Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55670
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริลักษณ์ ศุภปีติพร-
dc.contributor.authorนฤตวัน ชัชราภรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:44:27Z-
dc.date.available2017-10-30T04:44:27Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55670-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractเหตุผลของการทำวิจัย : ความเครียดเป็นปฏิกิริยาของร่างกายและจิตใจที่ตอบสนองต่อภาวะหรือการกระทำใดๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ความเครียดที่เกิดขึ้นอาจมีทั้งประโยชน์และโทษ ความเครียดที่ไม่รุนแรงเป็นสิ่งกระตุ้นให้พัฒนาตนเองให้เจริญก้าวหน้า แต่ความเครียดที่รุนแรงมากอาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี และทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง จึงต้องมีการปรับปรุงและช่วยเหลือความเครียดจากการทำงานของพนักงาน ทั้งนี้บุคลากรหรือพนักงานต่างมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนองค์กรด้วยกันทั้งสิ้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดตามเป้าหมายขององค์กร วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาภาวะความเครียดจากการทำงานของพนักงานบริษัทนำเข้าเหล็กในเขตกรุงเทพมหานคร และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะความเครียดจากการทำงานของพนักงานบริษัทนำเข้าเหล็กในเขตกรุงเทพมหานคร วิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานบริษัทนำเข้าเหล็กในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 370 ราย โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามข้อมูลปัจจัยด้านองค์กร และแบบสอบถามข้อมูลปัจจัยด้านภาวะความเครียดจากการทำงาน (Thai JCQ 54 ข้อคำถาม) และใช้สถิติเชิงพรรณนา Independent sample t-test, One way ANOVA, Pearson’s Correlation Coefficiency สถิติถดถอยพหุคูณ (Multiple Liner Regression) ด้วยวิธี stepwise ผลการศึกษา : พบว่าภาวะความเครียดจากการทำงานของกลุ่มตัวอย่าง ด้านความเครียดจากภาระงาน ร้อยละ 76.8 ด้านความเครียดจาการทำงานหนัก ร้อยละ 52.2 ด้านความมั่นคงของงาน ร้อยละ 82.2 และด้านปัจจัยเสี่ยงในการทำงาน ร้อยละ 54.9 จัดอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านความอิสระในการตัดสินใจ ร้อยละ 64.6 และด้านแรงสนับสนุนทางสังคม ร้อยละ 53.5 จัดอยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะความเครียดจากการทำงานด้านปัจจัยเสี่ยงในการทำงาน ได้แก่ อายุ อายุงาน ประสบการณ์ทำงาน รายได้เฉลี่ย นโยบายการบริการงาน สัมพันธภาพกับบุคคลอื่นในการปฏิบัติงาน ค่าตอบแทน สวัสดิการ ความสำเร็จและความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เมื่อวิเคราะห์สถิติการถดถอยแบบพหุคูณเป็นรายด้าน ปัจจัยทำนายการเกิดภาวะความเครียดจากการทำงานด้านปัจจัยเสี่ยงในการทำงาน ได้แก่ สถานภาพสมรส (p<0.001) ตำแหน่งงานวิศวกร (p<0.001) การทำงานล่วงเวลา (p = .029) ความไม่เพียงพอของรายได้ (p<0.001) สัมพันธภาพกับบุคคลอื่นในการปฏิบัติงาน (p = .002) เพศชาย (p = .001) และประสบการณ์ทำงาน (p = .002) สรุป : ในการศึกษาครั้งนี้พบว่าระดับภาวะความเครียดจากการทำงานของพนักงานบริษัทนำเข้าเหล็กในเขตกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับปานกลาง อย่างไรก็ตามการตระหนักและให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านองค์กรและปัจจัยส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้อง น่าจะมีส่วนช่วยลดความเครียด และให้พนักงานสามารถจัดการกับความเครียดจากการทำงานในองค์กร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเครียดระดับสูง ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจ รวมทั้งก่อให้เกิดผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน-
dc.description.abstractalternativeBackground : Stress is a reaction of the body and mind that responds to any condition or action occurring in daily life. Stress can create both advantages and disadvantages. If the stress is not severe it may encourage and stimulate self-development. Otherwise, it is necessary to improve and help the work stress of the employees. who are involved in driving the organization together to achieve the highest organizational targets and objectives. Objective : To study work stress and related factors of work stress among employees of steel import companies in Bangkok. Methods : Data were collected from 370 employees of steel import companies in Bangkok. The questionnaire included: 1) General information; 2) Organizational information; and 3) Work Stress evaluation. The data were analyzed by Descriptive Statistics, Independent sample t-test, One way ANOVA, Pearson’s Correlation Coefficiency and Multiple Linear Regression by Stepwise. Results : The subjects of work stress in dimension of stress from workload (76.8%), working hard stress (52.2%), work stability (82.2%), hazard at work (54.9%). were found in moderate level while, independent decision (64.6%) and social support (53.6%) were in high level. Factors associated with work stress were age, working age, working experience, average income, working time, work performance, the policy of work management, relationship with workmates, compensation, welfare, success, and the success and progress in work. In multivariate regression analysis, the statistically significant factors with hazard at work were marital status (p <0.001), engineer position (p <0.001), work overtimes (p .029), sufficiency of income (p <0.001), social support (p = .002), male gender (P <0.001), and work experience (p = .002). Conclusion : In this study, work stress among employees of steel import companies in Bangkok was found in moderate level. However, organizational and sociodemographic factors should be concerned about reducing stress from work and prevent high level of stress. These can affect the physical, mental health and also the performance of the employees.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1193-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleภาวะความเครียดจากการทำงานของพนักงานบริษัทนำเข้าเหล็กในเขตกรุงเทพมหานคร-
dc.title.alternativeWork stress among employees of steel import Companies in Bangkok-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineสุขภาพจิต-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSiriluck.S@Chula.ac.th,siriluckspp@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.1193-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5874254430.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.