V@Chula.ac.th,tharapong.v@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.15-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5872067023.pdf4.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.