Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55850
Title: การบำบัดน้ำเสียจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มด้วยกระบวนการแบบไร้อากาศสองขั้นตอน
Other Titles: Treatment of palm oil mill wastewater by two-stage anaerobic process
Authors: จิรวรรณ ออตยะกุล
Advisors: ชาญวิทย์ โฆษิตานนท์
สมชาย ดารารัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Charnwit.K@Chula.ac.th
somchai_d@tistr.or.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีแบบไร้ออกซิเจน
อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม
Sewage -- Purification -- Anaerobic treatment
Palm oil industry
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การแบ่งขั้นตอนของกระบวนการย่อยสลายแบบไร้อากาศออกจากกัน เป็นตัวแปรที่มีความสำคัญส่งผลต่อระบบนิเวศวิทยาของจุลินทรีย์ และลักษณะเฉพาะของระบบยูเอเอสบีอย่างมีนัยสำคัญ ในการวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาประเมินกระบวนการไร้อากาศสองขั้นตอน โดยใช้ถังปฏิกิริยาระดับห้องปฏิบัติการ ซึ่งประกอบด้วยถังสร้างกรดแบบเอชยูเอสบี ปริมาตรใช้งาน 14 ลิตร และระบบยูเอเอสบี ขนาด 3.139 ลิตร ในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มที่มีปริมาณซีโอดี ประมาณ 101,333 - 137,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ถังปฏิกิริยาทั้งสองถัง เดินระบบที่อุณหภูมิห้อง การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ในการหาสภาวะการไฮโดรไลซิสที่เหมาะสมเพื่อกำจัดของแข็งแขวนลอยระเหย เปลี่ยนสารอินทรีย์ให้กลายเป็นกรดไขมันระเหย และหาประสิทธิภาพของการแบ่งขั้นตอนภายใต้สภาวะคงตัว ถังปฏิกิริยาเอชยูเอสบีได้ค่าเดินระบบที่ค่าพีเอชเริ่มต้น 6.00 และระยะเวลากักพักทางชลศาสตร์ 14 วัน จากการทดลองไฮโดรไลซิส ซึ่งมีประสิทธิภาพการกำจัดร้อยละ 75.94 เมื่อป้อนของแข็งแขวนลอยระเหยความเข้มข้นประมาณ 63,300 มิลลิกรัมต่อลิตร และมีประสิทธิภาพการสร้างกรดไขมันระเหยร้อยละ 91.18 ± 6.98 และจากการเดินระบบถังปฏิกิริยาเอชยูเอสบี มีประสิทธิภาพการกำจัดร้อยละ 58.21 ± 4.69 เมื่อป้อนของแข็งแขวนลอยระเหยความเข้มข้นประมาณ 51,903.70 ± 2,630.51 มิลลิกรัมต่อลิตร และประสิทธิภาพการสร้างกรดไขมันระเหยร้อยละ 84.64 ± 2.87 สำหรับขั้นตอนการสร้างก๊าซมีเทนระบบยูเอเอสบี มีประสิทธิภาพเหมาะสมในการกำจัดสารอินทรีย์ ร้อยละ 79.54 ± 2.77 ที่ระยะเวลากักพักทางชลศาสตร์ 24 ชั่วโมง ที่อัตราภาระสารอินทรีย์ 28 กิโลกรัมซีโอดีต่อลูกบาศก์เมตรต่อวัน องค์ประกอบก๊าซมีเทนในก๊าซชีวภาพ มีค่าร้อยละ 65.7 ± 1.37 และมีประสิทธิภาพการสร้างก๊าซมีเทน 0.11 - 0.15 ลิตรต่อกรัมบีโอดีที่ถูกกำจัด สภาพด่างที่เพิ่มขึ้นช่วยให้ถังปฏิกิริยาสร้างก๊าซทีเทนคงค่าพีเอช ประมาณ 7.5 และการหมุนเวียนน้ำออกจากระบบกลับ ช่วยลดความต้องการเติมสารเพิ่มสภาพด่าง ให้กับถังปฏิกิริยาสร้างก๊าซมีเทน
Other Abstract: Phase separation of anaerobic process is an importance parameter significantly affecting microbial ecology and characteristics of UASB reactor. In this study two-stage anaerobic process was evaluated in laboratory-scale reactors which consist an acid tank called Hydrolysis Upflow Sludge Blanket (HUSB) 14 L working volume and UASB 3.139 L receiving feed from a palm oil mill wastewater containing COD of 101,333 – 137,000 mg/L. The two reactors operated at room temperature. This study was focused on determining the optimum hydrolysis condition for volatile suspended solid (VSS) removal, enhance organic solid to volatile fatty acid (VFA) and determining the efficiency of phase separation under steady state conditions, HUSB reactor was conducted at initial pH 6.00 and hydraulic retention time (HRT) of 14 days. Removal efficiencies of 75.94% were achieved at feed VSS concentration of 63,600 mg/L and increasing of VFA was 91.18 ± 6.98% in batch experiment, and removal efficiencies of 58.21 ± 4.69 % were achieved at feed VSS concentration of 51,903.70 ± 2,630.51 mg/L and the increasing of VFA was 84.64 ± 2.87 % for continuous reactor (HUSB). In the methanogenesis phase, the UASB reactor was achieved 79.54 ± 2.77% COD removal efficiency at hydraulic retention time (HRT) 24 hours at organic loading 28 kg COD/m³-d. Methane content in the produced biogas was 65.7 ± 1.37 % and a methane yield at optimum loading of 0.11 – 0.15 L/g BOD [subscriptRemoved] An increasing alkalinity maintained the methanogenic reactor at around 7.5 and effluent recirculation alleviated the need for alkali additions to the feed of the methanogenic reactor.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55850
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.792
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.792
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jirawan_or_front.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open
jirawan_or_ch1.pdf509.9 kBAdobe PDFView/Open
jirawan_or_ch2.pdf6.49 MBAdobe PDFView/Open
jirawan_or_ch3.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open
jirawan_or_ch4.pdf6.17 MBAdobe PDFView/Open
jirawan_or_ch5.pdf349.12 kBAdobe PDFView/Open
jirawan_or_back.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.