Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56696
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมนัสกร ราชากรกิจ-
dc.contributor.authorธีรพล พิรุฬห์ทรัพย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-01-04T03:25:29Z-
dc.date.available2018-01-04T03:25:29Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56696-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการชะละลายของโลหะหนักจากถัง/ภาชนะบรรจุน้ำดื่มซึ่งทำจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์จากระบวนการเผาร่วม และประยุกต์การทดสอบการชะละลายมาตรฐานของ EA NEN 7375 รวมถึงศึกษาปัจจัยหลายชนิดที่มีผลต่อการชะละลายของโลหะหนักที่แฝงตัวอยู่ในซีเมนต์เพสต์ นอกจากนี้ยังนำผลการทดสอบการชะละลายไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานน้ำดื่มเพื่อประเมินระดับความปนเปื้อนของโลหะหนักในสารชะละลายภายหลังการทดสอบ ก่อนนำซีเมนต์เพสต์ที่ผ่านการทดสอบการชะละลายที่เวลาต่างๆ ไปศึกษาการเปลี่ยนแปลงของการจับตัวและสารประกอบด้วยเครื่อง XRD (X-Ray Diffraction Spectrometer) และ เครื่อง FT-IR (Fourier Transform Infra-Red Spectrophotometer) ตามลำดับ ผลการศึกษาการชะละลายแสดงให้เป็นว่ามีปัจจัยหลายอย่างส่งผลต่อความสามารถในการชะละลายของโลหะหนักแต่ละชนิดพร้อมกัน อาทิ ปริมาณความเข้มข้นเริ่มต้นในปูนเม็ด ชนิดและปริมาตรของสารชะละลาย ซึ่งจากการวิจัยพบว่าที่อัตราส่วนสารชะละลายต่อพื้นที่ผิวสัมผัสเท่ากับ 8 จะมีความเข้มข้นของโลหะหนักในสารละลายสูงมากเนื่องจากเกิดการสะสมความเข้มข้นในบริเวณผิวหน้าที่เกิดการชะละลายนอกจากนี้การทดสอบด้วยสารชะละลายต่างชนิดกันแสดงให้เห็นว่า แมงกานีสไม่เกิดการชะละลายในน้ำประปา และ โบรอนชะละลายออกมามากในน้ำฝนกรดสังเคราะห์ชนิดปิดฝาทดสอบ โดยโลหะหนักแต่ละชนิดจะแสดงพฤติกรรมการชะละลายที่แตกต่างกันออกไปที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ อะลูมิเนียมจะเกิดการชะล้างที่ผิวหน้าในช่วงต้นการทดสอบและเกิดการละลายในช่วงท้าย ส่วนโครเมียมเกิดการชะล้างที่ผิวหน้าในช่วงต้นของการทดสอบเพียงอย่างเดียว สำหรับการศึกษาการชะละลายในระบบเปิดพบว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีผลทำให้พีเอชและความนำไฟฟ้าของระบบมีค่าลดลงและมีตะกอนเกิดขึ้น โลหะหนักส่วนใหญ่มีความสามารถในการชะละลายลดลง ยกเว้นวานาเดียม ซึ่งแสดงความสามารถที่เพิ่มขึ้นในช่วงท้ายของการทดสอบ สำหรับปริมาณความเข้มข้นของโลหะหนักที่ชะละลายออกมาเมื่อเทียบกับมาตรฐานน้ำดื่ม พบว่าโลหะหนักบางชนิดมีค่าสูงกว่ามาตรฐาน เช่น แคดเมียมและ ตะกั่วสำหรับทุกสภาวะและสารชะละลาย ในการศึกษาซีเมนต์เพสต์และตะกอนที่เกิดขึ้นด้วยเครื่อง XRD และ FTIR พบว่าตะกอนที่เกิดขึ้นคือตะกอนหินปูน (CaCO[subscript3]) แต่ไม่สามารถตรวจพบโลหะหนัก ซึ่งอาจมีผลจากปริมาณที่น้อยและมีความกระจายตัวสูงในซีเมนต์en_US
dc.description.abstractalternativeThis research studied leaching behaviors of heavy metals from drinking water containers made of Portland cement from co-incineration process. The modified version of EA NEN 7375, a standard leaching test, was applied to examine various factors affecting heavy metals leachability. The leaching results were compared to drinking water standards to assess the contamination level of heavy metals in leachants. Moreover, the cement paste samples with the same properties as the drinking water containers were analyzed using X-ray Diffraction Spectrometer (XRD) and Fourier Transform Infra-Red Spectrophotometer (FT-IR) to consider the change of bond and compound in matrix after leaching tests. The experimental results indicated that initial concentration of heavy metals in cement paste, type, and amount of the leachants play crucial roles on metal leachability. The studies showed that at Liquid/Surface ratio of 8, cumulative concentration of metals at the water-solid interface was substantially high. Besides, the leachates from various leachants showed that Manganese did not mobilize in tap water while Boron leached substantially in a closed system with synthetic acid rain as a leachant. Various Leaching phenomena of heavy metals were observed. After surface wash off phenomenon Alumimium showed the obvious dissolution at the final state of the study, while Chromium showed solely surface wash off at the beginning state. For the leaching in open system, Co[subscript2] affected in decreasing pH and conductivity and the precipitate has formed. Under this condition, most of heavy metals, except Vanadium, became less mobilized. Cadmium and Lead were found the concentration higher than the standards of drinking water under all conditions for all leachants. Analyzing cement paste and precipitate with XRD and FTIR, the precipitate was found to be CaCO[subscript3]. Heavy metals were not detected by XRD and FTIR because of their relatively small amounts in cement.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.978-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectน้ำดื่มen_US
dc.subjectปูนซีเมนต์en_US
dc.subjectโลหะหนักen_US
dc.subjectการซึมชะละลายen_US
dc.subjectปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์en_US
dc.subjectCementen_US
dc.subjectLeachingen_US
dc.subjectDrinking wateren_US
dc.subjectHeavy metalsen_US
dc.subjectPortland cementen_US
dc.titleการชะละลายของโลหะหนักจากถัง/ภาชนะบรรจุน้ำดื่มซึ่งทำจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์จากกระบวนการเผาร่วมen_US
dc.title.alternativeLeaching of heavy metals from drinking water containers made of portland cement from co-incineration processen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorManaskorn.R@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.978-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
terapol_pi_front.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open
terapol_pi_ch1.pdf853.15 kBAdobe PDFView/Open
terapol_pi_ch2.pdf7.41 MBAdobe PDFView/Open
terapol_pi_ch3.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
terapol_pi_ch4.pdf10.51 MBAdobe PDFView/Open
terapol_pi_ch5.pdf684.07 kBAdobe PDFView/Open
terapol_pi_back.pdf51.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.