Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57018
Title: ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรกลุ่มทักษะ ของโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรระดับประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ในเขตการศึกษา 7
Other Titles: Opinions of administrators and teachers concerning the implementation of basic knowledge and skill area in the Elementary School Curriculum B.E. 2521 in the pilot elementary school for curriculum implementation in educational region seven
Authors: สายสมร ดีวิเศษ
Advisors: สวัสดิ์ จงกล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: หลักสูตรระดับประถมศึกษา พุทธศักราช 2521
การประเมินหลักสูตร
ครูประถมศึกษา -- ทัศนคติ
ผู้บริหารโรงเรียน -- ทัศนคติ
Elementary School Curriculum B.E. 2521
Curriculum evaluation
Elementary school teachers -- Attitudes
School administrators -- Attitudes
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรกลุ่มทักษะของโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรระดับประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ในเขตการศึกษา 7 ในด้านการจัดการเรียนการสอน การสอนซ่อมเสริม การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร การบริการเอกสารหลักสูตรและสื่อการเรียน การประเมินผลการเรียน การนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตร การใช้อาคารสถานที่และแหล่งวิทยาการและการประชาสัมพันธ์การใช้หลักสูตร 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับปัญหา ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรกลุ่มทักษะของโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรระดับประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ในเขตการศึกษา 7 ในด้านการจัดการเรียนการสอน การสอนซ่อมเสริม การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร การบริการเอกสารหลักสูตรและสื่อการเรียน การประเมินผลเรียน การนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตร การใช้อาคารสถานที่และแหล่งวิทยาการ และการประชาสัมพันธ์การใช้หลักสูตร. วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือผู้บริหารและครูประจำการผู้สอนกลุ่มทักษะของโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตร ในเขตการศึกษา 7 จำนวน 35 โรงเรียน โดยแบ่งเป็นผู้บริหาร 61 คน ครูประจำการผู้สอนกลุ่มทักษะ 325 คน ผู้วิจัยได้ศึกษาการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 จากเอกสารและงานวิจัยต่างๆ เพื่อนำความรู้และแนวคิดมาสร้างเครื่องมือเพื่อใช้รวบรวมข้อมูลซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า และแบบปลายเปิด ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วนตนเองส่วนหนึ่ง ส่งทางไปรษณีย์ส่วนหนึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การคำนวณหาค่าร้อยละ สรุปผลการวิจัย ผู้บริหารและครูส่วนใหญ่เคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 มาแล้วเป็นอย่างดี สามารถนำหลักสูตรไปใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะครูประจำการผู้สอนกลุ่มทักษะ มีความเข้าใจในเนื้อหา จุดประสงค์การเรียน การเตรียมการสอน การใช้สื่อการเรียน สามารถนำเทคนิควิธีสอนและกิจกรรมที่เสนอในแผนการสอนหรือคู่มือครูไปใช้ได้อย่างเหมาะสม ด้านสื่อการเรียนมีปัญหาในเรื่องงบประมาณในการจัดทำ ทักษะในการผลิตและการเก็บรักษาเนื่องจากครูส่วนใหญ่สอนคนละหลายกลุ่มประสบการณ์ ทำให้ครูมีเวลาในการทำสื่อการเรียนน้อย ด้านการสอนซ่อมเสริมครูประจำชั้นเป็นผู้สอนเองในขณะที่สอนในเวลาปกติ แต่เนื่องจากนักเรียนในชั้นมีความสามารถและความพร้อมแตกต่างกัน และเวลาเรียนมีจำกัด จึงทำให้ครูสอนซ่อมเสริมได้ไม่ทั่วถึง นอกจากนี้ยังขาดเครื่องมือวัดผลที่มีประสิทธิภาพเพื่อวินิจฉัยข้อบกพร่องในการเรียน ส่วนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรนั้นโรงเรียนยังจัดให้นักเรียนได้ไม่กว้างขวางนัก เพราะขาดงบประมาณที่จะมาสนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์และการสนับสนุนจากผู้ปกครอง ส่วนเอกสารหลักสูตรโรงเรียนมีพอใช้แตกยังขาดสื่อการเรียนที่จำเป็นเพราะมีราคาแพงสำหรับโรงเรียนซึ่งไม่มีงบประมาณเพิ่มขึ้น เช่น พจนานุกรม เครื่องชั่ง ตวง วัด ฯลฯ เป็นต้น สำหรับการประเมินผลการเรียน ผู้บริหารและครูมีความเข้าใจและสามารถนำระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ไปใช้ได้อย่างเหมาะสม แต่ยังมีปัญหาในเรื่องความสามารถของครูในการสร้างเครื่องมือเพื่อวัดผลตามจุดประสงค์การเรียนรู้ได้ครบตามที่เสนอแนะไว้ในแผนการสอนหรือคู่มือครู ด้านการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตร โรงเรียนพยายามส่งเสริมให้มีการนิเทศภายใน มีการติดตามผลการเรียนการสอนและตรวจเยี่ยมชั้นเรียนจากผู้บริหารอย่างทั่วถึง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากครูในโรงเรียนเป็นอย่างดี เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรจะจัดให้มีการประชุมเพื่อทราบปัญหาเป็นครั้งคราวและร่วมกันพิจารณาแก้ปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วงไปได้สวนหนึ่ง สำหรับการใช้อาคารสถานที่และแหล่งผลิตวิทยาการนั้น โรงเรียนส่วนมากยังมีบริเวณห้องสมุดไม่เพียงพอและเป็นสิ่งที่โรงเรียนต้องการมากส่วนแหล่งวิทยาการใชชุมชน สถานประกอบการและสถานประกอบอาชีพอิสระยังให้ความร่วมมือกับโรงเรียนไม่มากเท่าที่ควร ด้านการประชาสัมพันธ์การใช้หลักสูตรนับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก และโรงเรียนจะต้องทำในทุกรูปแบบ เพราะผู้ปกครองอีกจำนวนมากยังไม่เข้าใจเจตนารมณ์ของหลักสูตร จึงทำให้โรงเรียนไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองและชุมชนเท่าที่ควร และโรงเรียนเองยังขาดงบประมาณในส่วนที่จะจัดทำเอกสารถึงผู้ปกครองและชุมชนเพื่อใช้เป็นสื่อเชื่อมความเข้าใจในเรื่องที่โรงเรียนเห็นว่าผู้ปกครองควรทราบ
Other Abstract: Research Purposes 1. To study the opinions of school administrators and teachers concerning the implementation of basic knowledge and skill subject area in the Elementary School Curriculum B.E. 2521 in the pilot elementary schools for curriculum implementation in educational region seven. Eight specific aspects of study are the conduct of classroom teaching-learning, remedial teaching, co-curricular activity, procurement and provision of curriculum materials and instructional aids, learning evaluation, supervision and follow-up study of the curriculum implementation, utilization of building, space and local educational resources, and public relations about curriculum implementation. 2. To study the opinions of school administrators and teachers concerning problems and suggestion for solving the identified problems with a view to develop the quality of the eight aspects of curriculum just mentioned above. Method of the Study The researcher starts this research by studying related literature and research documents consequently constructing a set of questionnaire under her advisor’s supervision. The instrument consists of check list, rating scale, and open-ended questionnaires. They are mostly sent out and collected by the researcher and a small number by mail and they all are then analyzed by means of percentage. The samples used in this study comprised 61 school administrators and 325 teachers who were responsible for teaching basic knowledge and skill subject area from 35 schools in the educational region seven. Findings Most of the administrators and teachers had been trained well on how to use the Elementary School Curriculum B.E. 2521. They could implement it appropriately. It was found out that teachers could understand curriculum objectives and concepts prescribed in learning experiences, they could use teaching plan suggested in the lesson plan or teacher’s manual appropriately. With regard to concerning teaching aids, there were two problems namely insufficient budget, lack of skills and time for producing and maintaining instructional aids. As for remedial teaching it was found out that teachers conducted this activity during the official time. Due to the differences of students’ ability and readiness and the limitation of time available, their classroom teachers could not provide such an activity to them all individually. They also lacked effective diagnostic test to identify their students’ learning weaknesses. The schools also could not provide co-curricular activities in a large scale because of insufficient budget for acquiring equipment, instrument and sportwares as well as parent’s cooperation could not be successfully obtained. It was found out that curriculum materials are adequately provide, but the school badly needed necessary instruments since some of them were expensive such as dictionaries, measurement scales, etc. With regard to the implementation of the official evaluation regulation, it was revealed that school administrators and teachers could not perform appropriately. Furthermore, they still faced problems in constructing good tests to measure the learning in accordance with suggestions made in evaluation handbook. In terms of supervision and follow-up of curriculum implementation it was fond out that the schools could organize the system of supervision within schools. The school administrators would follow-up and visit all classes regularly and the teachers cooperated with them quite well. When there were problems in curriculum implementation, meeting would be held from time to time to solve problems. Besides, they also faced the problem in utilizing school ground and local educational resources School library did not have enough space which were badly in need. Local educational resources especially for work oriented educational training such as private enterprises did not cooperated with the schools as much as they should. It was found that public relations was very necessary since the schools which had to deal with all kinds of business in all forms available. This was due to the main courses that a lot of parents did not understand curriculum aims and objectives and the community did not cooperate as much as they could. In addition, the schools did not have adequate budget to issue newsletters and other forms of document to use as a means for building up good mutual understanding between the schools and the parents or the communities when something worth informing arised.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57018
ISBN: 9745621064
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saisamorn_de_front.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open
Saisamorn_de_ch1.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open
Saisamorn_de_ch2.pdf6.28 MBAdobe PDFView/Open
Saisamorn_de_ch3.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Saisamorn_de_ch4.pdf6.33 MBAdobe PDFView/Open
Saisamorn_de_ch5.pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open
Saisamorn_de_back.pdf5.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.