Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56889
Title: การสกัดยูเรเนียมและทอเรียมจากแร่โมนาไซด์ โดยใช้หอสกัดแบบจานมีรูยึดติดคงที่และป้อนสารเป็นช่วงๆ
Other Titles: Extraction of uranium and thorium from monazite using pulse sieve plate column
Authors: สุภัทร สัมมากสิพงศ์
Advisors: อุรา ปานเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Ura.P@Chula.ac.th
Subjects: การสกัดด้วยสารตัวทำละลาย
การสกัด (เคมี)
โมนาไซต์
ยูเรเนียม
ทอเรียม
Solvent extraction
Extraction (Chemistry)
Monazite
Uranium
Thorium
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการสกัดยูเรเนียม ทอเรียมและธาตุหายาก จากแร่โมนาไซด์ที่อยู่ในรูปเค้ก ของสารประกอบของโลหะ และถูกเตรียมให้อยู่ในรูปสารละลายเพื่อให้เหมาะสมสำหรับการสกัดด้วยเครื่องสกัดของเหลว ด้วยของเหลวแบบจานมีรูยึดติดกับที่และป้อนสารเป็นช่วงๆ (pulse sieve plate column) การสกัดยูเรเนียม ทอเรียมและธาตุหายาก ใช้สารไตรบิวทิวฟอสเฟสที่ละลายในน้ำมันก๊าดเป็นสารสกัด โดยเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นตั้งแต่ 5% ถึง 20% โดยปริมาตร สารละลายป้อนเข้าคือสารละลายของสารประกอบของโลหะ ซึ่งประกอบด้วยยูเรเนียม ทอเรียมและธาตุหายาก โดยการเตรียมให้อยู่ในภาวะที่เป็นกรด กำหนดให้ความเข้มข้นของกรดไนตริกในสารละลายป้อนเข้าคงที่เท่ากับ 3 โมลต่อลิตร อัตราส่วนของอัตราการไหลของสารละลายป้อนเข้าต่อสารสกัดคงที่เท่ากับ 1 ต่อ 1 และศึกษาผลของการสกัดโดยปรับเปลี่ยนค่าจังหวะการเขย่า (pulse setting number) จำนวน 4 ค่า ได้แก่ 3, 5, 7 และ 10 จากผลการทดลองแสดงให้ทราบว่า ภาวะที่เหมาะสมสำหรับการสกัดยูเรเนียม ทอเรียม ออกจากธาตุหายาก โดยใช้หอสกัดแบบจานมีรูยึดติดกับที่และป้อนสารเป็นช่วงๆ คือความเข้มข้นของไตรบิวทิวฟอสเฟสในน้ำมันก๊าด สำหรับการสกัดยูเรเนียมเท่ากับ 10% โดยปริมาตร และความเข้มข้นของไตรบิวทิวฟอสเฟสในน้ำมันก๊าด สำหรับการสกัดทอเรียมเท่ากับ 20% โดยปริมาตรความเป็นกรดของสารละลายป้อนเข้ามีค่าเท่ากับ 3 โมลต่อลิตร อัตราส่วนการของอัตราการไหลของสารละลายป้อนเข้าต่อสารสกัดคงที่เท่ากับ 1 ต่อ 1 จังหวะการเขย่า (pulse setting number) เท่ากับ 7 ซึ่งความสามารถของหอสกัดในการสกัดยูเรเนียมและทอเรียม เท่ากับ 89.46% และ 76.08% ตามลำดับ และเวลาที่เหมาะสมสำหรับการสกัด เท่ากับ 40 นาที
Other Abstract: To study the extraction of uranium, thorium and rare earths from hydrous oxide cake obtained by alkaline digestion of monazite using perforate pulse sieve plate column. The separation was studied using tri-n-butyl phosphate as extractant at concentration in range 5% to 20% (by vol.) in kerosene. Feed solution containing uranium, thorium and rare earths. It was supplied with 3 molar nitric acid. The flow rate ratio of organic solution per feed solution was 1:1 and pulse setting number in the range 3-10. This research was to require the optimum conditions of process such as concentration of organic solvent, pulse setting number and times of extractions. The optimum condition was show while a high efficiency of uranium and thorium were extracted. The results were found that the optimum condition for extracted uranium was 10% vol. TBP in organic solvent, pulse setting number 7 and 1:1 for flow rate of feed solution to organic solvent ration. And the optimum conditio for extracted thorium was 20% vol. TBP in organic solvent, pulse setting number 7 and 1:1 for flow rate of feed solution to organic solvent ratio. The efficiency of extraction on uranium, thorium and rare earths were 89.46%, 76.08% and 54.26% respectively, The optimum time for extracted was 40 minutes.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56889
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1301
ISBN: 9741435088
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1301
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supat_su_front.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
supat_su_ch1.pdf536.64 kBAdobe PDFView/Open
supat_su_ch2.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open
supat_su_ch3.pdf740.55 kBAdobe PDFView/Open
supat_su_ch4.pdf967.56 kBAdobe PDFView/Open
supat_su_ch5.pdf418.59 kBAdobe PDFView/Open
supat_su_back.pdf4.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.