Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58158
Title: ลัทธิพิธีบูชาพระพรหมในสังคมไทยร่วมสมัย : พลวัตของตำนาน ความเชื่อ และพิธีกรรม
Other Titles: Brahma cult in contemporary Thai society : dynamic of myth, belief and ritual
Authors: อภิวัฒน์ สุธรรมดี
Advisors: ปรมินท์ จารุวร
สุกัญญา สุจฉายา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Poramin.J@Chula.ac.th,poramin_jaruworn@yahoo.com
Sukanya.Suj@Chula.ac.th
Subjects: พระพรหม
ศรัทธา
พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม
Brahma (Hindu deity)
Faith
Rites and ceremonies
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลัทธิพิธีบูชาพระพรหมและการประดิษฐ์สร้างลัทธิพิธีบูชาพระพรหมในสังคมไทยร่วมสมัย ผู้วิจัยเก็บข้อมูลภาคสนามในช่วง พ.ศ.2556-2560 ในพื้นที่ที่ปรากฏลัทธิพิธีบูชาพระพรหม ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สิงห์บุรี ร้อยเอ็ด และประจวบคีรีขันธ์ ผลการศึกษาพบว่า ความเชื่อพระพรหมดำรงอยู่ในวัฒนธรรมไทยมายาวนาน ตำนานเรื่องเล่าพระพรหมในสังคมไทยส่วนใหญ่อิงอยู่กับศาสนาพุทธ มีลักษณะที่ปรากฏอยู่แต่ไม่โดดเด่น คือ เป็นเทวดาชั้นสูงแต่มีบทบาทเป็นรองพระพุทธเจ้าและเกี่ยวข้องกับเรื่องทางธรรม เมื่อ พ.ศ.2499 กลุ่มนักการเมืองได้นำรากความเชื่อพระพรหมมาปรุงแต่ง แล้วสร้างเป็นพระพรหมเอราวัณ เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ของพระพรหมเอราวัณเล่ากันอย่างแพร่หลายในสื่อสมัยใหม่ เกิดเป็นความนิยมบูชาพระพรหมขึ้นในสังคมเมืองแล้วกลายเป็นลัทธิพิธีบูชาพระพรหมทำให้ “พระพรหม” ซึ่งเป็นเทพเจ้าชั้นสูงที่มีบทบาทอยู่แต่ในศาสนาลงมาเกี่ยวข้องกับมนุษย์ในเรื่องทางโลกมากขึ้น ลัทธิพิธีนี้ได้แพร่กระจายไปยังภูมิภาค แต่ละที่ได้ประดิษฐ์สร้างพิธีบูชาพระพรหมขึ้น พิธีบูชาพระพรหมที่จัดขึ้นมีองค์ประกอบแตกต่างกันเพราะมี ‘ที่มา’ ต่างกัน สัญลักษณ์ในพิธีกรรมปรากฏอย่างหลากหลาย ทำให้ลัทธิพิธีบูชาพระพรหมเกิดความสมจริง และสร้างความศรัทธาจากผู้เคารพบูชา นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์ชุดอื่น ๆ อันแสดงถึงการผนวกรวมความเชื่อต่าง ๆ ในวัฒนธรรมไทย ซึ่งสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของผู้จัดงาน สัญลักษณ์ในลัทธิพิธีบูชา พระพรหมสื่อว่าพระพรหมเป็นตัวแทนความดีงามและเป็นตัวแทนคนในวัฒนธรรมเมือง อีกทั้งยังสะท้อนการผสมผสานลัทธิความเชื่อต่าง ๆ ในวัฒนธรรมไทยเพื่อให้คนเมืองมี “จุดร่วม” ทางความเชื่อ ลัทธิพิธีบูชาพระพรหมมีพลวัตทั้งด้านตำนานเรื่องเล่า ความเชื่อ และพิธีกรรม คุณสมบัติที่หลากหลาย ภาพลักษณ์ที่สื่อด้านดี ทำให้คนร่วมสมัยนำความเชื่อพระพรหมมาปรุงแต่งเพื่อรับใช้สังคมปัจจุบัน ลัทธิพิธีบูชาพระพรหมเป็น‘ลัทธิคนในวัฒนธรรมเมือง’ เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองคนเมืองซึ่งมีวิถีชีวิตและความปรารถนาอันซับซ้อน ลัทธิพิธีนี้เป็นทุนวัฒนธรรมที่นำมาสร้างจุดขายและส่งออกไปสู่สากลได้
Other Abstract: The objectives of this thesis were to investigate the legend of Brahma worship, and the creation of Brahma worship ceremonies in contemporary Thai society. Data was gathered during the years 2013-2017, in the areas where such ceremonies occur, that is: Bangkok, Pathumthani, Singburi, Roi-et and Prachuabkhirikhan. The results show that belief in Brahma has existed in Thai culture for a long time. To a large extent, Brahma worship in Thai society is based in Buddhism. Some characteristcs show through but not prominently. For instance, there is a lofty spirit, but its role is to support the Buddha, and to influence moral and ethical affairs. In 1958, a group of politicians introduced the roots of Brahman belief, embellished them to take on a deeper meaning and built Brahman Erawan shrine. They published the sacred account of Brahma Erawan widely through modern media, resulting in the popularizing of Brahma worship among urban people. Over time, it became a Brahman worship ceremony, making “Brahma” an elevated spirit with a lofty role but in religion, he became more involved with the worldly affairs of mankind. The cult spread, and the ceremony in each locality consists of different elements because of their differing genesis. There are many ceremonial symbols, which call forth sincerity and belief from the worshippers. There is also another set of symbols which serve to further reinforce beliefs in Thai tradition and Brahma worship, but these all differ across the localities, depending on the objectives of the organizers. Symbols in the ceremony indicate that Brahma represents virtue, and represents the people in urban culture. They also reflect the blending together of many beliefs within Thai tradition, so that urban people may have a common point of faith. The power of the Brahman worship ceremony lies in the story itself, the belief, the ritual, the broad scope of qualities and images denoting goodness. These all allow the participants trusting in Brahma to embellish the meaning in order to serve present-day society. The Brahma worship cult is an “ideology for urban tradition”. It has arisen as a response by urban people having a complex lifestyle and intricate wishes. This cult is cultural capital introduced to build a unique brand for sale and export.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58158
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1157
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1157
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5680518922.pdf15.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.