Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58118
Title: รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในสถานประกอบการด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติและการสื่อสารโน้มน้าวใจผ่านคอมพิวเตอร์สนับสนุนการทำงานร่วมกันเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรภายในองค์กรเอกชน
Other Titles: WORKPLACE LEARNING MANAGEMENT MODEL THROUGH ACTION LEARNING AND PERSUASIVE COMMUNICATION VIA COMPUTER SUPPORTED COOPERATIVE WORK TO ENHANCE TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP FOR PERSONNELS IN PRIVATE ORGANIZATIONS
Authors: นลินี คลังทอง
Advisors: พรสุข ตันตระรุ่งโรจน์
ใจทิพย์ ณ สงขลา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pornsook.T@Chula.ac.th,ptantrar@gmail.com,ptantrar@gmail.com
Jaitip.N@Chula.ac.th,jaitipn@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในสถานประกอบการด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติและการสื่อสารโน้มน้าวใจผ่านคอมพิวเตอร์สนับสนุนการทำงานร่วมกันเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรภายในองค์กรเอกชน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรจากบริษัทเอกชนขนาดกลาง จำนวน 16 คน เข้ารับการเรียนรู้ตามแผนการของการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น รวมจำนวน 50 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยค่า t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ในสถานประกอบการ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ 2) ปัญหาภายในองค์กร 3) ผู้เข้ารับการเรียนรู้ (กลุ่ม) 4) ผู้สนับสนุนการเรียนรู้ 5) เทคโนโลยีและระบบคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์สนับสนุนการทำงานร่วมกัน) และ 6) การประเมินผลการเรียนรู้ 2. ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ในสถานประกอบการประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อมและการปฐมนิเทศ 2) การกำหนดปัญหาขององค์กร 3) การซักถามและการสะท้อนคิด 4) การวางแผนแนวทางแก้ไขปัญหาองค์กร 5) การลงมือแก้ไขปัญหาขององค์กร และ 6) การประเมินผล 3. ผลการทดลองการใช้รูปแบบพบว่าบุคลากรภายในองค์กรเอกชนที่เข้ารับการเรียนรู้มีคะแนนด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงหลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเข้ารับการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to develop workplace learning management model through action learning and persuasive communication via computer supported cooperative work to enhance transformational leadership for personnels in private organizations. The samples were 16 employees from the middle size private organization and participated in 50 days learning program. The research instruments were pre and posttest on the transformational leadership. The research findings showed that: 1. The learning management model consisted of six components 1) Learning Objectives 2) Organizational Problems 3) Learners (Group) 4) Facilitator 5) Technology: Computer Supported Cooperative Work and 6) Evaluation. 2. The process of the learning model consisted of six steps 1) Preparation and Orientation 2) Identifying Organizational Problems 3) Questions and Reflection 4) Planning for Solutions 5) Practicing Solutions and 6) Evaluation. 3. The research participants had a significantly higher increase in the Transformational Leadership posttest scores than the pretest scores at .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58118
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.49
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.49
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584464227.pdf9.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.