Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55252
Title: OPTIMIZATION OF RADIATION DOSE AND IMAGE QUALITY IN ABDOMINAL RADIOGRAPHY USING DIGITAL MOBILE X-RAY SYSTEM
Other Titles: การปรับค่าปริมาณรังสีและคุณภาพของภาพที่เหมาะสมในการถ่ายภาพรังสีช่องท้องด้วยเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ระบบดิจิทัล
Authors: Siranyapong Suwan-o-pas
Advisors: Kitiwat Khamwan
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Medicine
Advisor's Email: Kitiwat.K@chula.ac.th,kitiwat.k@chula.ac.th
Issue Date: 2016
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The abdominal radiography using digital mobile x-ray system is commonly requested for the immobilized patient. The selection of the exposure parameters needs the experience of the operator for radiation dose and image quality. The purpose of this study was to optimize the radiation dose and image quality for abdominal radiography using digital mobile x-ray system in phantom at King Chulalongkorn Memorial Hospital. Digital mobile x-ray system model OptimaXR220amx and the Kyoto Kagaku phantom model PBU-60 with 21 cm of abdominal thickness were used. The buildup layer was enclosed on the phantom to simulate a larger body type of 25 and 29 cm thickness of abdomen. The setting for experimental exposure parameters, kVp range was 70-90 (in 5 kVp increments) and mAs was 3.2, 6.3, 12.5, and 25. The setting for routine clinical exposure parameters of 21, 25, and 29 cm thickness of abdomen were 75 kVp 32 mAs, 80 kVp 32 mAs, and 85 kVp 32 mAs, respectively. The setting source to image receptor distance (SID) was 100 cm. The experimental and routine clinical exposure parameters were performed and compared in terms of radiation dose and image quality evaluation. The determination of image quality score based on IAEA protocol (5 from 7 points) and qualitative noise (1 to 2 points) were scored by three observers. The quantitative analysis was evaluated in terms of signal-to-noise ratio (SNR) by 3 regions at liver (1st ROI), transverse process in 4th lumbar spine (2nd ROI), and pelvis (3rd ROI) and contrast-to-noise ratio (CNR) was evaluated on 3 areas at liver area (1st area), left kidney and transverse process in 4th lumbar spine (2nd area), and right kidney and pelvis (3rd area) on the image. The exposure index was also recorded. The optimal parameter for 21 cm thickness of abdomen at 100 cm SID was 80 kVp, 6.3 mAs with the exposure index of 381. The image quality scoring and qualitative noise from 3 observers were 5.67 and 1, respectively. The average SNR in 1st, 2nd, and 3rd ROIs were 39.56, 61.55, and 18.24, respectively and the average of CNR in 1st, 2nd, and 3rd areas were 5.97, 7.27, and 1.50, respectively. For 25 cm thickness, the optimal parameter was 85 kVp, 6.3 mAs with the exposure index of 395. The image quality scoring and qualitative noise were 5.17 and 2, respectively. The average SNR 1st, 2nd, and 3rd ROIs were 43.67, 75.08, and 19.53, respectively and the average of CNR 1st, 2nd, and 3rd areas were 6.42, 7.54, and 1.75, respectively. For 29 cm thickness, the optimal parameter was 85 kVp, 12.5 mAs with exposure index 409. The image quality scoring and qualitative noise were 5.33 and 1, respectively. The average SNR in 1st, 2nd, and 3rd ROIs were 35.47, 67.70, and 19.43, respectively and the average of CNR in 1st, 2nd, and 3rd areas were 6.16, 5.59, and 1.69, respectively. Currently, there is no dose reference level of abdominal radiography for Thai population. The comparison between the routine clinical and optimal parameters, the entrance surface air kerma (ESAK) in the optimal parameter of 21, 25, and 29 cm thicknesses of abdomen were lower than 77%, 78%, and 61% to the routine clinical parameter. However, the optimal parameters in this study can maintain the image quality for acceptable diagnosis in various abdominal thicknesses. The optimal parameters from this study should be applied to the patient for the routine clinical parameter in the future.
Other Abstract: การถ่ายภาพเอกซเรย์ช่องท้องโดยเครื่องเอกซเรย์แบบเคลื่อนที่โดยปกติจะให้บริการเฉพาะผู้ป่วยในหอพักซึ่งไม่สามารถเคลื่อนย้ายเพื่อมารับบริการที่แผนกรังสีวิทยาได้ การตั้งค่าพารามิเตอร์นั้นต้องอาศัยประสบการณ์ของนักรังสีการแพทย์เพื่อให้ได้คุณภาพของภาพที่ดีและปริมาณรังสีที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อหาพารามิเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายภาพเอกซเรย์ช่องท้องด้วยเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ระบบดิจิทัลในหุ่นจำลองที่มีขนาดความหนาของช่องท้อง 21 ซม. และเพิ่มความหนาของช่องท้องเป็น 25 และ 29 ซม. ด้วยอุปกรณ์เพิ่มความหนาเพื่อจำลองผู้ป่วยที่มีขนาดลำตัวหนาขึ้น ทำการทดสอบตั้งค่าพารามิเตอร์ต่างๆโดยที่ค่าเควีพีเริ่มต้นที่ 70 ถึง 90 (เพิ่มขึ้นครั้งละ 5 เควีพี) และค่าเอ็มเอเอสเริ่มต้น 3.2, 6.3, 12.5, และ 25.0 ส่วนค่าพารามิเตอร์ที่ใช้ในทางคลินิกที่ความหนาของช่องท้อง 21, 25, และ 29 ซม ค่าพารามิเตอร์คือ 75 เควีพี 32 เอ็มเอเอส, 80 เควีพี 32 เอ็มเอเอส, และ 85 เควีพี 32 เอ็มเอเอสตามลำดับ โดยระยะห่างจากหลอดเอกซเรย์ถึงตัวรับภาพคือ 100 ซม. ประเมินค่าปริมาณรังสีดูดกลืนที่ผิวของหุ่นจำลองที่ได้รับและประเมินคุณภาพของภาพเอกซเรย์ในเชิงคุณภาพจากองค์ประกอบของภาพรังสีช่องท้องตามมาตรฐานของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (5-7 คะแนน) และระดับของสัญญาณรบกวน (1 หรือ 2 คะแนน) โดยผู้ประเมินผล 3 ท่าน ประเมินคุณภาพของภาพถ่ายรังสีช่องท้องในเชิงปริมาณของภาพในรูปแบบของอัตราส่วนสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน (เอสเอ็นอาร์) ใน 3 ตำแหน่ง ได้แก่ ตับ (ตำแหน่งที่ 1), กระดูกสันหลังส่วนบั้นเอวระดับที่ 4 บริเวณ Transvers process (ตำแหน่งที่ 2), และ กระดูกสะโพก (ตำแหน่งที่ 3) และประเมินอัตราส่วนความคมชัดบนภาพต่อสัญญาณรบกวน (ซีเอ็นอาร์) ใน 3 บริเวณ ได้แก่ บริเวณตับ (บริเวณที่ 1), บริเวณไตข้างซ้ายกับกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอวระดับที่ 4 บริเวณ Transvers process (บริเวณที่ 2), และ บริเวณไตข้างขวากับกระดูกสะโพก (บริเวณที่ 3) จากนั้นทำการบันทึกค่าดัชนีชี้วัดปริมาณรังสี ผลการศึกษาพบว่าค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายภาพรังสีช่องท้องโดยเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ระบบดิจิทัลในหุ่นจำลองที่มีขนาดความหนาของช่องท้อง 21 ซม. ที่ระยะห่างจากหลอดเอกซเรย์ถึงตัวรับภาพคือ 100 ซม. คือ 80 เควีพี และ 6.3 เอ็มเอเอส โดยให้ค่าดัชนีชี้วัดปริมาณรังสีเท่ากับ 381 ในส่วนของคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินคุณภาพของภาพจากผู้ประเมิน 3 ท่านและระดับของสัญญาณรบกวนมีค่าเท่ากับ 5.67 และ 1 คะแนน ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยของอัตราส่วนสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน (เอสเอ็นอาร์) ใน 3 ตำแหน่งมีค่าเท่ากับ 39.56, 61.55, และ 18.24 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยการประเมินอัตราส่วนความคมชัดบนภาพต่อสัญญาณรบกวน (ซีเอ็นอาร์) ใน 3 บริเวณคือ 5.97, 7.27, และ 1.50 ตามลำดับ ค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับสำหรับการถ่ายภาพรังสีช่องท้องที่มีขนาดความหนาของช่องท้อง 25 ซม. คือ 85 เควีพี 6.3 เอ็มเอเอส ค่าดัชนีชี้วัดปริมาณรังสีคือ 395 ในส่วนของคะแนนเฉลี่ยการประเมินคุณภาพของภาพจากจำนวนองค์ประกอบของภาพรังสีช่องท้องและระดับของสัญญาณรบกวนคือ 5.17 และ 2 คะแนน ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยการประเมินคุณภาพเชิงปริมาณของภาพรังสีช่องท้องในรูปแบบของอัตราส่วนสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน (เอสเอ็นอาร์) ใน 3 ตำแหน่งคือ 43.67, 75.08, และ19.53 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยการประเมินอัตราส่วนความคมชัดบนภาพต่อสัญญาณรบกวน (ซีเอ็นอาร์) ใน 3 บริเวณคือ 6.42, 7.54, และ 1.75 ตามลำดับ ค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับช่องท้องขนาด 29 ซม. คือ 85 เควีพี 12.5 ค่าเอ็มเอเอส โดยให้ค่าดัชนีชี้วัดปริมาณรังสีเท่ากับ 409 ในส่วนของคะแนนเฉลี่ยคุณภาพของภาพและระดับของสัญญาณรบกวนคือ 5.33 และ 1 คะแนน ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยการประเมินคุณภาพเชิงปริมาณของภาพรังสีช่องท้องในรูปแบบของอัตราส่วนสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน (เอสเอ็นอาร์) ใน 3 ตำแหน่งมีค่าเท่ากับ 35.47, 67.70, และ 19.43 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยการประเมินอัตราส่วนความคมชัดบนภาพต่อสัญญาณรบกวน (ซีเอ็นอาร์) ใน 3 บริเวณคือ 6.16, 5.59, และ 1.69 ตามลำดับ ในปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีค่าปริมาณรังสีอ้างอิงในการถ่ายภาพรังสีช่องสำหรับประชากรไทย ในงานวิจัยนี้การเปรียบเทียบปริมาณรังสีดูดกลืนที่ผิวของหุ่นจำลองของค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมกับค่าพารามิเตอร์ที่ใช้ในทางคลินิก พบว่าการใช้ค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับสำหรับการถ่ายภาพรังสีช่องท้องที่ความหนา 21, 25, และ 29 ซม. ปริมาณรังสีที่ผิวของหุ่นจำลองลดลงร้อยละ 77, 78, และ 61 ตามลำดับ โดยยังสามารถรักษาคุณภาพของภาพเพื่อการวินิจฉัยไว้ และค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมจากงานวิจัยนี้ควรนำไปทดสอบจริงในทางคลินิกสำหรับในผู้ป่วยต่อไป
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2016
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Medical Imaging
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55252
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1700
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1700
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5874079030.pdf8.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.