Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56979
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยเชษฐ์ สายวิจิตร-
dc.contributor.authorศศิรมย์ เทียนน้อย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-02-08T06:38:06Z-
dc.date.available2018-02-08T06:38:06Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56979-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2559en_US
dc.description.abstractปัจจุบันงานวิจัยในโครงข่ายแบบไร้สายที่เกี่ยวข้องกับโครงข่ายแอดฮอกสำหรับยานพาหนะได้รับความสนใจเป็นจำนวนมาก เนื่องจากยานพาหนะมีจำนวนบนท้องถนนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ต้องบริหารจัดการระบบการจราจรให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การเกิดอุบัติเหตุและการจราจรคับคั่ง โดยสาเหตุของปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การขาดการติดต่อสื่อสารระหว่างกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสภาพการจราจรแบบทันท่วงที ด้วยสาเหตุนี้การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างยานพาหนะกับยานพาหนะ หรือยานพาหนะกับโนดข้างถนน จำเป็นต้องได้รับการประเมินและการแพร่กระจายอย่างถูกต้องภายในระยะเวลาที่เหมาะสมทันท่วงที เช่น ข้อมูลเตือนภัย ดังนั้นเวลาในการแจกจ่ายข้อมูลจึงมีความสำคัญมาก แต่เนื่องจากโครงข่ายแอดฮอกสำหรับยานพาหนะเป็นโครงข่ายที่มีสภาพแวดล้อมเป็นแบบเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้พบปัญหาการขาดความต่อเนื่องในการรับส่งข้อมูล อย่างไรก็ตาม โครงข่ายการสื่อสารในปัจจุบันที่ใช้โพรโทโคลแบบ TCP/IP ซึ่งใช้ที่อยู่ไอพีในการส่งข้อมูล อาจจะไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่โนดมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะว่าโนดต้องมีการคำนวณหาเส้นทางในการส่งข้อมูลใหม่ หลังจากที่เส้นทางขาดความต่อเนื่องในการรับส่งข้อมูล ดังนั้นสถาปัตยกรรมชื่อข้อมูล (named data architecture) หรือ โครงข่ายชื่อข้อมูล (named data network : NDN) เป็นสถาปัตยกรรมอินเทอร์เน็ตในอนาคตที่นำมาแก้ปัญหาของสถาปัตยกรรมอินเทอร์เน็ต TCP/IP ซึ่งมุ่งเน้นการให้บริการข้อมูลตามที่ผู้ร้องขอต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องสร้างเส้นทางก่อนการร้องขอข้อมูล อีกทั้งยังสามารถส่งการร้องขอข้อมูลด้วยชื่อออกไปและสามารถเก็บข้อมูลไว้ในขณะที่โครงข่ายมีจำนวนโนดเบาบาง ในงานวิจัยนี้จึงได้เสนอโพรโทคอลการแจกจ่ายข้อมูลสำหรับโครงข่ายแอดฮอกสำหรับยานพาหนะ โดยใช้สถาปัตยกรรมชื่อข้อมูล ซึ่งมีการติดตั้งโนดข้างถนนเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจราจรให้มีประสิทธิภาพโพรโทคอลที่เสนอนี้เรียกว่า โครงข่ายชื่อข้อมูลโดยมีโนดข้างถนนเป็นผู้ช่วย (roadside unit assisted of named data network : RA-NDN) ซึ่งกำหนดให้โนดข้างถนนไม่ต้องเชื่อมต่อกับศูนย์กลางข้อมูลหรือศูนย์ประมวลผล และให้คุณลักษณะของโนดข้างถนนเหมือนกันกับยานพาหนะ เช่น รัศมีการสื่อสาร เป็นต้น ในการประเมินสมรรถนะของโพรโทคอลที่นำเสนอ โดยใช้โปรแกรมจำลองการสื่อสาร (NS3) และโปรแกรมจำลองการจราจร (SUMO) บนพื้นฐานข้อมูลจริงจากโครงการสาทรโมเดล ถนนสาทร กรุงเทพมหานคร ผลการจำลองที่ได้เมื่อเปรียบเทียบโพรโทคอลที่นำเสนอ (RA-NDN) กับโครงข่ายชื่อข้อมูลแบบดั้งเดิม (V-NDN) ภายใต้เงื่อนไขความหนาแน่นของยานพาหนะ รัศมีการสื่อสาร และจำนวนผู้ร้องขอ พบว่า โพรโทคอลที่นำเสนอสามารถลดปริมาณทราฟฟิกในระบบ และเวลาการแจกจ่ายข้อมูลโดยรวม อีกทั้งยังสามารถเพิ่มอัตราส่วนการรับแพ็กเกตข้อมูลสำเร็จและค่าวิสัยสามารถen_US
dc.description.abstractalternativeNowadays, vehicular ad hoc network (VANET) becomes one of highly active research area of wireless networking. In a road network where road information is exchanged among vehicles, all traffic information must be processed and disseminated in a timely manner. Since VANET is multi-hop wireless networks with extremely high mobility and short connection lifetimes, it is important to address the data dissemination problem in a partitioned and rapid changed topology. However, the current TCP/IP implementation regularly does not fit into the highly dynamic vehicular environments because the routed must be recalculated due to the intermittent connectivity. Hence, Name data networking (NDN) is considered here. NDN is a newly proposed architecture for the future Internet which focuses on delivering what data information drivers want. In this research, the data dissemination protocol for VANET using Named Data Architecture, which is deployed in a roadside unit to assist vehicles exchange their traffic information efficiently is proposed. The proposed protocol is called Roadside Unit Assisted of Named Data Network or RA-NDN. The RSU can operate on a standalone node without connecting to the data center, data collection or processing center, nor connect the other RSUs via wireless adhoc network. The characteristics of RSU are defined to be the same as the characteristics of vehicles such as its transmission range. In order to verify the performance of the proposed protocol, this research uses the network simulator (NS3) and the traffic simulator (SUMO) software for this model. To reduce network latency under vehicular density, vehicular transmission range and the number of requesters, the proposed approach is compared with V-NDN via a real-world data set in the urban area of Sathorn road in Bangkok, Thailand. Simulation results show that using the proposed protocol with the roadside unit decreases traffic load, total dissemination time and increases the data received ratio and throughput.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.965-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโปรโตคอลเครือข่ายคอมพิวเตอร์en_US
dc.subjectเครือข่ายแอดฮอกen_US
dc.subjectเครือข่ายแอดฮอกของยานพาหนะen_US
dc.subjectComputer network protocolsen_US
dc.subjectAd hoc networks (Computer networks)en_US
dc.subjectVehicular ad hoc networks (Computer networks)en_US
dc.titleการวิเคราะห์สมรรถนะของโพรโทคอลการแจกจ่ายข้อมูลในโครงข่ายแอดฮอกสำหรับยานพาหนะ โดยใช้สถาปัตยกรรมชื่อข้อมูลen_US
dc.title.alternativePerformance analysis of data dissemination protocol in vehicular Ad Hoc Network By Using Named Data Architectureen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมไฟฟ้าen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChaiyachet.S@Chula.ac.th,Chaiyachet.S@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.965-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5471425521.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.