Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58085
Title: | การพัฒนากระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงด้านความมั่นคงทางอาหารในชุมชนเกษตร |
Other Titles: | DEVELOPMENT OF A LEARNING PROCESS TO PROMOTE CHANGES ON FOOD SECURITY IN AGRICULTURAL COMMUNITIES |
Authors: | พรรณภัทร ปลั่งศรีเจริญสุข |
Advisors: | วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา ชิดชงค์ ส.นันทนาเนตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Wirathep.P@Chula.ac.th,wirathep.p@chula.ac.th chin@su.ac.th |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษากระบวนการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชนต้นแบบ 2. พัฒนากระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงด้านความมั่นคงทางอาหารในชุมชนเกษตร 3.ศึกษาผลของการประยุกต์ใช้กระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงด้านความมั่นคงทางอาหารในชุมชนเกษตรที่พัฒนาขึ้น 4. นำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงด้านความมั่นคงทางอาหารในชุมชนเกษตร วิธีการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น การศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก 3 ชุมชน และ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ 1 ชุมชน ผลการศึกษาพบว่า 1. กระบวนการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชนต้นแบบ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 รับรู้และตระหนักถึงสถานการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร ขั้นที่ 2 ทบทวนสถานการณ์ วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา กำหนดเป้าหมายร่วมกัน ขั้นที่ 3 แสวงหาแนวทางแก้ไขและกำหนดแนวปฏิบัติร่วมกัน ขั้นที่ 4 ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด ขั้นที่ 5 ติดตาม ประเมินผล สรุปบทเรียน และบูรณการเข้าสู่วิถีชีวิต 2. กระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงด้านความมั่นคงทางอาหารในชุมชนเกษตร ประกอบด้วย 5 ระยะ 12 ขั้นตอน ได้แก่ ระยะที่ 1 กระตุ้นการรับรู้สถานการณ์ปัญหา ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่ (1) สร้างความเข้าใจในสถานการณ์และแนวคิดความมั่นคงทางอาหาร (2) วิเคราะห์และประเมินความต้องการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ ระยะที่ 2 ทบทวน วิเคราะห์สถานการณ์ และกำหนดเป้าหมายร่วมกัน ประกอบด้วย 3 ขั้น ได้แก่ (1) ทบทวนสถานการณ์และสาเหตุความไม่มั่นคงทางอาหารร่วมกัน (2) วิเคราะห์วิธีการจัดการกับความไม่มั่นคงทางอาหารที่ผ่านมา (3) กำหนดเป้าหมาย ประเด็นที่ต้องการแก้ปัญหา/พัฒนาร่วมกัน ระยะที่ 3 แสวงหาทางเลือกและวางแนวทางปฏิบัติ ประกอบด้วย 2 ขั้น ได้แก่ (1) สำรวจทางเลือกที่เป็นไปได้ (2) วางแผนปฏิบัติ รายบุคคล ครัวเรือน กลุ่ม ชุมชน ระยะที่ 4 ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด ประกอบด้วย 2 ขั้น ได้แก่ (1) ปฏิบัติตามแผน (2) แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการปฏิบัติร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ระยะที่ 5 สรุปบทเรียนและบูรณาการเข้าสู่วิถีชีวิต ประกอบด้วย 3 ขั้น ได้แก่ (1) ติดตามและประเมินผลการดำเนินตามแผน (2) ทบทวนและประเมินสิ่งที่ได้เรียนรู้ (3) ประเมินแนวคิดและแนวปฏิบัติใหม่เข้าสู่วิถีชีวิต กระบวนการดังกล่าวมีวิธีการเรียนรู้ที่สำคัญ ดังนี้ (1) วิธีการส่งเสริมให้สมาชิกกลุ่ม/ชุมชนได้แลกเปลี่ยน ปฏิสัมพันธ์ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง (2) วิธีการส่งเสริมให้สมาชิกกลุ่ม/ชุมชนได้เรียนรู้จากทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มและมีการปฏิบัติเป็นประจำ จนเกิดทักษะขึ้น (3) วิธีการที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับการดำเนินชีวิตของสมาชิกในชุมชน และ (4) วิธีการที่ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนสะท้อนความคิด ความรู้ ความรู้ระหว่างสมาชิกกลุ่ม/ชุมชนอย่างต่อเนื่อง 3. การประยุกต์ใช้กระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงด้านความมั่นคงทางอาหารในชุมชนเกษตรที่พัฒนาขึ้น พบว่า กระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ทำให้สมาชิกในชุมชน รู้จักตนเอง มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ข้อมูลใหม่ ๆ สามารถเลือกรับปรับใช้ข้อมูล สามารถวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้น และประเมินตนเองเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านความมั่นคงทางอาหาร สำหรับผลที่เกิดจากการเรียนรู้พบว่า เกษตรกรกลุ่มทดลองมีความเข้าใจแนวคิดความมั่นคงทางอาหาร รับรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงด้านความมั่นคงทางอาหารสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงวิธีคิด มีการจัดทำแผนและปฏิบัติการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชน ข้อเสนอแนะต่อการนำกระบวนการเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ด้านความมั่นคงทางอาหารของชุมชนเกษตรไปใช้ ควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ แบ่งเป็น ปัจจัยภายในบุคคล ประกอบด้วย ประสบการณ์ชีวิตของผู้สนใจ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สนใจกับสมาชิกในครอบครัว บทบาทในครอบครัวและในชุมชน ฐานะทางเศรษฐกิจ สถานะความมั่นคงทางอาหาร และปัจจัยภายนอกบุคคล ประกอบด้วย ผู้นำ/ผู้จัดประสบการณ์เรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ เครือข่ายสนับสนุน แหล่งเรียนรู้ และนโยบายรัฐ 4. ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงด้านความมั่นคงทางอาหารในชุมชนเกษตร จำนวน 3 ข้อ ได้แก่ 1) การส่งเสริมและสนับสนุนสมาชิกในชุมชนได้เรียนรู้และนำไปสู่การกำหนดแนวทางเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครอบครัวและชุมชนอย่างต่อเนื่อง 2) การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงและกลุ่มปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงด้านความมั่นคงทางอาหารในชุมชนเกษตรอย่างต่อเนื่อง 3) การสร้างกลไกความร่วมมือที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่ความมั่นคงทางอาหารของชุมชน |
Other Abstract: | This research aims to: 1) study a learning process to promote changes on food security of communities’ model; 2) develop a promoting process to enhance learning to change on food security in agricultural communities; 3) study the result in applying the learning process to promote changes on food security in agricultural communities; and 4) present the proposed policies for promoting the learning to change the food security in the agricultural community. The research methodologies are included in documentary study and key informant interview in 3 communities and the action research in 1 community. The findings were as follows; 1. The learning process to promote changes on food security of communities’ model: there are 5 steps which are Step 1: Recognizing and realizing the incident affecting the food security; Step 2: Reviewing the incident, analyzing the cause of problem, jointly determining the target; Step 3: Seeking for the solution and deciding common practices; Step 4: Following specified guideline; and Step 5: Following up, evaluating, summarizing lessons and integrating them into way of life. 2. The promoting process to enhance learning to change on food security in agricultural communities has consisted of 5 phases and 12 steps which are Phase 1: Encourage awareness of food security concept and situations, consisting of 2 steps which are (1) acknowledging the situation and understanding the food security and (2) being unsatisfied and requiring the change; Phase 2: Reviewing and analyzing the situation and determining target, consisting of 3 steps which are (1) jointly reviewing the situation and the cause of food instability, (2) analyzing previous management method solving food instability and (3) determining the target and issues to be solved/developed; Phase 3: Seeking for the alternatives and planning practices, containing of 2 steps which are (1) surveying possible alternatives, (2) planning practical guidelines for individual, household, group and community; Phase 4: Following specified guideline, covering 2 steps which are (1) following the plan and (2) exchanging knowledge occurred by ongoing joint practices; Phase 5: Summarizing lessons and integrating them into way of life, consisting of 3 steps which are (1) following up and evaluating the result of practices according to the plan, (2) reviewing and evaluating what to be learnt and (3) accepting and applying new concepts and practices to way of life. The process has the following important learning methods: (1) the method to promote group/community members to continuously exchange and interrelate, (2) the method to promote group/community members to learn from group co-working and regular practices for obtaining skills, (3) the method consistent to and connecting to the living of community members and (4) the method promoting the continuous exchange of ideas opinions and knowledge among group/community members; 3. The application of the promoting process to enhance learning to change on food security in agricultural community shows its result as follows: the learning process to promote changes on food security in agricultural communities are included of self-awareness, readiness to learn new information, acceptance and application of new information, analysis of the results, self-evaluation; result of change expresses community members understood the concept of food security, acknowledging that the change of food security relates to the change of thinking method, they arranged the plan and practices for promoting the food security in the community; The internal factors that should be considered are as follows; relationships between interested parties and family members, family’ and community’ role and economic status, food security status; The external factors include the leader/experiential learning experience, learning activities, network, learning resources and policies. 4. The proposed policy for promoting learning to change on food security in the agricultural community contains 3 parts as follows: 1) To encourage villagers to learn and lead to a consistent approach to food security continuously at the family and community level.; 2) To develop change agents and working groups to promote the learning to change on food security in the agricultural community continuously, and 3) To create the mechanism of cooperation promoting the learning and the change in order to achieve food security in the community. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58085 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.246 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.246 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5484227827.pdf | 4.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.