Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55347
Title: การวิเคราะห์กลไกการแยกสาหร่ายออกจากเฟสของเหลวด้วยกระบวนการทำให้ลอยด้วยอากาศละลาย ทางด้านรูปแบบการไหลและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
Other Titles: Analysis of algae separation mechanism from liquid phase by dissolved air flotation process in terms of flow patterns and mathematical model
Authors: ธวัชชัย จินตธีรชัย
Advisors: ชัยพร ภู่ประเสริฐ
พิสุทธิ์ เพียรมนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chaiyaporn.P@Chula.ac.th,thingtingtam@yahoo.com,chaiyaporn.p@chula.ac.th
Pisut.P@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กระบวนการทำให้ลอยมีประสิทธิภาพสูงในการแยกอนุภาคขนาดเล็ก และมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น การผสมผสานกระบวนการทางเคมี กระบวนการทำให้ลอย และกระบวนการแยกทางกายภาพ เข้าด้วยกัน (Hybrid process) ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้งาน ในการแยกอนุภาคต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย เช่น สาหร่าย น้ำมัน อนุภาคความขุ่น เป็นต้น ซึ่งรูปแบบการไหลของของไหลในถังปฏิกิริยามีผลต่อประสิทธิภาพการแยกอนุภาคด้วยกระบวนการทำให้ลอยด้วยอากาศละลาย งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษารูปแบบการไหลภายในถังปฏิกิริยาแบบผสมผสาน ปัจจัยทางอุทกพลศาสตร์ของถังปฏิกิริยาแบบผสมผสานที่มีผลต่อรูปแบบการไหลในเทอมของค่า Dispersion number (d; D/uL) ได้แก่ อัตราการไหลของของเหลว อัตราการไหลของน้ำอัดความดัน อัตราการไหลของอากาศที่ส่วนสัมผัส ชนิดของหัวกระจายอากาศ และอัตราการไหลของอากาศที่ส่วนแยก ด้วยโมเดลทางทฤษฎีแบบ Dispersion model และทฤษฎีการออกแบบการทดลอง (DOE) ประสิทธิภาพการแยกเซลล์สาหร่ายและอนุภาคความขุ่นออกจากเฟสของเหลวด้วยกระบวนการโคแอกกูเลชั่นร่วมกับกระบวนการทำให้ลอยด้วยอากาศละลาย โดยใช้สารส้มและแคลเซียมคลอไรด์เป็นสารโคแอกกูแลนท์ และความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการไหลกับประสิทธิภาพการแยกอนุภาคของถังปฏิกิริยาแบบผสมผสาน ผลการทดลองบ่งชี้ว่าถังปฏิกิริยาแบบผสมผสานมีลักษณะเป็นถังปฏิกิริยาแบบท่อที่มีการแพร่กระจายของสารมาก อัตราการไหลของน้ำอัดความดันมีผลต่อค่า D/uL ในรูปแบบสมการเชิงเส้น โดยที่ค่า D/uL แปรผกผันกับอัตราการไหลของน้ำอัดความดัน ส่วนอัตราการไหลของอากาศที่ส่วนสัมผัสและอัตราการไหลของอากาศที่ส่วนแยกมีผลต่อค่า D/uL ในรูปแบบสมการกำลังสอง สำหรับการแยกอนุภาคออกจากเฟสของเหลวด้วยกระบวนการโคแอกกูเลชั่นร่วมกับกระบวนการทำให้ลอยด้วยอากาศละลาย ถ้าใช้สารส้มเป็นสารโคแอกกูแลนท์ จะได้ประสิทธิภาพการแยกอนุภาคความขุ่นและเซลล์สาหร่าย 70.9% และ 75% ตามลำดับ ถ้าใช้แคลเซียมคลอไรด์เป็นสารโคแอกกูแลนท์ จะได้ประสิทธิภาพการแยกอนุภาคความขุ่นและเซลล์สาหร่าย 73.7% และ 75.6% ตามลำดับ ซึ่งค่า D/uL ของถังปฏิกิริยาแบบผสมผสานที่เหมาะสมในการแยกเซลล์สาหร่ายและอนุภาคความขุ่นออกจากเฟสของเหลวด้วยกระบวนการทำให้ลอยด้วยอากาศละลายอยู่ในช่วง 0.105-0.107
Other Abstract: Flotation process is highly effective for small particle separation and it is more widely used. Combination of chemical process, flotation process, and physical separation process (Hybrid process) can be applied for various particle separations such as microalgae oil-emulsion and turbid particle etc. Flow patterns of fluid in reactor have an effect on particle separation efficiency by dissolved air flotation process. This study examined flow patterns of the hybrid reactor, effect of the hydrodynamic parameters of the hybrid reactor on flow pattern in term of dispersion number (d; D/uL) including Liquid flow rate (QL), Pressurized water flow rate (QPW), Air flow rate in contact zone and separation zone (Qg,1 and Qg,2), and type of air diffuser (D1) by dispersion model and Design of Experiments (DOE). Separation efficiency of algae and turbid particle by coagulation combined with DAF which alum and calcium chloride were used as coagulant and relationship between flow pattern and separation efficiency were also investigated in this study. The result showed that flow patterns of the hybrid reactor are Plug flow reactor with large extents of dispersion. QPW has inversely effect on D/uL and D/uL is function of Qg,1 and Qg,2 in terms of quadratic equation also. In the part of particle separation by combination of coagulation and DAF, separation efficiency of turbid particle and microalgae with alum addition were 70.9% and 75% respectively but separation efficiency of turbid particle and microalgae with CaCl2 addition were 73.7% and 75.6% respectively. Optimum D/uL value of the hybrid reactor for microalgae and turbid particle separation from liquid phase by DAF is 0.105 to 0.107.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55347
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1028
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1028
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670220121.pdf14.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.