Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55304
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ-
dc.contributor.advisorพันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์-
dc.contributor.authorวรชัย วิภูอุปรโคตร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:35:19Z-
dc.date.available2017-10-30T04:35:19Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55304-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของเครือข่ายมหาวิทยาลัยในระดับภูมิภาค วิเคราะห์แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการเครือข่ายมหาวิทยาลัยในระดับภูมิภาค นำเสนอรูปแบบและกลยุทธ์การบริหารจัดการเครือข่ายมหาวิทยาลัยในระดับภูมิภาค ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) ข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและปัญหาของเครือข่ายมหาวิทยาลัยในระดับภูมิภาค และข้อมูลแนวปฏิบัติที่ดีของการบริหารจัดการเครือข่ายมหาวิทยาลัยในระดับภูมิภาคทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ภูมิภาคอาเซียน สหภาพยุโรป และประเทศออสเตรเลีย และ (2) ข้อมูลจากบุคคล กลุ่มแรก กลุ่มสัมภาษณ์ จำนวน 30 คน ประกอบไปด้วย (1) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน (2) กลุ่มผู้บริหารเครือข่ายมหาวิทยาลัยจำนวน 10 คน และ (3) กลุ่มผู้บริหารมหาวิทยาลัยจำนวน 15 คน กลุ่มที่สอง กลุ่มตอบแบบสอบถาม จำนวน 50 คน ประกอบไปด้วย (1) กลุ่มบุคลากรระดับปฏิบัติงานเครือข่ายมหาวิทยาลัยในประเทศไทยจำนวน 15 คน (2) กลุ่มบุคลากรระดับปฏิบัติงานเครือข่ายมหาวิทยาลัยในระดับภูมิภาคอาเซียน จำนวน 15 คน และ (3) กลุ่มอาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่ปฏิบัติงานเครือข่ายมหาวิทยาลัย กองวิเทศสัมพันธ์ กองกิจการต่างประเทศ จำนวน 20 คน และกลุ่มที่สามประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบ เสนอแนะองค์ประกอบเครือข่าย จำนวน 10 คน และจัดประชุมสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ (Connoisseurship) จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์สาระ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและแนวปฏิบัติที่ดีของเครือข่ายมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ทำให้ได้องค์ประกอบที่สำคัญของเครือข่ายมหาวิทยาลัย 6 ด้าน คือ ด้านพันธมิตรและสมาชิกเครือข่าย ด้านวัตถุประสงค์และพันธกิจ ด้านคณะทำงาน ด้านการทำงานร่วมและบรรลุผลประโยชน์ร่วมกัน ด้านการจัดการในระดับภูมิภาค และด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ และนำองค์ประกอบที่ได้มาสู่ขั้นตอนการพัฒนารูปแบบเครือข่ายมหาวิทยาลัยในระดับภูมิภาคอาเซียนที่มีความเหมาะสมในบริบทปัจจุบัน เพื่อเป้าหมายการบรรลุผลประโยชน์ของการพัฒนาภูมิภาคและมุ่งมั่นสู่การเป็นประชาคมอาเซียนโดยสมบูรณ์ ผลการศึกษาผู้วิจัยได้ นำเสนอรูปแบบและกลยุทธ์การบริหารจัดการเครือข่ายมหาวิทยาลัยในระดับภูมิภาค คือ รูปแบบและกลยุทธ์การบริหารจัดการเครือข่ายมหาวิทยาลัยในระดับภูมิภาค สร้างพลังความร่วมมือในทุกภาคส่วนของภูมิภาคอาเซียน (The POWERS-M : Model for the Regional University Network Management) เป็นการใช้ทรัพยากรร่วมกันของมหาวิทยาลัยกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อการทำงานร่วมกันในการพัฒนาภูมิภาคอาเซียน แบ่งเป็น 4 แนวทาง คือ การเสริมสร้างการวิจัยและนวัตกรรมเพื่ออาเซียน การส่งเสริมผู้ประกอบการและการพัฒนาภาคธุรกิจ สนับสนุนการพัฒนาทุนมนุษย์และการเพิ่มทักษะแรงงานเพื่อภูมิภาค และการยกระดับการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม เพื่อความเป็นอัตลักษณ์ของภูมิภาค รูปแบบนี้จะทำให้ เกิดเครือข่ายมหาวิทยาลัยหลากชั้น (Multi-Layered Network) ในการทำงานร่วมกันแบบพันธกิจสัมพันธ์ (Regional Engagement) ระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคส่วนอื่นๆ ทั้งในภูมิภาคและนานาชาติ เกิดพลวัตพลังการขับเคลื่อนร่วมกัน (Dynamic of Driven Together) ด้วยกลไกการบริหารจัดการเครือข่าย 5 ด้าน คือ ด้านทรัพยากรมนุษย์สถาบันและเครือข่าย ด้านวัตถุประสงค์และพันธกิจ ด้านแรงจูงใจและการบรรลุผลประโยชน์ร่วมกัน ด้านการบริหารจัดการ และด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ในการบริหารจัดการ (the POWERS-M Strategies) คือ (1) เสริมประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหาร สมาชิก คณะทำงานและหุ้นส่วนพันธมิตร (2) สร้างสรรค์พัฒนาวัตถุประสงค์ พันธกิจและกลยุทธ์ของเครือข่ายมหาวิทยาลัยให้ชัดเจนเพื่อการพัฒนาภูมิภาคร่วมกัน (3) สร้างแรงจูงใจและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อการบรรลุผลประโยชน์ร่วมกัน (4) พัฒนากลไกการบริหารจัดการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องเพื่อประสิทธิผลต่อมหาวิทยาลัย ประเทศและภูมิภาค และ (5) ยกระดับองค์ความรู้และความก้าวหน้าของนวัตกรรม การพัฒนา การถ่ายทอดเพื่อภูมิภาคและนานาชาติ ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญ 5 ด้าน คือ ด้านผู้นำ การมีแรงจูงใจและเป้าหมาย ความไว้วางใจและมุ่งมั่น ระดับความสัมพันธ์ของเครือข่าย ทรัพยากรและการบริหารจัดการ-
dc.description.abstractalternativeThis research aims to analyze current conditions and problems of regional university network, analyze the good practice of regional university network management and propose the model and strategies for the regional university network management. The research population and sample are categorized into 2 types: (1) documents concerning current conditions and problems of regional university network and data related to the good practice of regional university network management in Thailand, ASEAN region, Europe and Australia, and (2) data acquired from 3 groups of persons. The first one includes 30 persons (5 senior experts, 10 university network administrators and 15 university administrators). They are interviewed. Meanwhile, the second one consists of 50 persons: 15 operational personnel of university network in Thailand, 15 operational personnel of university network in ASEAN and 20 lecturers and personnel of universities in Thailand working for the university network, foreign relations division or foreign affairs division. All of them respond to the questionnaire. The third one comprises 10 senior experts who verify and give suggestions on the elements of network, while the connoisseurship discussion with all of them is arranged. The research tools are the content analysis form, questionnaire, interview form and evaluation form, while the data analysis is conducted through the content analysis, frequency, percentage, mean and standard derivation. According to the analysis of current conditions and good practice of university network in Thailand and ASEAN, 6 important elements of university network are found, namely, partnership and membership, objective and missions, working group, engagement and mutual benefit, regional management and stakeholders. These elements are then translated into the development of a model for ASEAN-level university network in a manner that suits the current context. This is for the benefit of regional development leading to the full ASEAN integration. With respect to the research results, the author has proposed the ‘POWERS-M’ or the Model for the Regional University Network Management to empower the collaboration among all parties in ASEAN. It involves resource sharing between universities and stakeholders for the purpose of the collaboration for ASEAN development and has 4 parts: research and innovation for ASEAN, enterprise and business development, human capital development, and social and cultural development for the ASEAN identity. Such models create the multi-layered network of regional engagement between universities and other sectors in the regional and international level resulting in the dynamic of driven together. There are 5 aspects of network management mechanism: human resource, institution and network, objectives and missions, motivation and achievement of mutual benefits, management and stakeholders. This consists of 5 POWERS-M strategies: (1) to enhance the efficiency of teamwork of administrators, members, working group, partners and allies; (2) to develop clear objectives, missions and strategies of university network for regional co-development; (3) to create the motivation and engagement of all sectors for the achievement of mutual benefits; (4) to continually develop a mechanism for university network management for the effectiveness of universities, countries and region; and (5) to enhance the knowledge and advancement of innovations, development and dissemination for the regional and international level. There are 5 key success factors: leadership, motivation and goal, trust and dedication, level of network relation as well as resource and management.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1285-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการนำเสนอรูปแบบและกลยุทธ์การบริหารจัดการเครือข่ายมหาวิทยาลัยในระดับภูมิภาค-
dc.title.alternativeA PROPOSED MODEL AND STRATGIES FOR THE REGIONAL UNIVERSITY NETWORK MANAGEMENT-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineอุดมศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSornnate.A@Chula.ac.th,sornnate@gmail.com,sornnate@gmail.com-
dc.email.advisorPansak.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.1285-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5484240927.pdf16.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.