Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55380
Title: ผลของการออกกำลังกายแบบมีแรงต้านและแบบแอโรบิคแบบก้าวหน้าต่อสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุเพศหญิงที่มีภาวะกล้ามเนื้อถดถอย
Other Titles: Effect of Progressive Resistance and Aerobic Exercise Training on Physical Performance in Elderly Women with Sarcopenia
Authors: ลดารัตน์ พนาสุภน
Advisors: พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์
วสุวัฒน์ กิติสมประยูรกุล
รณพิชัย โชคสุวัฒนสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pongsak.Y@Chula.ac.th,ypongsak@gmail.com
Wasuwat.K@Chula.ac.th
dr_ronpichai_c@yahoo.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบมีแรงต้านและแบบแอโรบิก 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ต่อสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุเพศหญิงที่มีภาวะกล้ามเนื้อถดถอย ทำการศึกษาในอาสาสมัครผู้สูงอายุเพศหญิงที่มีสุขภาพดี อายุระหว่าง 60 - 75 ปี จำนวน 37 คน มีภาวะกล้ามเนื้อถดถอยจากการคัดกรองและจากการตรวจประเมินตาม AWGS 2014 แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฝึกออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน (n=13) กลุ่มฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิก (n=12) กลุ่มควบคุม (n=12) ผู้เข้าร่วมการวิจัยจะได้รับการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ได้แก่ Short physical performance battery (SPPB), Time up and go (TUG), Six-min walk test (6MWT) ก่อนและหลังสิ้นสุดการวิจัย 12 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้รับการฝึกออกกำลังกายทั้งแบบแอโรบิกและแบบมีแรงต้านมีการเพิ่มขึ้นของค่าคะแนน SPPB การทดสอบ TUG ใช้เวลาลดลง มีความเร็วเพิ่มขึ้นและเดินได้ระยะทางเพิ่มขึ้นจากการทดสอบ 6MWT โดยพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ระหว่างก่อนและหลังจากได้รับการฝึกออกกำลังกายภายในกลุ่ม พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ระหว่างกลุ่มที่ฝึกออกกำลังกายทั้งสองกลุ่มกับกลุ่มควบคุม แต่ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ระหว่างทั้งสองกลุ่มที่ได้รับการฝึกออกกำลังกาย นอกจากนี้พบว่ามวลกล้ามเนื้อของกลุ่มที่ได้รับการฝึกออกกำลังกายทั้งสองกลุ่ม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ภายในกลุ่มก่อนและหลังฝึก ระหว่างกลุ่มที่ฝึกออกกำลังกายทั้งสองกลุ่มกับกลุ่มควบคุม แต่ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ระหว่างทั้งสองกลุ่มที่ได้รับการฝึกออกกำลังกาย ด้านมวลไขมันพบการลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เฉพาะกลุ่มที่ฝึกแบบแอโรบิก ดังนั้นการฝึกออกกำลังกายทั้งแบบแอโรบิกและแบบมีแรงต้านเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ สามารถเพิ่มสมรรถภาพทางกาย เพิ่มมวลกล้ามเนื้อและพัฒนาคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุที่มีภาวะกล้ามเนื้อถดถอยได้
Other Abstract: The purpose of the study was to investigate the effect of progressive resistance and aerobic exercise training (3-4 days per week) for 12 weeks on physical performance in elderly women with Sarcopenia. Healthy women volunteers aged between 60-75 years were screened and audited for Sarcopenia. Thirty-seven elderly women with sarcopenia were randomized into RT group (n=13) performed resistance exercise with 70% 1 RM 10repetition 3sets, and AT group (n=12) performed aerobic exercise with 60-80% HRR). Participants were examined Short physical performance battery, Time up and go, six-min walk test before and after training 12 week. The results showed that both aerobic and resistance exercise group were significantly (p<0.05) increased in the score of SPPB test, decreased time in TUG test, increased walking gait speed and distance in 6MWT test within group (pre- and post- training) and between group (exercise and control group) However, the study found that no significance difference (p>0.05) between group of aerobic and resistance exercise. Moreover, muscle mass in both exercises groups were significantly increased within group (in pre- and post-intervention) and between group which was greater than control group (p<0.05). The study found no (p>0.05) significant in muscle mass between group of exercise and fat mass decreased only AT group (p<0.05). Conclusion: Both aerobic and resistance exercises training increased physical performance, improved muscle mass and quality of life in elderly women with Sarcopenia.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55380
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.101
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.101
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674066630.pdf3.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.