Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57923
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพความสัมพันธ์แบบโรแมนติกกับแรงจูงใจในการเรียน โดยมีการสนับสนุนของคู่รักเป็นตัวแปรส่งผ่าน
Other Titles: Relations between romantic relationship quality and academic motivation : the mediating role of romantic partner supports
Authors: ธนัชพร พงศ์พรเชษฐา
พบธรรม วังจินดา
Advisors: ทิพย์นภา หวนสุริยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Thipnapa.H@Chula.ac.th,Thipnapa.H@Chula.ac.th
Subjects: การจูงใจในการศึกษา -- แง่จิตวิทยา
คู่รัก -- แง่จิตวิทยา
Motivation in education -- Psychological aspects
Couples -- Psychological aspects
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพความสัมพันธ์แบบโรแมนติกและแรงจูงใจในการเรียน โดยมีการสนับสนุนของคู่รักเป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่างซึ่งได้มาจากการเลือกตามสะดวก (Convenience Sampling) และใช้วิธีการบอกต่อผ่านทาง Facebook (Snowball Sampling) เป็นนิสิตปริญญาตรี จำนวน 276 คน อายุ 18-23 ปี ที่กำลังมีความสัมพันธ์เชิงคู่รักแบบชาย-หญิง มีระยะเวลาในความสัมพันธ์ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามออนไลน์จำนวน 73 ข้อ เพื่อวัดคุณภาพความสัมพันธ์แบบโรแมนติก แรงจูงใจในการเรียนสามรูปแบบ และการสนับสนุนของคู่รักสามรูปแบบ ผลการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) พบว่า คุณภาพความสัมพันธ์แบบโรแมนติกไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อแรงจูงใจในการเรียนทั้งสามรูปแบบ แต่ส่งอิทธิพลทางตรงต่อการสนับสนุนของคู่รักที่เป็นตัวแปรส่งผ่าน โดยมีอิทธิพลทางตรงทางบวกต่อการสนับสนุนแบบแสดงความห่วงใย (β = .512; p < .001) และการสนับสนุนแบบส่งเสริมการกระทำ (β = .509; p < .001) และส่งอิทธิพลทางตรงทางลบต่อการสนับสนุนทางลบ (β = -.153; p < .001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตัวแปรส่งผ่านเหล่านี้มีอิทธิพลทางตรงต่อแรงจูงใจในการเรียนบางรูปแบบ โดยพบว่า การสนับสนุนแบบแสดงความห่วงใย (β = .197; p = .021) และการสนับสนุนทางลบ (β = .171; p = .004) ส่งอิทธิพลทางตรงทางบวกต่อแรงจูงใจภายนอกในการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการสนับสนุนทางลบส่งอิทธิพลทางตรงทางบวกกับการขาดแรงจูงใจในการเรียน (β = .145; p = .011) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิเคราะห์อิทธิพลทางอ้อมพบว่า คุณภาพความสัมพันธ์แบบโรแมนติกส่งอิทธิพลทางอ้อมทางบวกต่อแรงจูงใจภายนอกในการเรียน โดยมีการสนับสนุนแบบแสดงความห่วงใยเป็นตัวแปรส่งผ่าน (β = .101; p = .024)
Other Abstract: This survey research aimed to examine the relations between romantic relationship quality and academic motivation and the mediating role of romantic partner supports. Participants recruited through convenience sampling and snowball samplings on Facebook were 18- to 23-year-old 276 undergraduate students from 26 universities in Thailand who have been in a heterosexual romantic relationship for over 3 months. All subjects responded to 73-item online questionnaire measuring romantic relationship quality, academic motivation and romantic partner supports. Path analysis result showed that romantic relationship quality does not have a significant direct effect on three types of academic motivation. However, it has a significant direct effect on the three types of romantic partner supports, which are the mediators in this model. Specifically, it has a significant positive direct effect on nurturant (β = .512; p < .001) and action-facilitating support (β = .509; p < .001) as well as a significant negative direct effect on negative support (β = -.153; p < .001). These mediators significant predict some types of academic motivation. Nurturant (β = .197; p = .021) and negative support (β = .171; p = .004) have a significant positive direct effect on extrinsic motivation. Negative support has a significant negative direct effect on amotivation (β = .145; p = .011). Indirect effect analysis suggested that romantic relationship quality has a significant positive indirect effect on extrinsic motivation with nurturant support (β = .101; p = .024) as a mediator.
Description: โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2016
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57923
Type: Senior Project
Appears in Collections:Psy - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thanatchaporn_po.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.