Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57839
Title: การศึกษาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ H1N1 2009 ในผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ ประชาชนทั่วไปและกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ในประเทศไทยโดยใช้เทคนิค HI (Hemagglutination Inhibiton) Test : รายงานการวิจัย
Other Titles: The study of the change in antibody response to influenza A H1N1 2009 in people with ILI (Influenza-like-illness), normal people and healthcareworkers in Thailand using HI (Hemagglutination Inhibition) Test
Authors: ยง ภู่วรวรรณ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
Subjects: ไข้หวัดใหญ่เอช 1 เอ็น 1
ภูมิคุ้มกัน
H1N1 influenza
Immunity
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณการตอบสนองทางแอนติบอดีที่มีต่อเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ H1N1 2009 ในผู้ป่วยติดเชื้อ รวมถึงความชุกของแอนติบอดีต่อ human pandemic influenza (H1N1) ในกลุ่มประชากรทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์โดยใช้เทคนิค HI Test ในเขตอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น เมื่อทำการนำซีรั่มที่เป็น acute serum และ convalescent serum ของผู้ป่วยแต่ละรายมาทำการทดสอบดูปริมาณของแอนติบอดีที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่เพิ่มขึ้นภายหลังการติดเชื้อ (rising antibody) ในกลุ่มที่ตรวจพบว่าป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และไม่ได้ป่วย ผลการทดลองพบว่า ในผู้ป่วยที่พบการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยมีการเพิ่มขึ้นของแอนติบอดีจาก acute และ convalescent เพิ่มขึ้นอย่างน้อยสี่เท่า (four-fold rising) และในการหาความชุกของแอนติบอดีในกลุ่มประชากรทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์นั้น ได้ผลการทดลองว่าซีรั่ม 48.2% (123/255) ที่เก็บจากบุลากรทางการแพทย์ในช่วงเดือนธันวาคมปี 2009 มี positive antibody titers ในขณะที่ประชากรทั่วไปมีซีรั่มที่ positive 35.50% (109/307) และครั้งที่สองและสามได้เก็บซีรั่มในช่วงเดือนมิถุนายนและธันวาคม 2010 มี 89 of 397 (22.4%) และ 94 of 366 (25.7%) ที่มี positive HI antibody titers นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาถึง cross reactivity ระหว่างเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (H1N1) แอนติเจนจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลในตัวอย่างจากผู้ป่วยที่มีเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 พบว่า HI titers มีผลเป็น negative และในตัวอย่างของบุคลากรทางการแพทย์ที่เก็บก่อนและหลังการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นั้น ที่นำมาทดสอบวิธี HI โดยใช้แอนติเจนต่อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (H3N2) พบว่าผลเป็น negative เช่นกันจึงสรุปได้ว่าไม่มี cross reactivity ต่อระหว่างไวรัสอื่นกับไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหมี 2009
Other Abstract: This study was aimed to determine the antibody titers in human pandemic influenza (H1N1) among patients with respiratory tract diseases and healthcare personnel in Chumphae district, Khon Kaen province, Thailand by using hemagglutination inhibition (HI) assay. Forty-five paired serum samples of ILI patients with either positive or negative RT-PCR results were subjected to hemagglutination inhibition (HI) test to evaluate the antibody titers against human pandemic influenza (H1N1). The result show that most serum samples of ILI patients with positive pandemic H1N1 virus displayed at least four-fold antibody increase of HI titers against pandemic influenza (H1N1). Moreover, HI assay was performed to detect the antibody titers against pandemic influenza in medical personnel and general populations. The HI titer after the first outbreak showed that 123 of 255 (48.24%) sera collected from medical personnel contained specific antibodies (HI titers ≥40) whereas 109 of 307 (35.50%) sera obtained from general population were positive for specific antibodies against pandemic influenza. After second and third wave 89 of 397 (22.4%) and 94 of 366 (25.7%) had positive HI antibody titers. In addition, to determine cross-reactivity with human seasonal H1N1 influenza, viral antigen from the seasonal H1N1 was used to detect antibody against seasonal H1N1 influenza and all sera showed negative results. We also studied the single sera samples from the high risk medical personals collected before and after the pandemic influenza outbreaks for antibodies against seasonal H3 influenza virus infection. The results showed lack of cross-reactivity to the human pandemic influenza virus. In conclusion, HI antibody testing to pandemic influenza can be used for the diagnosis, preventive and control measures of potential outbreaks.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57839
Type: Technical Report
Appears in Collections:Med - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yong pu_b19343279.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.