Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5826
Title: | การออกแบบระบบป้ายสัญลักษณ์สำหรับเด็กไทย โดยอาศัยทฤษฎีการเชื่อมโยงมโนภาพ |
Other Titles: | Signage system design for Thai children by using "the relation of ideas" theory |
Authors: | ถิรา วีรกุล |
Advisors: | เอื้อเอ็นดู ดิศกุล ณ อยุธยา พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ป้ายสัญลักษณ์ พัฒนาการของเด็ก ความคิดรวบยอด |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ระบบป้ายสัญลักษณ์ในประเทศไทย ปัจจุบันถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการชี้นำทาง ตามความต้องการของคนส่วนใหญ่ แต่สถานที่บางแห่งซึ่งเป็นที่สำหรับเด็ก ก็ยังคงใช้ระบบป้ายสัญลักษณ์ ที่ใช้สื่อความหมายภาพสัญลักษณ์แบบเดียวกัน ซึ่งส่งผลต่อความเข้าใจความหมายของเด็ก และยังส่งผลต่อพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กอีกด้วย เป้าหมายของงานวิจัยนี้ก็เพื่อหาแนวทางการออกแบบ ระบบป้ายสัญลักษณ์สำหรับเด็กไทยที่มีประสิทธิภาพเหมาะสม และได้มาตรฐานสากล โดยอาศัยทฤษฎีการเชื่อมโยงมโนภาพ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยหลักความคิดและมโนภาพของมนุษย์ ในการวิจัย ป้ายสัญญลักษณ์ 4 ประเภทหลักที่นำมาใช้ในงานวิจัยคือ ป้ายที่ใช้ในการให้บริการสาธารณะ ป้ายที่ใช้ในการให้บริการธุรกิจ ป้ายบอกกิจกรรมที่มีขั้นตอน และกฎระเบียบ ในป้ายสัญลักษณ์ 4 ประเภทข้างต้น งานวิจัยนี้เลือกสรรเฉพาะป้ายสัญญลักษณ์ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการใช้งานของเด็กจำนวน 21 ภาพ ซึ่งผ่านการคัดเลือกจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเด็ก 2 ท่าน แล้วนำมาตีความตามทฤษฎีการเชื่อมโยงภาพ เพื่อใช้เป็นแนวทางการสื่อความหมายด้วยภาพลักษณ์แต่ละประเภท จากนั้นจึงให้ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบป้ายสัญญลักษณ์ ตรวจสอบ นำผลจากการนี้ไปสร้างขึ้นเป็นแบบทดสอบ แล้วทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ราย เพื่อหาภาพลักษณ์ที่กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าใจได้และสื่อสารได้ ผลการวิจัยอาจสรุปได้ว่าขึ้นอยู่กับแต่ละหัวข้อภาพสัญลักษณ์ การสื่อความหมายแบบคล้ายคลึงกันที่มีกิริยาอาการประกอบ สามารถสื่อสารกับเด็กได้มากที่สุด อีกทั้งพบว่าปัจจัยทางเพศไม่มีผลต่ความเข้าใจในสัญลักษณ์ภาพ แต่พบว่าปัจจัยอายุมีผลต่อความเข้าใจในการสื่อความหมายรูปแบบต่างๆ ตามทฤษฎีการเชื่อมโยงมโนภาพในบางหัวข้อของภาพลักษณ์ เด็กอายุ 6-8 ปี เข้าใจลักษณะภาพที่แสดงกริยาอาการและรายละเอียดมากกว่าเด็กอายุ 9-12 ปี แนวทางการออกแบบเป้าหมายสัญญลักษณ์สำหรับเด็กไทย จึงควรใช้การสื่อความหมายคล้ายคลึงแบบมีกิริยาอาการประกอบ และควรใช้ภาพลายเส้นอย่างง่ายที่มีรายละเอียดน้อย เส้นต้องหนา ตรง และชัด การใช้ขนาดของภาพควรเป็น 3 ใน 4 การใช้สีควรเป็นสีที่สดใส ประเภทสีโทนร้อน ต้องไม่เลอะเทอะจนเกินไป และควรเน้นให้ภาพมีความเด่นชัด |
Other Abstract: | Existing signage in Thailand was created for the adults need of direction in public places. Signage designs in some places intended specifically for children, made use of the techique as for the adults. This use could affect child understanding and learning development. The purpose of this research is to find a guideline for effective signage design for Thai children and to establish a design standard by using "the relation of ideas" theory, which precribes the relationship between ideas and human reflection. Four main types of the signage designs were selected for this purpose which included public service, concession processing, activities and regulations. For those four signage designs, twenty-one pictures related to children's usage were selected. These pictures were screened by two child psychologists. Screened picture were then, interpreted in accordance with the relation of idea theory. The results were validated by the psychologists and the signage design specialists before building into test questions. Resulted test question later applied to 400 samples to detemine which is the most effective pucture for communicating the idea to the target group. Research results indicated that, depending on each type of signage, a communication by resemblance with posture signage was the most effective system for children, and gender did not effect child understanding. Futuremore, insome signage type, age did affact child understand posture signage and signs with more details better than 9-12 year old children. The research recommended that signage system design for Thai children should use design communication by resemblance with poster signae, bold straight and clear line, large icon and bright color such as warm tone. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นฤมิตศิลป์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5826 |
ISBN: | 9741733968 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.