Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57254
Title: การประมาณค่าความเสถียรเชิงตรรกะจากแผนภาพคลาสและแผนภาพซีเควนซ์
Other Titles: Estimating software logical stability from class diagram and sequence diagram
Authors: ศุภวัชร์ รังสิยวัฒน์
Advisors: พรศิริ หมื่นไชยศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Pornsiri.Mu@Chula.ac.th,Pornsiri.Mu@chula.ac.th
Subjects: วิศวกรรมซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ -- การวัด
ประสิทธิผลทางซอฟต์แวร์
Software engineering
Software measurement
Software productivity
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้นำเสนอโมเดลสำหรับประมาณค่าความเสถียรเชิงตรรกะจากแผนภาพคลาส และแผนภาพซีเควนซ์ โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างความเสถียรเชิงตรรกะที่วัดจากซอร์สโคด และค่าตัววัดจากแผนภาพคลาสและแผนภาพซีเควนซ์ ความสเถียรเชิงตรรกะคำนวณจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงตามรูปแบบที่กำหนด โดยงานวิจัยนี้แบ่งรูปแบบการเปลี่ยนแปลงออกเป็น 2 ระดับด้วยกัน คือการเปลี่ยนแปลงระดับระบบ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างคลาส และการเปลี่ยนแปลงระดับคลาสซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงภายในองค์ประกอบของคลาส การวัดค่าตัววัดแผนภาพในงานวิจัยนี้จะวัดแผนภาพจากแผนภาพคลาสและแผนภาพซีเควนซ์ ที่อยู่ในรูปแบบของเอกสารเอกซ์เอมแอล งานวิจัยนี้ได้แบ่งกลุ่มของซอฟต์แวร์ออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ ซอฟต์แวร์ด้านการคำนวณ ซอฟต์แวร์ด้านข้อความและซอฟต์แวร์ด้านรูปภาพ เนื่องจากซอฟต์แวร์แต่ละกลุ่มมีพฤติกรรมเฉพาะและบางพฤติกรรมขัดแย้งกัน และได้ใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงซ้อนเพื่อสร้างโมเดลประมาณค่าความเสถียรเชิงตรรกะ จากตัววัดแผนภาพของซอฟต์แวร์แต่ละกลุ่ม และพัฒนาเครื่องมือเพื่อประมาณค่าความเสถียรเชิงตรรกะตามโมเดลที่ได้ ผลลัพธ์ของงานวิจัยนี้ได้โมเดลการประมาณค่าความเสถียรเชิงตรรกะของซอฟต์แวร์ทั้ง 3 กลุ่ม ซึ่งโมเดลการประมาณค่าความเสถียรเชิงตรรกะของซอฟต์แวร์การจัดการข้อความ สามารถอธิบายค่าความเสถียรเชิงตรรกะของซอฟต์แวร์ในกลุ่มของตนได้มากที่สุดคือ 84.6% รองลงมาคือ โมเดลการประมาณค่าของซอฟต์แวร์การคำนวณที่ 73.9% และโมเดลการประมาณค่าของซอฟต์แวร์การจัดการูปภาพที่ 73.8%
Other Abstract: This thesis proposes a model for estimating software logical stability from class diagram and sequence diagrams. The model is established by finding a relation between logical stability measured from source code and diagram metrics measured from class diagram and sequence diagrams. The logical stability is measured by the effect of applying changes. Changes can be divided into 2 levels: system level which is changes related to relation between classes and class level which are changes that apply to class's elements. The diagram metrics measured from class diagram and sequence diagram are in XML format. This research divides software into 3 categories: calculating software, text editing software and image processing software because each category has different behavior and may conflict with another category. This research uses multiple linear regression technique to establish a logical stability estimation model for each category and implements a tool to exercise the established models. The results of this research is logical stability estimation model for each software category, which the estimation model of text editing software can describe its logical stability the most at 84.6%, follow by the estimation model of calculating software at 73.9% and the estimation model of image processing software at 73.8%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมซอฟต์แวร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57254
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1112
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1112
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supawath_ra_front.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
supawath_ra_ch1.pdf609.49 kBAdobe PDFView/Open
supawath_ra_ch2.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open
supawath_ra_ch3.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open
supawath_ra_ch4.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open
supawath_ra_ch5.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open
supawath_ra_ch6.pdf546.64 kBAdobe PDFView/Open
supawath_ra_back.pdf3.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.