Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5595
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์ | - |
dc.contributor.advisor | แน่งน้อย ศักดิ์ศรี | - |
dc.contributor.author | ชญาณิน จิตรานุเคราะห์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-01-24T07:55:04Z | - |
dc.date.available | 2008-01-24T07:55:04Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9741312636 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5595 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en |
dc.description.abstract | ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมเป็นจุดเริ่มต้นในการออกแบบสถาปัตยกรรม ที่สามารถนำความเย็นจากภายนอกอาคารมาใช้ประโยชน์ ให้ภายในอาคารเข้าใกล้เขตสบายมากที่สุด การศึกษาถึงสภาพภูมิอากาศและสภาพบริเวณที่ตั้ง เพื่อหาตัวแปรสำคัญทางสภาพแวดล้อม และการเปรียบเทียบถึงความแตกต่างของสภาพแวดล้อม ที่มีผลกระทบต่อเขตสบายของโบสถ์ไทย จะนำมาซึ่งการประยุกต์หรือปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อไป การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลองร่วมกับการวิจัยเชิงสำรวจ โดยตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์คือ เลือกจากวัดในกรุงเทพมหานครที่ก่อสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยมีความแตกต่างทางสภาพแวดล้อมภายนอกโบสถ์ในเขตพุทธาวาส จำนวน 3 วัด ได้แก่ วัดราชาธิวาสวิหารซึ่งมีภูมิสถาปัตยกรรมที่มีพื้นผิวอ่อน และความหนาแน่นของต้นไม้ระดับสูงในปริมาณมาก วัดกำแพงซึ่งมีภูมิสถาปัตยกรรมที่มีพื้นผิวอ่อน และความหนาแน่นของต้นไม้ระดับสูงในปริมาณปานกลาง และวัดราษฎร์บูรณะที่ไม่มีภูมิสถาปัตยกรรมที่มีพื้นผิวอ่อน วิธีการวิจัยทำโดยการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ของอุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ พื้นที่ให้ร่มเงา อุณหภูมิผิวของภูมิสถาปัตยกรรมที่มีพื้นผิวอ่อน และภูมิสถาปัตยกรรมที่มีพื้นผิวแข็ง ในบริเวณภายในและภายนอกโบสถ์แต่ละแห่ง รวมทั้งการวิเคราะห์เปรียบเทียบถึงผลกระทบ ต่อเขตสบายของโบสถ์ไทยทั้ง 3 แห่งในวันเวลาเดียวกัน ผลการวิจัยพบว่า ร่มเงาจากต้นไม้ระดับสูงที่อยู่รอบโบสถ์ไทย จะทำให้บริเวณภายในและภายนอกโบสถ์เข้าสู่เขตสบายในเชิงอุณหภูมิได้ อีกทั้งภูมิสถาปัตยกรรมที่มีพื้นผิวอ่อนมีอิทธิพลต่อ สภาพแวดล้อมแตกต่างกัน โดยมีตัวแปรจากความสูงของต้นไม้ ความหนาแน่นของพุ่มใบ ระยะห่างของต้นไม้กับพื้นที่โดยรอบ และปริมาณของภูมิสถาปัตยกรรมพื้นผิวอ่อน ต่อปริมาณภูมิสถาปัตยกรรมพื้นผิวแข็งและอาคาร เป็นต้น ถึงแม้ว่าสภาพแวดล้อมภายนอกไม่มีผลกระทบมากนัก ต่ออุณหภูมิภายในโบสถ์ที่มีมวลสารสูง แต่ต้นไม้ในระดับสูงจะช่วยลดความแตกต่าง ของอุณหภูมิภายนอกและทำให้สภาพแวดล้อมเย็นลง | en |
dc.description.abstractalternative | Environmental factors are the major influence to architectural design which cooling effect can be used to bring inside temperature close to comfort zone. Micro-climate and site condition research was aimed to find environmental factors and compared to comfort condition in Thai temples which could be applied to environmental design. Experiment and survey methods were used in the study using purposive samples. Three classical Thai temples in Bangkok, constructed in Ratanakosin period, were selected. The selected criteria were: high level of softscape with high density, high level of softscape with low density, and no softscape as Wat Rajadhiwat, Wat Kampang and Wat Ratburana, respectively. Influenced factors are Air Temperature, Relative Himidity, Shading and Surface Temperature of softscape and hardscape inside-outside Thai temples. Each result was evaluated as well as cross comparison of all samples with the same day data. The results show that shading from tall plants around Thai temple renders both inside and outside it close into thermal comfort zone. The effects of softscape in the environment are different in variable of plant height; density of leaves; distance of plants and surrounding area; and scale of softscape, hardscape and building, etc. Through, the environment does not have much effect on indoor temperature of high-mass in Thai temple, the benefits of tall plants are reducing temperature-swing outside, and making the environment cool down | en |
dc.format.extent | 12536601 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.153 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สภาวะน่าสบาย | en |
dc.subject | วัด -- ไทย | en |
dc.subject | สถาปัตยกรรมกับภูมิอากาศ | en |
dc.title | ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อเขตสบายของโบสถ์ไทย | en |
dc.title.alternative | Environmental factors affecting comfort zone of Thai temple | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีอาคาร | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Vorasun.b@chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Nangnoi.s@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2000.153 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jayanin.pdf | 12.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.