Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56298
Title: ภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะของผู้ป่วยโรคนิ่วไตและบุตร
Other Titles: PROTEINURIA IN UROLITHIASIS PATIENTS AND THEIR DESCENDANTS
Authors: สุภาวดี มิ่งมงคล
Advisors: ฐสิณัส ดิษยบุตร
ปิยะรัตน์ โตสุโขวงศ์
ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Thasinas.D@chula.ac.t,thasinasdr@gmail.com
Piyaratana.T@Chula.ac.th
Trairak.P@chula.ac.th,trairak@gmail.com
Subjects: นิ่วไต
นิ่วทางเดินปัสสาวะ
Kidneys -- Calculi
Urinary organs -- Calculi
Proteinuria
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรคนิ่วไตเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่พบได้ทั่วโลก และพบว่าสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยโรคนิ่วไตจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูงกว่าประชากรปกติมาก การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าบุตรของผู้ป่วยมีภาวะสารก่อนิ่วในปัสสาวะ ได้แก่ แคลเซียมสูง (hypercalciuria) สารยับยั้งการเกิดนิ่วในปัสสาวะ ได้แก่ ซิเทรตตํ่า (hypocitraturia) และมีโปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งความผิดปกติทั้งสามชนิดนี้สามารถพบได้ในผู้ป่วยเช่นกัน การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์ชนิดของโปรตีนที่เพิ่มขึ้นในปัสสาวะของบุตรผู้ป่วยโรคนิ่วไตที่ยังไม่เป็นโรคนิ่วเมื่อเทียบกับคนปกติ และหาโปรตีนที่อาจใช้เป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยงของการเกิดนิ่วได้ โดยใช้ตัวอย่างจากปัสสาวะของกลุ่มบุตรผู้ป่วย 30 คน และกลุ่มบุตรคนปกติ (กลุ่มควบคุม) 30 คน ผ่านกระบวนการ 1D-SDS-PAGE และวิเคราะห์ชนิดและปริมาณของโปรตีนด้วยวิธีการทางโปรติโอมิกส์โดยใช้ nanoLC-MS/MS ผลการวิเคราะห์พบว่าพบโปรตีนในปัสสาวะจำนวนทั้งหมด 349 ชนิด ในตัวอย่างปัสสาวะของบุตรผู้ป่วยโรคนิ่วไตและบุตรคนปกติ โดยพบโปรตีน 18 ชนิด ที่พบสูงขึ้นในกลุ่มบุตรผู้ป่วยเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สามารถแบ่งกลุ่มของโปรตีนออกเป็น 2 กลุ่มตามแหล่งกำเนิด คือ กลุ่มที่หลั่งจากเซลล์อื่นเข้าสู่กระแสเลือด 17 โปรตีน และโปรตีนที่สามารถหลั่งเข้าสู่กระแสเลือดรวมถึงหลั่งจากเซลล์ของไตเองเข้าสู่ปัสสาวะโดยตรงอีก 1 ชนิด จากนั้นผู้วิจัยเลือกใช้โปรตีนอัลบูมินซึ่งเป็นหนึ่งในโปรตีน 18 ชนิดที่ตรวจพบเพิ่มขึ้นในปัสสาวะของกลุ่มบุตรผู้ป่วยโรคนิ่วไตเมื่อเปรียบเทียบกับบุตรคนปกติเป็นโปรตีนตัวอย่าง เมื่อวัดระดับของโปรตีนอัลบูมินในบุตรผู้ป่วยโรคนิ่วไตพบว่าสูงกว่าบุตรกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (5.92±10.48 มิลลิกรัมต่อวัน และ 0.41±0.78 มิลลิกรัมต่อวัน ตามลำดับ p-value=0.006*) และเมื่อศึกษาความสัมพันธ์ของระดับของโปรตีนอัลบูมินที่ตรวจพบในปัสสาวะของผู้ป่วยโรคนิ่วไตและกลุ่มคนปกติที่มีอายุและเพศสอดคล้องกัน พบว่าผู้ป่วยโรคนิ่วไตมีระดับของโปรตีนอัลบูมินในปัสสาวะสูงกว่าคนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (16.85 ±33.41 มิลลิกรัมต่อวัน และ 0.26±0.71 มิลลิกรัมต่อวัน ตามลำดับ p –value < 0.001) เช่นกัน นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้ศึกษาเพิ่มเติมถึงการเกิดภาวะ supersaturation โดยอาศัย Ogawa’s index ต่อระดับของโปรตีนอัลบูมินพบว่าไม่พบความสัมพันธ์กับระดับอัลบูมินในปัสสาวะในทุกกลุ่ม
Other Abstract: Kidney stone disease or urolithiasis is a common urologic disease in elderly worldwide. It is well-recognized that familial members of urolithiasis patients have higher risk for stone development than normal population. Our previous study showed that the urolithiasis descendants had higher urinary lithogenic (calcium), lower anti-lithogenic (citrate) and elevated proteinuria level than normal population. These abnormalities were also observed in urolithiasis patients. The present study aimed to analyze the type of urinary proteins which were increased in urolithiasis descendants and identify a biomarker protein for the risk of stone development in urolithiasis family. Urine samples from 30 urolithiasis descendants (G1) and 30 descendant controls (G2) were used. The samples were separated by one-dimensional polyacrylamide gel electrophoresis (1D-PAGE) and the protiens were identified by nanoscale liquid chromatography coupled to tandem mass spectrometry (nanoLC-MS/MS). Total 349 proteins were identified in the urine of urolithiasis and control descendants. Among these, 18 proteins were significantly higher (all 3-pair comparison between) urolithiasis than control descendants, including 17 proteins plasma-derived and only one protein that is plasma-derived and kidney-derived. We used the urinary albumin as a candidate protein for the increased risk of stone formation in urolithiasis family. G1 had higher albumin levels than G2 (5.92±10.48 mg/day and 0.41±0.78 mg/day respectively, p-value=0.006*). The levels of the urinary albumin in urolithiasis patients was also higher than normal (16.85 ±33.41 mg/day and 0.26±0.71 mg/day respectively, p –value < 0.001). However, we could not identified the correlation between supersaturation levels, indicated by Ogawa’s index, and the urinary albumin excretion in all groups.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีวเคมีทางการแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56298
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1493
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1493
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674089030.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.