Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55665
Title: HEV Seroprevalence, Serum and Feces HEV RNA positivity in Post-Liver Transplant Patients During 1-year Follow-up Period
Other Titles: การศึกษาความชุกทางเซรุ่มวิทยาของไวรัสตับอักเสบอีและการตรวจพบอาร์เอ็นเอของไวรัสตับอักเสบอี ในเลือดและอุจจาระ ของผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายตับในระหว่างการติดตามศึกษาเป็นเวลา 1 ปี
Authors: Vinita Oranrap
Advisors: Piyawat Komolmit
Yong Poovorawan
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Medicine
Advisor's Email: Piyawat.K@Chula.ac.th,piyawat.komolmit@gmail.com
yong.p@chula.ac.th
Issue Date: 2016
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Introduction: Hepatitis E virus (HEV) has emerged as an important infectious disease in immunocompromised patients, especially those who are post-liver transplanted (LT). Reported HEV seroprevalence rates in general populations of Europe and the United States are 5-12% and 19%, respectively. Reported HEV RNA detection rates are remarkably lower, however, being 1.4% in Europe and 0.12% in Japan. We evaluated the HEV seroprevalence and RNA detection in post-LT patients to evaluate the hypothesis that HEV may pose potential subclinical risk in this particular immunocompromised patient population. Method: 106 post-LT patients were enrolled and provided blood and feces samples. All patients were tested for HEV seroprevalence. After exclusion of acute/chronic HEV cases (n=3) and other unavailable cases (n=13), 91 post-LT patients were investigated for HEV serology (IgG and IgM) and HEV RNA detection (serum and feces) every 4 months during 1-year follow-up period. All patient samples were kept in -70C storage. HEV RNA in serum and feces were detected by real-time (in-house) RT-PCR technique (lowest level of detection=10 IU/mL). Demographic and clinical data were retrieved from the medical records for descriptive statistical analysis. Result: The 106 post-LT patients had an HEV seroprevalence of 53.8%. After exclusion of the unavailable cases, 91 post-LT patients were prospectively investigated. HEV seropositive group was 50.5%, while the seronegative group was 49.5%. Baseline characteristics between two groups were not different. The serum and feces HEV RNA detection at baseline in seropositive group were 5/46 (21%) and 1/46 (2%), respectively. In seronegative group, the serum and feces HEV RNA detection were 2/45 (4.5%) and 3/45 (6.7%), respectively. Due to unprecedently high in proportion of patients with positive serum HEV RNA in both groups at the 4th visit, we decided to report our prospective result of the 8-month follow-up period. In seropositive group, serum and feces HEV RNA were detected in 11/46 (24%), 3/46 (6.5%), respectively. In seronegative group, serum and feces HEV RNA were detected in 9/45 (20%), 4/45 (8.8%), respectively. During 8-month period, 8 out of 14 and 8 out of 13 more cases of positive HEV in serum or feces in patients with and without IgG (+) were newly discovered, respectively. 2 out of 27 patients with positive serum or feces HEV RNA had abnormal liver function tests and one case was proved to be from anastomosis stricture with intrahepatic stone which was relieved after underwent ERCP. Conclusion: Thailand has high prevalence of HEV seroprevalence in post LT patients. Post-LT patients could have subclinical HEV infection without obvious clinical clues. Without HEV RNA assays, active HEV infection could be missed even in HEV IgG seronegative patients. Feces HEV RNA detection adds on benefit of the diagnostic yield. However, clinical significance of these silence detection remains to be elucidated
Other Abstract: ความสำคัญและที่มาของงานวิจัย:ไวรัสตับอักเสบอี (HEV) เริ่มมีความสำคัญในฐานะไวรัสตับอักเสบชนิดหนึ่งซึ่งมีอุบัติการณ์การติดเชื้อในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ โดยเฉพาะในผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายตับ การศึกษาก่อนหน้านี้ในยุโรปและอเมริกาพบว่าความชุกทางเซรุ่มวิทยาของไวรัสตับอักเสบอีในประชากรทั่วไปเท่ากับ 5-12% และ 19% ตามลำดับ ในขณะที่การตรวจพบไวรัสตับอักเสบอีในเลือดในยุโรปและญี่ปุ่นพบว่าน้อยมากคือ 1.4% และ 0.12% ตามลำดับ งานวิจัยนี้ศึกษาความชุกทางเซรุ่มวิทยาและการตรวจพบไวรัสตับอักเสบอีทั้งในเลือดและอุจจาระ โดยมีสมมติฐานว่าในผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายตับอาจมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบอีแบบแฝงไม่แสดงอาการ วิธีการวิจัย:จากผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายตับทั้งหมด 106 คน ได้ถูกรวบรวมเข้าการศึกษาและได้รับการตรวจการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบอีทั้งทางเซรุ่มวิทยาและการตรวจหา RNA ในเลือดและอุจจาระ หลังจาก คัดผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบอี (n=3) และผู้ป่วยที่ไม่สามารถเจาะเลือดหรือเก็บอุจจาระ ได้ (n=13) ออกไป ผู้ป่วยทั้งหมด 91 คนได้เข้าร่วมการศึกษาโดยการตรวจทางเซรุ่มวิทยาของ ไวรัส ตับอักเสบอีทั้ง anti-HEV IgG และ anti-HEV IgM รวมทั้งการตรวจหา RNA ในเลือด และ อุจจาระด้วยวิธี RT-PCR ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยจะถูกรวบรวมจากประวัติบันทึกทางคลินิค และ นำมาวิเคราะห์ทางสถิติวิจัยแบบพรรณนา ผลการศึกษา:ความชุกทางเซรุ่มวิทยาในผู้ป่วยทั้งหมด 106 คน เท่ากับ 53.8% หลังจากการคัดผู้ป่วยที่ไม่สามารถติดตามในระยะเวลาของงานวิจัยได้ จากผู้ป่วยในการศึกษา 91 คน ตรวจพบว่ามีผู้ป่วยที่ตรวจพบ anti-HEV IgG เป็นผลบวกคิดเป็น 50.5% และ anti-HEV IgG เป็นผลลบคิดเป็น 49.5% เมื่อพิจารณาที่ข้อมูลพื้นฐานและทางคลีนิกของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มแล้วพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่มที่มี anti-HEV IgG เป็นบวกที่จุดเริ่มต้นของการศึกษาตรวจพบไวรัสตับอักเสบอีในเลือดและอุจจาระคิดเป็น 5/46 คน (21%) และ 1/46 คน (2%) ตามลำดับ ในกลุ่มที่มี anti-HEV IgG เป็นลบ ตรวจพบไวรัสตับอักเสบอีในเลือดและอุจจาระคิดเป็น 2/45 คน (4.5%) และ 3/45 คน (6.7%) ตามลำดับ การศึกษานี้เมื่อเก็บผลวิจัยจนครบ 1 ปีพบว่า ในการตรวจครั้งที่ 4 มีการตรวจพบไวรัสตับอักเสบอีในเลือดหรืออุจจาระที่มากกว่าปกติ ผู้วิจัยจึงมีความตั้งใจวิเคราะห์ผลการศึกษาในช่วง 8 เดือนแทน เมื่อสิ้นสุดการศึกษาที่ 8 เดือนพบว่าในกลุ่มที่มี anti-HEV IgG เป็นบวกตรวจพบไวรัสตับอักเสบอีในเลือดและอุจจาระคิดเป็น 11/46 คน (24%) และ 3/46 (6.5%) ตามลำดับ ส่วนกลุ่มที่ anti-HEV IgG เป็นลบตรวจพบไวรัสตับอักเสบอีในเลือด และอุจจาระคิดเป็น 9/45 คน (20%) และ 4/45 (8.8%) ตามลำดับ ในช่วงระหว่างติดตามการ ศึกษา 8 เดือนพบว่าตรวจพบไวรัสตับอักเสบอีเคสใหม่ในเลือดหรืออุจจาระในกลุ่มที่มี anti-HEV IgG เป็นผลบวกและผลลบคิดเป็น 8/14 คนและ 8/13 คนตามลำดับ ผู้ป่วยทั้งหมด 27 คนที่ตรวจพบไวรัสตับอักเสบอีในเลือดหรืออุจจาระมีทั้งหมด 2 คนที่มีค่าตับผิดปกติ หนึ่งในนั้นตรวจพบว่ามีท่อน้ำดีตีบตันและนิ่วในท่อน้ำดีซึ่งหลังจากส่องกล้องทางเดินน้ำดีเพื่อเอานิ่วออก บทสรุปงานวิจัย:ความชุกทางเซรุ่มวิทยาในผู้ป่วยไทยหลังปลูกถ่ายตับค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับข้อมูลการศึกษาจากประเทศอื่นๆ แสดงให้เห็นว่าไวรัสตับอักเสบอีอาจมีความสำคัญมากกว่าที่คาดคิดในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง การตรวจพบไวรัสตับอักเสบอีในเลือดหรืออุจจาระแม้ในกลุ่มที่ตรวจพบ anti-HEV IgG เป็นลบ แสดงให้เห็นว่าการวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบอีไม่สามารถใช้การตรวจทางเซรุ่มวิทยาเพียงอย่างเดียว ยังคงต้องอาศัยการศึกษาต่อเนื่องในอนาคตเพื่อติดตามความสำคัญของไวรัสตับอักเสบอีในผู้ป่วยกลุ่มนี้ต่อไป
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2016
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Medicine
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55665
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1718
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1718
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5874068030.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.