Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55541
Title: ผลฉับพลันของการออกกำลังกายโดยใช้ท่านอนดัน 3 แบบ ที่มีต่อคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อและความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดของนักกีฬาเพาะกายชาย
Other Titles: ACUTE EFFECTS OF THREE BENCH PRESS EXERCISES ON ELECTROMYOGARPHIC ACTIVITY AND BLOOD LACTATE CONCENTRATION IN MALE BODYBUILDERS
Authors: ศรัณย์ รุจิธรรมกุล
Advisors: ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Chaninchai.I@Chula.ac.th,c.intiraporn@yahoo.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลฉับพลันของการออกกำลังกายโดยใช้ท่านอนดันด้วยบาร์เบล ดัมเบล และสมิธมะชีน ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อเปรียบเทียบกับเซ็ทที่ 1 และความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดหลังการออกกำลังกาย กลุ่มตัวอย่างการวิจัยครั้งนี้เป็นนักกีฬาเพาะกายชายจำนวน 15 คน อายุเฉลี่ย 24.73 ± 4.01 ปี ทำการออกกำลังกายโดยใช้ท่านอนดันด้วยบาร์เบล ดัมเบล และสมิธมะชีน โดยใช้ความหนัก 10 อาร์เอ็ม ทั้งหมด 4 เซ็ท เวลาพักระหว่างเซ็ท 60 – 90 วินาที โดยใช้การถ่วงดุลลำดับสัปดาห์ละ 1 ครั้ง วัดค่าความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดก่อนการออกกำลังกาย และทันทีหลังการออกกำลังกาย ผลการวิจัยพบว่า การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อเปรียบเทียบกับเซ็ทที่ 1 ของการออกกำลังกายโดยใช้ท่านอนดันด้วยบาร์เบล ดัมเบล และสมิธมะชีน แตกต่างกัน คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อเพคเทอราลิส เมเจอะ กล้ามเนื้อแอนทิเรีย เดลทอยต์ กล้ามเนื้อไทรเซพซ์ บราคิไอ และกล้ามเนื้อเซอราตัส แอนทิเรีย ในขณะออกกำลังกายโดยใช้ท่านอนดันด้วยบาร์เบล ดัมเบล และสมิธมะชีน ในเซ็ทที่ 4 มีค่าน้อยกว่าเซ็ทที่ 3 เซ็ทที่ 2 และเซ็ทที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดหลังการออกกำลังกายโดยใช้ท่านอนดันด้วยบาร์เบล ดัมเบล และสมิธมะชีน มากกว่า 10 มิลลิโมล/ลิตร แต่ไม่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การใช้ท่านอนดันด้วยบาร์เบล ดัมเบล และสมิธมะชีน ที่ความหนัก 10 อาร์เอ็ม ทั้งหมด 4 เซ็ท สามารถนำไปใช้กับการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาขนาดของกล้ามเนื้อ
Other Abstract: The purpose of this study was to examines the acute effect of three bench press exercises on electromyographic activity and blood lactate concentration in male bodybuilders. Fifteen male bodybuilders (age, 24.73 ± 4.01 years) performed weekly barbell, dumbbell, and smith machine bench press exercises 4 sets of 10 RM, rest interval between set 60-90 seconds, in counter-balance order. Blood lactate concentration were recorded before and immediately after exercises. EMG of pectoralis major, anterior deltoid, triceps brachii, and serratus anterior were recorded during each exercises. The optained data were analyzed in term of means and standard deviations, one-way analysis of variance with repeted measures and multiple comparison by the Bonferroni were also employed for statistical significant. The results of this study was indicated that EMG of pectoralis major, anterior deltoid, triceps brachii and surratus anterior in 4thset significantly lesser (p < .05) than 3rdset, 2ndset, and 1stset and blood lactate concentration immediately after exercises were over 10 mmol/l. but the difference did not reach statistical significance. The results showed that bench press exercises by using barbell, dumbbell, and smith machine performed 4 sets of 10 RM can be applied in training for muscle hypertrophy.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55541
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.793
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.793
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5778410639.pdf4.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.