Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56970
Title: การศึกษาสถานะทางเอกลักษณ์ของวัยรุ่นตอนปลายในสถาบันอุดมศึกษา
Other Titles: Study of identity status of late adolescence in higher education institutes
Authors: สายฝน ควรผดุง
Advisors: นิรมล ชยุตสาหกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Niramol.Ch@Chula.ac.th
Subjects: เอกลักษณ์ (จิตวิทยา) ในเยาวชน
อัตลักษณ์
วัยรุ่น -- ไทย
นักศึกษา -- ไทย
Identity (Psychology) in youth
Identity (Philosophical concept)
Adolescence -- Thailand
Students -- Thailand
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานะทางเอกลักษณ์ของวัยรุ่นตอนปลายในสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยคือ นักศึกษาระดับอุดมศึกษาจำนวน 160 คน เป็นนักศึกษาชาย 80 คน และหญิง 80 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์บันทึกเทป เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์สถานะทางเอกลักษณ์ที่ดัดแปลงจาก Identity Status Interview โดยมาร์เซียและคณะ ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษาอยู่ในสถานะที่ค้นหาเอกลักษณ์ด้านอาชีพด้วยตนเองได้อย่างสมบูรณ์ มีจำนวนเพิ่มขึ้นตามระดับชั้นเรียนที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2. นักศึกษาอยู่ในสถานะที่ค้นหาเอกลักษณ์ด้านการเมืองด้วยตนเองได้อย่างสมบูรณ์มีจำนวนเพิ่มขึ้นตามระดับชั้นเรียนที่สูงขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักศึกษาอยู่ในสถานะที่ค้นหาเอกลักษณ์ด้านศาสนาด้วยตนเองได้อย่างสมบูรณ์มีจำนวนเพิ่มขึ้นตามระดับชั้นเรียนที่สูงขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักศึกษาอยู่ในสถานะที่ค้นหาเอกลักษณ์ด้านทัศนคติเกี่ยวกับบทบาททางเพศด้วยตนเองได้อย่างสมบูรณ์มีจำนวนเพิ่มขึ้นตามระดับชั้นเรียนที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. นักศึกษาอยู่ในสถานะที่ค้นหาเอกลักษณ์ด้านเพศสัมพันธ์ด้วยตนเองได้อย่างสมบูรณ์มีจำนวนเพิ่มขึ้นตามระดับชั้นเรียนที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. นักศึกษาอยู่ในสถานะที่ค้นหาเอกลักษณ์ของตนเองได้อย่างสมบูรณ์มีจำนวนเพิ่มขึ้นตามระดับชั้นเรียนที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to study identity status of late adolescence in higher educational institutes. The subjects of this research were 160 college students: 80 males and 80 females. Data was collected by interviewing in tape recorder. In collecting data the Marcia et al’s identity status interview was used. The findings were as follows: 1. Numbers of students had occupational identity achievement status increased in accordance with class levels at less than .01 level of significance. 2. Numbers of students had political identity achievement status did not increased in accordance with class levels at .05 level of significance. 3. Numbers of students had religious identity achievement status did not increased in accordance with class levels at .05 levels of significance. 4. Numbers of students had sex-role identity achievement status increased in accordance with class levels at .05 levels of significance. 5. Numbers of students had sexuality identity achievement status increased in accordance with class levels at .01 levels of significance. 6. Numbers of students had ego identity achievement status increase in accordance with class levels at .05 levels of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56970
ISBN: 9745841471
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saifon_ku_front.pdf721.09 kBAdobe PDFView/Open
Saifon_ku_ch1.pdf3.41 MBAdobe PDFView/Open
Saifon_ku_ch2.pdf673.42 kBAdobe PDFView/Open
Saifon_ku_ch3.pdf456.23 kBAdobe PDFView/Open
Saifon_ku_ch4.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Saifon_ku_ch5.pdf391.42 kBAdobe PDFView/Open
Saifon_ku_back.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.