Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/557
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพิ่มเกียนติ ขมวัฒนา-
dc.contributor.authorสุนารี งามชื่น, 2515--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-27T10:06:14Z-
dc.date.available2006-06-27T10:06:14Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745319791-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/557-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนในกลุ่มจุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างคือโรงเรียนในกลุ่มจุฬาภรณราชวิทยาลัย จำนวน 7 โรง ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าฝ่ายวิชาการโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา แจกแจงความถี่ แล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์เป็นความเรียงและตารางประกอบคำบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการวางแผนงานวิชาการ โรงเรียนได้จัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติงานวิชาการ ในการจัดทำแผนงานวิชาการโรงเรียนกำหนดกรอบนโยบายและมอบให้กลุ่มสาระการเรียนรู้/ฝ่ายงาน ประชุมเขียนแผนร่วมกัน แล้วนำเสนอฝ่ายบริหารเพื่อพิจารณา โดยมีฝ่ายวิชาการ ทำหน้าที่ติดตามและประเมินผลจากการสรุปผลงานในรอบเดือน 2) ด้านการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเรยนจัดบุคลากรตามวุฒิการศึกษา ตามความรู้ความสามารถและประสบการณ์ จัดกลุ่มการเรียนโดยกำหนดวิชาบังคับและวิชาเลือกตามโครงสร้างของหลักสูตร กำหนดเนื้อหาให้มีความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มวิชา เปิดโอกาสให้นักเรียนตามความถนัดความสนใจ กำหนดวิชาและเวลาเรียนตามที่หลักสูตรกำหนด จัดครูเข้าสอนโดยคำนึงถึงแนวนโยบายของฝ่ายบริหาร จัดตามวุฒิการศึกษา วิชาเอก วิชาโท โรงเรียนมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบและอำนวยความสะดวกในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงานวิชาการ 3) ด้านการจัดการเรียนการสอน ครูจัดทำแผนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรและเนื้อหาวิชา ศึกษาโครงสร้างหลักสูตรและวิเคราะห์หลักสูตรก่อนจัดทำแผนการสอน วิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดจุดประสงค์ให้เชื่อมโยงกับชีวิตจริงกำหนดกิจกรรม สื่อการเรียนการสอนและการประเมินผลโดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนส่งเสริมการผลิตสื่อโดยมีโครงการพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการผลิตสื่อการเรียนการสอน 4) ด้านการพัฒนาและส่งเสริมด้านวิชาการ โรงเรียนมีแนวปฏิบัติในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน มีการจัดประชุม อบรม สัมมนาก่อนเปิดภาคเรียน ส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน สนับสนุนให้ศึกษาต่อตามสายงาน สนับสนุนให้ครูทำผลงานวิชาการ โรงเรียนจัดสอนซ่อมเสริมให้นักเรียนโดยจัดให้มีห้องเรียนเฉพาะเพื่อการสอนซ่อมเสริมนอกเวลาเรียน จัดกิจกรรมนักเรียนตามหลักสูตรและกิจกรรมเสริมหลักสูตร โรงเรียนสร้างบรรยากาศทางวิชาการในโรงเรียนเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ 5) ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน โรงเรียนกำหนดปฏิทินการปฏิบัติงาน ส่งเสริมให้ครูประเมินผลตามสภาพจริง โรงเรียนมีเจ้าหน้าที่ทะเบียนจัดทำหลักฐานเกี่ยวกับนักเรียน 6) ด้านการประเมินผลการจัดงานวิชาการ โรงเรียนประเมินผลการจัดงานวิชาการ โดยออกแบบสอบถามผู้มาร่วมงานวิชาการ ประเมินจากผลงานที่ปรากฏ จัดประชุมและสรุปผลงานประจำปี ด้านปัญหาการดำเนินงานวิชาการ พบว่า โรงเรียนมีงบประมาณในการดำเนินงานวิชาการจำกัด บุคลากรมีไม่เพียงพอในบางสาขาวิชาและครูมีภาระงานทำให้การดำเนินงานวิชาการไม่คล่องตัวen
dc.description.abstractalternativeThis study aims to investigate problems of the operation of academic tasks of schools in Princess Chulaporn's College group. The population of this study was 7 schools in Princess Chulaporn's College group. The data was obtained from the principals, deputy principals for academic affairs and the heads of schools' academic affairs. The instrument was a semi-structured interview. The data was analyzed by means of content analysis and frequency distribution and was presented in descriptive forms and tables. It was found that: 1) Regarding the planning of academic tasks, the schools have set up regulations and practice guidelines. When planning academic tasks, the school specified policies' framework and gave it to each subject area/ task division. They would then work cooperatively on the plans, which would be proposed to an administrative division for consiseration. The academic affairs would be responsible for monitoring and evaluating the outcomes from a monthly performance's report. 2) Regarding the administration of academic tasks, staff duties were assigned based on educational background, competences and experiences. Compulsory subjects and elective subjects were organized according to the curriculum. The contents would be specified to ascertain the correlation among subject groups. Students would freely choose subjects according to their expertise, interests and the schools' requirements. An administrative policy and teachers' qualification were taken into consideration when assigning classes to teachers. There were staff who would be responsible for facilitating the integration of innovations and technology in the operation of academic tasks. 3) Regarding the management of teaching and learning, teachers provided lesson plans which were in agreement with the syllabus and subject contents. Teachers would study and analyze the curriculum before writing lesson plans. The contents and objectives were matched with real life practice. Activities, teaching aids and assessment were designed based on the learners' centered approach. The schools also promoted teaching aids production through the project of developing teaching aids and technology to enhance the teaching aids production. 4) Regarding development and promoting academic affairs, there were practice guidelines for developing the teaching and learning process. The schools would organize training workshops before the start of each semester and encourage teachers to conduct classroom research. Teachers were also encouraged to further their studies and do more academic work. The schools would also provide the tutorial classes, curriculum activities and extra-curriculum activities. The academic atmosphere that enhanced learning was also created by the schools. 5) Regarding assessment and evaluation and students' registration, the schools would state the operation's schedule and encourage teachers to evaluate realistically. There were also registrars who kept students' records. 6) Regarding the evaluation of the operation of academic tasks, the schools would distribute a questionnaire to participants. The overall outcomes, meetings and summary reports also played a role in the evaluation process. Regarding the problems of the operation of academic tasks, it was found that the schools' budget is limited. In addition, there were insufficient numbers of staff in some majors and the teachers' work overload impeded the operation of academic tasksen
dc.format.extent3490287 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.912-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectคุณภาพทางวิชาการen
dc.subjectงานวิชาการในโรงเรียนen
dc.subjectโรงเรียน--การบริหารen
dc.titleการศึกษาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนในกลุ่มจุฬาภรณราชวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานen
dc.title.alternativeA study of the operation of academic tasks of schools in Princess Chulaporn's College group in the jurisdiction of the Office of the Basic Education Commissionen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineนิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPermkiet.K@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.912-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sunaree.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.