Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57061
Title: ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสิ่งสกัดด้วยเอทานอลของพรอโพลิสไทย
Other Titles: Anti-inflammatory activity of ethanolic extract of Thai propolis
Authors: ดวงใจ ปานแก้ว
Advisors: จันทนี อิทธิพานิชพงศ์
นิจศิริ เรืองรังษี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Chandhanee.I@Chula.ac.th
Subjects: สารต้านการอักเสบ
เอทานอล
การสกัด (เคมี)
โพรพอลิส -- การใช้รักษา
Anti-inflammatory agents
Ethanol
Extraction (Chemistry)
Propolis -- Therapeutic use
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พรอโพลิส (Propolis) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากรังผึ้งและเป็นที่รู้จักกันมานานหลายศตวรรษถึงประโยชน์ทางยาอันได้แก่ การรักษาภาวะอักเสบ อาการไข้ แผลในกระเพาะอาหาร การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสิ่งสกัดด้วยเอทานอลของพรอโพลิสไทย จากรังผึ้งเลี้ยงที่จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่าสิ่งสกัดด้วยเอทานอลของพรอโพลิสไทย มีฤทธิ์ยับยั้งการสับเสบในหนูขาวที่กระตุ้นให้เกิดการบวมของอุ้งเท้าด้วย carrageenan โดยขนาดที่มีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบได้อย่างมีนัยสำคัญนั้นคือ 200, 300 และ 400 mg/kg เมื่อให้โดยฉีดเข้าช่องท้อง และ สิ่งสกัดด้วยเอทานอลของโพลิสไทย ที่ขนาด 300 mg/kg มีฤทธิ์ในการยับยั้งการบวมของอุ้งเท้าหนูได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด (เปอร์เซ็นต์การยับยั้งการบวมที่ชั่วโมงที่ 2 เท่ากับ 48.2) เมื่อศึกษากลไกของสิ่งสกัดด้วยเอทานอลของพรอโพลิสไทย ต่อ pro-inflammatory mediators ในเซลล์เพาะเลี้ยงเซลล์ macrophage (RAW264.7) ที่ถูกระตุ้นด้วย lipopolysaccharide (lps) 100 ng/ml พบว่าสิ่งสกัดด้วยเอทานอลของพรอโพลิสไทย สามารถยับยั้งการหลั่ง nitric oxide (NO) และ nitric oxide (TNF- α)ความเข้มข้น 25 และ 50 ug /ml ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยพบว่าความเข้มข้นของสิ่งสกัดด้วยเอทานอลของพรอโพลิสไทย ที่สามารถยับยั้งการหลั่งของ NO และ TNF-α ได้ 50 เปอร์เซ็นต์ (IC₅₀ ) คือ 33.1 ug /ml และ 29.6 ug/mlตามลำดับ ผลการทดลองแสดงว่าสิ่งสกัดด้วยเอทานอลของพรอโพลิสไทย มีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบแบบเฉียบพลันในสัตว์ทดลอง และยับยั้งการหลั่ง pro-inflammatory mediator ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบคือ NO และ TNF-α
Other Abstract: Propolis, a natural beehive product, has been known for centuries for a variety of beneficial traditional use, such as anti-inflammatory condition, fever, peptic ulcer. This study aimed to elucidate the anti-inflammatory effect of the ethanolic extract of Thai propolis (EEP) which obtained from Chiangmai bee farm. EEP exhibited anti-inflammatory effect in carrageenan induced rat paw edema at the dose of 200, 300 and 400 mg/ml when given intraperitoneally. Maximum inhibition was demonstrated when EEP 300 mg/ml was employed (%inhibition at the second hour 48.2). The effect of EEP on pro-inflammatory mediators produced by the macrophage cell line (RAW 264.7) stimulated with lipopolysaccharide (LPS) 100 ng/ml revealed that EEP inhibited nitric oxide (NO) and tumor necrosis factor-α (TNF- a) released significantly at the concentration of 25 and 50 ug /ml (IC₅₀ = 33.1 and 29.6 ug /ml respectively). The results obtained from this study should be concluded that EEP possesses anti-inflammatory effect in acute inflammation model. Inhibition of proinflammatory mediators release, NO and TNF- α, are found.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57061
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1148
ISBN: 9741434944
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1148
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
duangjai_pa_front.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
duangjai_pa_ch1.pdf619.87 kBAdobe PDFView/Open
duangjai_pa_ch2.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open
duangjai_pa_ch3.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
duangjai_pa_ch4.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
duangjai_pa_ch5.pdf720.03 kBAdobe PDFView/Open
duangjai_pa_back.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.