Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57081
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพและพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาวิทยาเขตในภาคกลาง
Other Titles: Relationship between personality and leader behavior of the administrators of the institute of technology and vocational education in central region
Authors: ศรัญยา วรากุลวิทย์
Advisors: อมรชัย ตันติเมธ
ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Amornchai.T@chula.ac.th
Taweewat.p@chula.ac.th
Subjects: อาชีวศึกษา -- การบริหาร
ประมุขศิลป์
ภาวะผู้นำ
บุคลิกภาพกับอาชีพ
Vocational education -- Administration
Leadership
Personality and occupation
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. ศึกษาบุคลิกภาพของผู้บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตในภาคกลาง ในด้านต่าง ๆ 4 ด้าน ด้านคือ ด้านความมีอำนาจอิทธิพล (Ascendancy) ด้านความรับผิดชอบ (Responsibility) ด้านความมั่นคงทางอารมณ์ (Emotional Stability) และด้านการเข้าสังคม (Sociability) 2. ศึกษาพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตในภาคกลาง 2 มิติคือ มิติกิจสัมพันธ์ (Initiating Structure) และมิติมิตรสัมพันธ์ (Consideration) 3. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพแต่ละด้านและพฤติกรรมผู้นำแต่ละมิติของผู้บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตในภาคกลาง สมมติฐานของการวิจัย 1. บุคลิกภาพแต่ละด้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมผู้นำมิติกิจสัมพันธ์ของผู้บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตในภาคกลาง 2. บุคลิกภาพแต่ละด้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมผู้นำมิติมิตรสัมพันธ์ของผู้บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตในภาคกลาง วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างของประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นอาจารย์จำนวน 589 คนที่สุ่มมาจากอาจารย์ที่ปฏิบัติการสอนในวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตในภาคกลาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่ประกอบด้วยข้อคำถาม เกี่ยวกับบุคลิกภาพ 18 ข้อที่วัดบุคลิกภาพ 4 ด้านคือ ด้านความมีอำนาจอิทธิพล (Ascendancy) ด้านความรับผิดชอบ (Responsibility) ด้านความมั่นคงทางอารมณ์ (Emotional Stability) และด้านการเข้าสังคม (Sociability) และข้อคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้นำจำนวน 30 ข้อ โดยวัดพฤติกรรมผู้นำ 2 มิติคือ มิติกิจสัมพันธ์ (Initiating Structure) และมิติมิตรสัมพันธ์ (Consideration) การส่งแบบสอบถามใช้วิธีนำส่งและรับคืนด้วยตนเอง ได้รับคืนฉบับที่สมบูรณ์จำนวน 492 ชุด คิดเป็นร้อยละ 83.53 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัย จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปได้ดังนี้ 1. บุคลิกภาพของผู้บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตในภาคกลางที่ได้นำมาศึกษาปรากฎว่า บุคลิกภาพทั้ง 4 ด้านโดยส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง 2. พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตในภาคกลาง ที่ได้นำมาศึกษาปรากฎว่าพฤติกรรมผู้นำทั้ง 2 มิติ โดยส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง 3. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพแต่ละด้านและพฤติกรรมผู้นำแต่ละมิติของผู้บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตในภาคกลาง ปรากฎว่าบุคลิกภาพด้านต่าง ๆ ของผู้บริหารมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมผู้นำมิติกิจสัมพันธ์และมิตรสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตินั้นมีน้อยมาก นอกจากบุคลิกภาพด้านความรับผิดชอบมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมผู้นำมิติกิจสัมพันธ์และมิติมิตรสัมพันธ์ตั้งแต่ระดับปานกลางจนถึงค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเป็นเช่นนี้จำนวนหลายวิทยาเขตค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงสุดที่ได้คือค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของบุคลิกภาพด้านความรับผิดชอบกับพฤติกรรมผู้นำมิติมิตรสัมพันธ์คือมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .73 และค่าต่ำสุดในบรรดาคู่ที่มีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ได้แก่บุคลิกภาพด้านการเข้าสังคมกับพฤติกรรมผู้นำมิติกิจสัมพันธ์คือมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .22 เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพแต่ละด้านพฤติกรรมผู้นำแต่ละมิติของผู้บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวิศึกษา เป็นรายวิทยาเขตในภาคกลางที่นำมาศึกษา โดยส่วนใหญ่ไม่สัมพันธ์กัน
Other Abstract: Purposes : 1. To study the four personality traits namely Ascendancy, Responsibility, Emotional Stability and Sociability of the administrators of the Institute of Technology and Vocational Education in Central Region. 2. To study two specific dimensions of leader behavior of the administrators of the Institute of Technology and Vocational Education in Central Region. The two dimensions are Initiating Structure and Consideration. 3. To study a relationship between each of the four personality traits and each of the two leader behavior dimensions of the administrators of the Institute of Technology and Vocational Education in Central Region. Hypothesis : 1. Each of the four personality traits relates with the Initiating Structure dimension of the administrators of the Institute of Technology and Vocational Education in Central Region. 2. Each of the four personality traits relates with the Consideration dimension of the administrators of the Institute of Technology and Vocational Education in Central Region. Research methodology : The sample in this study consisted of 589 persons sampled from instructors in the Institute of Technology and Vocational Education in Central Region. The instrument used in this study was a questionnaire which consisted of eighteen sets of four descriptive phrases of personality and thirty items of two dimensions of leader behavior. The first group is used to measure four personality traits; on Ascendancy, Responsibility, Emotional Stability and Sociability. The last group is used to measure the leader behavior on the Initiating Structure and Consideration dimensions. A total of 492 questionnaires or 83.53 percent were completed and returned. The data was analyzed by means of percentages, means, standard deviation, and Pearson Product Moment Correlation Coefficient of which the significance was tested. Findings : From the analyzed data, the finding of the study were summarized as follow : 1. Each of the four personality traits of most of the administrators of the Institute of Technology and Vocational Education in Central Region was rated at the middle level. 2. Each of the two dimensions of the leader behavior of most of the administrators of the Institute of Technology and Vocational Education in Central Region was rated at the middle level. 3. The outcome of the study of the relationship between each of the four personality traits and each of the two dimensions of the leader behavior of the administrators of the Institute of Technology and Vocational Education in Central Region were as follows. The relationship between the four personality traits and the two dimensions of the leader behavior of the administrators was at the low level of statistical significance. Besides, the relationship between the Responsibility and Initiating Structure, as well as that between the Responsibility and Consideration ranged from moderate to high levels with 0.5 level of significance and could be seen in several campuses. The highest correlation coefficient was .73. The lowest correlation coefficient at .22 with .05 level of significance was the relationship between Sociability and Initiating Structure. As for the relationship between each personality trait and each leader behavior of the administrator classified by campus in this study, it was found out that mostly there was no relationship.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57081
ISBN: 9745644439
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sranya_wa_front.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open
Sranya_wa_ch1.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open
Sranya_wa_ch2.pdf9.2 MBAdobe PDFView/Open
Sranya_wa_ch3.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open
Sranya_wa_ch4.pdf5.99 MBAdobe PDFView/Open
Sranya_wa_ch5.pdf3.49 MBAdobe PDFView/Open
Sranya_wa_back.pdf3.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.