Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5804
Title: ระบบสารละลายน้ำสองวัฏภาคสำหรับการสกัดแอลคาไลน์โพรทีเอส
Other Titles: An aqueous two-phase system for alkaline protease extraction
Authors: นันทิญา วงษ์มงคล
Advisors: สีรุ้ง ปรีชานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: seeroong.p@chula.ac.th
Subjects: การสกัด (เคมี)
อัลคาไลน์โปรติเอส
การแยก (เทคโนโลยี)
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนาระบบสารละลายน้ำสองวัฏภาคที่มีองค์ประกอบของ โพลีเอททิลีนไกลคอล (PEG) กับโพแทสเซียมฟอสเฟตสำหรับการสกัดแอลคาไลน์โพรทีเอส โดยศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการเกิดการแยกวัฏภาค และการสกัดแอลคาไลน์โพรทีเอส ด้วยระบบสารละลายน้ำสองวัฏภาคดังกล่าว ศึกษาการแยกแอลคาไลน์โพรทีเอสจาก Bacillus subtilis NS 99 ในระบบสารละลายน้ำสองวัฏภาคของ PEG ที่มีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 1000 กับโพแทสเซียมฟอสเฟต ที่อุณหภูมิห้อง (30+-2ํC) และความดันบรรยากาศ ซึ่งในวัฏภาคบนจะมี PEG อยู่ในปริมาณมาก ส่วนในวัฏภาคล่างจะมีฟอสเฟตอยู่มาก โดยศึกษาอิทธิพลจากปัจจัยต่างๆ เช่น ค่าความเป็นกรด-ด่างของระบบ (pH) ความเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์และความยาวของเส้นผูก ที่มีต่อลักษณะของแผนภาพวัฏภาคและค่าสัมประสิทธิ์การแยก (K) ในช่วงความเข้มข้นเริ่มต้นของ PEG1000 เท่ากับ 5-70% (w/w), ที่ pH4 ค่าคือ 7.5, 8.5, 9.5 และ 10.5 และความเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์ที่ 0, 4, 7 และ 10% (w/w) พบว่า pH มีผลน้อยมากหรือไม่มีผลต่อการแยกวัฏภาค ในขณะที่การเพิ่มความเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์ จะไปลดความเข้มข้นของ PEG1000 และ/หรือ โพแทสเซียมฟอสเฟตที่ต้องการใช้ในการเกิดการแยกวัฏภาค ส่วนค่า K ของแอลคาไลน์โพรทีเอสพบว่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่ม pH แต่จะลดลงเมื่อเพิ่มความยาวของเส้นผูก และความเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์ ภาวะที่เหมาะสมที่สุดต่อการสกัดแอลคาไลน์โพรทีเอส ในช่วงที่ทดลองนี้คือ ระบบที่ประกอบด้วย PEG1000 18.00% (w/w) โพแทสเซียมฟอสเฟต 13.01% (w/w) และโซเดียมคลอไรด์ 0% (w/w) ที่ pH 9.5 อุณหภูมิห้อง (30+-2ํC) และความดันบรรยากาศ ซึ่งให้ค่า K เท่ากับ 20.0 และให้ค่าเปอร์เซ็นต์ผลได้เท่ากับ 95.1
Other Abstract: To develop a polyethylene glycol (PEG)-potassium phosphate aqueous two-phase system for extraction of a alkaline protease and the determine suitable conditions for phase forming and alkaline protease extraction by aqueous two-phase system. The partitioning of an alkaline protease from Bacillus subtilis NS 99 in aqueous two-phase systems of polyethylene glycol with MW 1000 Da and potassium phosphate salts was examined at ambient temperature (30+-2ํC) and atmospheric pressure. The top phase was rich in PEG while the bottom phase was rich in phosphate. Factors such as pH, concentration of sodium chloride (NaCl) and tie-line length were found to influence phase diagram and partition coefficient (K) in range of initial concentration of PEG1000, 5-70% (w/w); pH at 7.5, 8.5, 9.5 and 10.5, and NaCl concentration at 0, 4, 7 and 10% (w/w). In the forming of aqueous two-phase, pH was found to have very slight or almost no effect. In contrast, increase in NaCl concentration was discovered to reduce PEG and/or potassium phosphate concentrations used in phase formation. The alkaline protease partition coefficient was enhanced with increasing pH but decreased with increasing tie-line length and concentration of NaCl. The suitable conditions found for alkaline protease extraction were 18.00% (w/w) PEG1000, 13.01% (w/w) potassium phosphate and 0% (w/w) NaCl at pH 9.5, ambient temperature (30+-2ํC) and atmospheric pressure which gave the K value of 20.0 and percent yield of 95.1.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5804
ISBN: 9741309597
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuntiya.pdf3.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.