Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58268
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุรสา โค้งประเสริฐ | - |
dc.contributor.advisor | วิชิต คนึงสุขเกษม | - |
dc.contributor.author | ธรรมรัตน์ กกสูงเนิน | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | - |
dc.date.accessioned | 2018-04-11T01:35:07Z | - |
dc.date.available | 2018-04-11T01:35:07Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58268 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเต้นรำบำบัดที่มีต่อคุณภาพชีวิตและสุขสมรรถนะของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังการผ่าตัด โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครเพศหญิงที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมและได้รับการผ่าตัดเรียบร้อยแล้วและสิ้นสุดกระบวนการให้เคมีบำบัด เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไปแต่ไม่เกิน 2 ปี อายุระหว่าง 30-70 ปี ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จำนวน 36 คนแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมเต้นรำบำบัดจำนวน 18 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมเต้นรำบำบัดจำนวน 18 คน โดยกลุ่มทดลองจะเข้าร่วมโปรแกรมการเต้นรำบำบัดครั้งละ 60 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยดำเนินการเก็บข้อมูลทางด้านสุขสมรรถนะก่อนการทดลองและหลังการทดลอง และนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t-test) ภายในกลุ่มและทดสอบค่าทีแบบเป็นอิสระต่อกัน (Independent t-test) ระหว่างกลุ่ม โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมการเต้นรำบำบัดมีค่าเฉลี่ยของคุณภาพชีวิตดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลทางด้านสุขสมรรถนะพบว่ากลุ่มทดลองที่เข้าร่วมการเต้นรำบำบัดมีค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าเฉลี่ยของความอ่อนตัว แรงบีบมือ ความอดทนของกล้ามเนื้อต้นขาและสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่ากลุ่มที่เข้าร่วมการเต้นรำบำบัดมีเปอร์เซ็นต์ไขมัน ความอดทนของกล้ามเนื้อต้นขา และสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมการเต้นรำบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การเต้นรำบำบัดมีผลช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย จิตใจ คุณภาพชีวิตโดยรวม สุขสมรรถนะด้านเปอร์เซ็นต์ไขมัน ความอดทนของกล้ามเนื้อต้นขา และการทดสอบการเดิน 6 นาทีในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังการผ่าตัด | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to determine the effects of dance therapy on quality of life and health-related physical fitness in breast cancer patients after surgery. Subjects of 36 voluntary female breast cancer patients were recruited from Chulalongkorn hospital after surgery more than 3 months but less than 2 years, aged between 30-70 years old. The subjects were divided into 2 groups by purposively sampling: 18 subjects in the experimental group and 18 subjects in the control group. The subjects in the experimental group participated in the dance therapy program for 60 minutes, 3 times a week for 8 weeks. The results were analyzed statistically for mean, standard deviation paired t-test within the group and independent t-test between groups to determine the significance level at .05. After 8 weeks, the experimental group showed statistically significant increased in quality of life than the control group (p < .05). Regarding health-related physical fitness, the experimental group showed statistically significant decreased in percent body fat and increased in flexibility, muscle strength, muscle endurance and cardiorespiratory endurance (p < .05). It also showed that after 8 weeks, the experimental group showed statistically significant lower percent body fat and significant higher muscle endurance and cardiorespiratory endurance than the control group (p < .05). Conclusion: Dance could lead to improvement in quality of life that physical health, mental, overall quality of life and health-related physical fitness that fat percentage, thigh muscle endurance and 6-minute walk test in breast cancer patients after surgery. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.801 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | ผลของการเต้นรำบำบัดที่มีต่อคุณภาพชีวิตและสุขสมรรถนะของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังการผ่าตัด | - |
dc.title.alternative | EFFECTS OF DANCE THERAPY ON QUALITY OF LIFE AND HEALTH-RELATED PHYSICAL FITNESS IN BREAST CANCER PATIENTS AFTER SURGERY | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์การกีฬา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Surasa.K@chula.ac.th,surasa.chula@gmail.com | - |
dc.email.advisor | Vijit.Ka@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.801 | - |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5778313439.pdf | 12.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.