Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55844
Title: การพักอาศัยเพื่อกิจกรรมการพัฒนาจิตใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมแบบเป็นคณะกับแบบรายบุคคล
Other Titles: Accommodation provided for mind improvement activities of group and individual participants
Authors: ปิยะพร พัฒนาสิทธิเสรี
Advisors: เสาวลักษณ์ เลิศบุศย์ สุรพลชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Saowaluck.Su@Chula.ac.th
Subjects: วัด
การจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก
วัดสุนันทวนาราม
Buddhist temples
Facility management
Wat Sunantawanaram
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การพัฒนาจิตใจมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต ด้านสุขภาพจิต บุคลิกภาพ สุขภาพกาย ผ่อนคลายจากความเครียด ยกระดับคุณภาพมนุษย์ อีกทั้งบริบทของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณธรรม รวมทั้งกรมศาสนาที่ต้องการพัฒนาคุณภาพและคุณธรรมประชาชน โดยงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพที่พักอาศัย สิ่งอำนวยความสะดวก กิจกรรม และค่าใช้จ่าย เปรียบเทียบกับความต้องการของผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมแบบเป็นคณะกับแบบรายบุคคลที่มีความหลากหลาย และเสนอแนะแนวทางการพัฒนารูปแบบการพักอาศัยและกิจกรรมเพื่อการพัฒนาจิตใจสนองตอบต่อผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยมีสมมติฐานว่า ความแตกต่างของประเภทผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีผลต่อการพักอาศัยและการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาจิตใจ กระบวนการวิจัยได้กำหนดกลุ่มประชากรที่จะศึกษาคือ วัดสุนันทวนาราม โดยคัดเลือกจากกลุ่มประชากรทั้งหมด ที่ตั้งขึ้นตามระเบียบมหาเถรสมาคม จำนวน 1,001 แห่ง โดยจะศึกษาในปัจจัยด้านที่พักอาศัย ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านกิจกรรม ด้านค่าใช้จ่าย และด้านประเภทหรือลักษณะของผู้เข้าร่วมกิจกรรม การศึกษาจะมุ่งเน้นผู้เข้าร่วมกิจกรรมแบบพักค้างเท่านั้น โดยมีการศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดด้านกายภาพ ซึ่งประกอบด้วยอุปสงค์ด้านที่พัก สภาพที่อยู่และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับพัฒนาจิตใจ แนวคิดด้านกิจกรรม ซึ่งประกอบด้วยหลักมหาสติปัฏฐานสูตร แนวคิดด้านการตลาด ซึ่งประกอบด้วยการตลาดเพื่อสังคม การตลาดเพื่อชุมชน จริยธรรมทางการตลาดและการรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงส่วนผสมทางการตลาด โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งข้อมูลทุติยภูมิและข้อมูลปฐมภูมิ ด้วยการสังเกต สำรวจ แบบสัมภาษณ์ผู้ดูแลวัดสุนันทวนารามจำนวน 3 ชุด แบบสอบถามผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 333 ชุด และการทดลองเข้าร่วมกิจกรรมทั้งแบบเป็นคณะและแบบรายบุคคล ซึ่งขอบเขตด้านเวลาของการวิจัยคือ ช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ผลการศึกษาพบว่า ที่พักอาศัย สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการพักอาศัยและค่าใช้จ่าย มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ในขณะที่สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับกิจกรรมและกิจกรรมนั้น มีความสอดคล้องเกือบครบถ้วนกับทุกความต้องการของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับกิจกรรมประกอบด้วยอาคารหลัก 2 อาคาร คือ “ศูนย์เยาวชน” ซึ่งมีขนาดใหญ่ สามารถรองรับการอบรมผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ประมาณ 600 คนและประมาณ 1,000 คนสำหรับงานพิธีกรรม ในขณะที่ “ศาลาปฏิบัติธรรม” จะมีขนาดเล็กและสามารถรองรับการอบรมผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ประมาณ 200 คน ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมแบบเป็นคณะอาชีพนักเรียน/นักศึกษา มีความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับกิจกรรมเฉพาะศูนย์เยาวชน แต่วัดสุนันทวนารามจะจัดให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแบบเป็นคณะใช้ทั้งศูนย์เยาวชนและศาลาปฏิบัติธรรม ในขณะที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแบบรายบุคคลอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับกิจกรรมเฉพาะศูนย์เยาวชน แต่วัดสุนันทวนารามจะจัดให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแบบรายบุคคล ใช้เฉพาะศาลาปฏิบัติธรรมเป็นหลัก ในขณะที่ด้านกิจกรรมผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 2 ประเภทมีความสนใจและต้องการปฏิบัติกิจกรรมเกือบครบถ้วนกับเจตนารมณ์ของวัดสุนันทวนาราม และผลการศึกษาทั้งหมดนั้นมีความสอดคล้องกับสมมติฐาน สำหรับการเสนอแนะแนวทางการพัฒนารูปแบบการเข้าพักอาศัยและกิจกรรมนั้น ในอนาคตการสร้างที่พักอาศัยควรคำนึงผู้สูงอายุ อีกทั้งควรออกแบบที่พักอาศัยให้ปลอดโปร่งและปลอดภัยจากสัตว์และแมลง จัดทำแผนที่ ป้ายบอกทางแสดงสถานที่ภายในวัดเป็นระยะ และควรแจ้งเรื่องลักษณะกิจกรรมว่าประกอบด้วยกิจกรรมหลักและกิจกรรมรอง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถจัดลำดับความสนใจและความต้องการปฏิบัติได้ถูกต้องและครบถ้วน ความแตกต่างของประเภทผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีผลต่อการพักอาศัยและการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาจิตใจ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ที่พักอาศัย สิ่งอำนวยความสะดวก และกิจกรรมเพื่อการพัฒนาจิตใจหากได้มีการพิจารณาตามประเภท จำนวน ช่วงระยะเวลาของการเข้าร่วมกิจกรรม ความพร้อมของสถานที่ กิจกรรมที่สนใจและต้องการปฏิบัติของผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างครบถ้วน ย่อมเป็นผลดีต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อให้ตอบสนองตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย เกิดความสอดคล้องและไปเป็นในทิศทางที่เหมาะสม
Other Abstract: Mind improvement is beneficial for both mental and physical health as well as personality, relaxation, and human quality development. The 10th National Economic and Social Development Plan (2550-2554 B.E.) emphasizes mind improvement in relation to the importance of human development, while the Department of Religious Affairs pays special attention to it as a part of bettering human quality and virtue. Therefore, this research aims to examine the conditions of accommodations provided for conducting mind improvement activities, including the associated facilities, activities themselves, and expenses. It also compares the varied demands of group and individual participants as well as makes recommendations on how to improve accommodations and activities. The hypothesis of the study is that the type of participant affects accommodation choices and the organization of mind improvement activities. The sample of the research was Sunantawanaram Temple, selected from the 1,001 temples established according to the regulations of the Sangha Supreme Council. Only overnight participants were focused on. The aspects under investigation were accommodation and participant types, facilities, activities, and expenses. The study also classified four types of concepts. First, the physical concept consisted of the conditions of the accommodations, the participants’ demands, and the environment. Second, the activity concept was the Mahasatipatthanasutta. Third, the marketing concept was comprised of social and community marketing, marketing morality, and social responsibility, as well as the marketing mix. Both primary and secondary data were collected through observations, surveys, and three sets of interviews administered at Sunantawanaram Temple, 333 sets of questionnaires completed by the participants, as well as group and individual participation trials. The temporal scope was October to November, 2009. The research results show that the accommodation facilities and expenses correlated with the participants’ demands, while the facilities for activities and the activities themselves were associated with almost all of the participants’ demands. As for the facilities for activities, there were two main buildings, namely the youth center and the dharma practice pavilion. The former was a large building capable of accommodating approximately 600 participants and up to 1,000 participants for rites, whereas the later was compact and capable of accommodating about 200 participants. As for the participant types, student participants coming in a group normally demanded the youth center, but the temple would organize activities for them in both type of buildings. Although individual participants, mostly business owners, similarly requested the youth center, the temple would mainly put them in the dharma practice pavilion. Both types of participants were interested in the activities and thus would like to attend almost all programs the temple organized. It is important to note that all the findings were consistent with the hypothesis. Guidelines for improving the accommodations and activities were made as follows. In the future, the construction of accommodations should take the elderly into consideration with the design being created to ensure good air flow as well as safety from animals and insects. In addition, maps and signposts if be made available at regular places in the temple area. Finally, the activities should be classified into primary and secondary categories in order that the participants can prioritize their interests and needs for dharma practice accordingly. Since the participant types affect accommodation demands and organization of mind improvement activities, it can be concluded that the participants will benefit from the activities and accomplish their objectives should the accommodations, facilities, and activities be provided for them considering all aspects, namely the type and number of participants, the duration of participation, the preparedness of the venue, and the activity they are interested in and would like to join.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55844
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.822
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.822
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
piyaporn_pa_front.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open
piyaporn_pa_ch1.pdf994.31 kBAdobe PDFView/Open
piyaporn_pa_ch2.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open
piyaporn_pa_ch3.pdf924.48 kBAdobe PDFView/Open
piyaporn_pa_ch4.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open
piyaporn_pa_ch5.pdf18.12 MBAdobe PDFView/Open
piyaporn_pa_ch6.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open
piyaporn_pa_back.pdf2.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.