Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58419
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรสา โค้งประเสริฐ-
dc.contributor.authorทัศน์ธิตา ตาลงามดี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2018-04-11T01:41:38Z-
dc.date.available2018-04-11T01:41:38Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58419-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายแบบวงจรที่มีต่อการทรงตัว คุณภาพชีวิต และภาวะกลัวการล้มของผู้สูงอายุ วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือกลุ่มอาสาสมัครที่มีสุขภาพแข็งแรง ที่ตำหนักพระแม่กวนอิม โชคชัย 4 ที่มีอายุตั้งแต่ 60-79 ปี เพศหญิง จำนวน 36 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 18 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 18 คน โดยการจับคู่ค่าคะแนนการทดสอบความสามารถในการทำกิจกรรม 14 อย่าง กลุ่มทดลองทำการฝึกออกกำลังกายแบบวงจร ซึ่งประกอบด้วย 8 สถานี ออกกำลังกาย 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมให้ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ โดยทำการทดสอบการทรงตัว แบบสอบถามวัดคุณภาพชีวิต และแบบสอบถามวัดภาวะกลัวการล้ม เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลองโดยทดสอบค่าทีแบบรายคู่ และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า: 1. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มทดลองที่ทำการฝึกออกกำลังกายแบบวงจรมีดัชนีการเซ เวลาในการทดสอบลุกยืนและเดินไปกลับ 3 เมตร และคะแนนภาวะกลัวการล้ม ลดลงเมื่อเทียบกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนั้นยังมีเวลาในการทดสอบยืนขาเดียว คะแนนการทดสอบความสามารถในการทำกิจกรรม 14 อย่าง และคะแนนคุณภาพชีวิต เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มควบคุมไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ 2. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มทดลองที่ทำการฝึกออกกำลังกายแบบวงจรมีดัชนีการเซ เวลาในการทดสอบลุกยืนและเดินไปกลับ 3 เมตร และคะแนนภาวะกลัวการล้มลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนั้นยังมีเวลาในการทดสอบยืนขาเดียว และคะแนนการทดสอบความสามารถในการทำกิจกรรม 14 อย่าง เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย โปรแกรมการฝึกออกกำลังกายแบบวงจรช่วยพัฒนาการทรงตัว คุณภาพชีวิต และภาวะกลัวการล้มของผู้สูงอายุได้-
dc.description.abstractalternativePurpose: The purpose of this study was to examine the effects of circuit training program on balance, quality of life and fear of falling in the elderly. Methods: Thirty six voluntary females from Kuan-Im Bodhisattva’s Hall Chokchai 4, ranging of ages between 60-79 years old. They were divided by matching Berg Balance Scale into two groups including 18 females in a circuit training group and 18 females in a control group. Eighteen subjects in the circuit training group practicing circuit training program which was consisted of 8 stations, 3 times a week for 8 weeks, whereas 18 subjects in the control group did not participate in the training program. Subjects from both groups were measured balance, quality of life questionnaire and fear of falling questionnaire before and after 8 weeks of the study. Data were analyzed using paired t-test and independent t-test. Statistical significance was set at p < 0.05. Results: 1. After 8 weeks of training, Sway Index, Timed Up and Go and fear of falling score in the circuit training group were significantly decreased (p<0.05) when compared with pre-test. Moreover, Timed single leg stance, Berg Balance Score and quality of life score were significantly increased (p<0.05) when compared with pre-test. 2. After 8 weeks of training, Sway Index, Timed Up and Go and fear of falling score in the circuit training group were significantly decreased (p<0.05) when compared with control group. Moreover, Timed single leg stance and Berg Balance Score were significantly increased (p<0.05) when compared with control group. Conclusion: These results suggest that circuit training program in this study could improve balance, quality of life and fear of falling in the elderly.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.803-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleผลของโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายแบบวงจรที่มีต่อการทรงตัวและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ-
dc.title.alternativeEFFECTS OF CIRCUIT TRAINING PROGRAM ON BALANCE AND QUALITY OF LIFE IN THE ELDERLY-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSurasa.K@chula.ac.th,Surasa.K@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.803-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5878423939.pdf11.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.