Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58600
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระศักดิ์ ลิขิตเรืองศิลป์-
dc.contributor.authorสุดารัตน์ ชูถม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-04-29T14:14:05Z-
dc.date.available2018-04-29T14:14:05Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58600-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractการก่อสร้างอุโมงค์เป็นโครงการทางวิศวกรรมขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนและมีต้นทุนค่าก่อสร้างสูง โครงการประเภทนี้มีปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องหลายประการซึ่งแตกต่างจากการก่อสร้างทั่วไปบนดิน การจัดการความเสี่ยงอย่างได้ผลจึงจำเป็นต้องเริ่มจากการระบุปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในโครงการและจัดสรรปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นให้แก่คู่สัญญาทุกฝ่ายอย่างเหมาะสม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การจัดสรรความเสี่ยงซึ่งปรากฏในสัญญาจ้างก่อสร้างอุโมงค์ที่ใช้เครื่องขุดเจาะวิธีสมดุลแรงดันดิน พร้อมทั้งเสนอแนวทางการจัดสรรความเสี่ยงและแนวทางการปรับปรุงเนื้อหาสัญญาสำหรับโครงการในอนาคต จากการทบทวนเอกสารงานวิจัยและการสัมภาษณ์วิศวกรผู้มีประสบการณ์ จำนวน 9 ท่านทำให้สามารถระบุปัจจัยเสี่ยงได้ทั้งสิ้น 34 ปัจจัยเสี่ยง ซึ่งจำแนกออกได้เป็น 7 กลุ่ม การวิเคราะห์การจัดสรรปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้อาศัยการศึกษาสัญญาจ้างก่อสร้างอุโมงค์ของหน่วยงานภาครัฐ 3 หน่วยงาน รวมทั้งสิ้น 5 โครงการ ผลการศึกษาพบว่าข้อสัญญาครอบคลุมปัจจัยที่เสี่ยงที่ระบุในข้างต้นเป็นส่วนมาก ซึ่งปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่ถูกจัดสรรให้แก่ผู้รับจ้าง ในขณะที่บางปัจจัยเสี่ยงถูกสงวนไว้สำหรับผู้ว่าจ้าง และบางปัจจัยเสี่ยงถูกกำหนดให้ร่วมกันรับผิดระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง ผลการวิเคราะห์ข้างต้น ได้ถูกนำไปผนวกกับข้อเสนอการแบ่งความเสี่ยงในสัญญาจ้างก่อสร้างอุโมงค์ของ ITA ข้อสัญญาของ FIDIC และแนวความคิดที่ได้จากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยอื่นๆ เพื่อเสนอแนวทางการจัดสรรความเสี่ยงที่เหมาะสม จากแนวทางดังกล่าวปัจจัยเสี่ยงในงานก่อสร้างอุโมงค์ควรถูกจัดสรรให้แก่ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้าง และร่วมกันรับผิด จำนวน 159 และ 7 ปัจจัยเสี่ยงตามลำดับ และมีปัจจัยเสี่ยงที่ผู้รับผิดชอบควรขึ้นอยู่กับสภาพโครงการ จำนวน 3 ปัจจัยเสี่ยง นอกจากนี้งานวิจัยยังได้นำเสนอแนวทางเพื่อใช้ในการปรับปรุงเนื้อหาสัญญาก่อสร้างอุโมงค์ซึ่งสามารถจำแนกออกได้เป็น 25 ประเด็น ผลการวิจัยช่วยให้คู่สัญญาตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญและข้อจำกัดของการจัดสรรความเสี่ยงในสัญญาจ้างก่อสร้างอุโมงค์ในปัจจุบัน แนวทางการจัดสรรความเสี่ยงและแนวทางการปรับปรุงเนื้อหาสัญญาที่นำเสนอสามารถนำไปใช้ในการจัดเตรียมสัญญาจ้างก่อสร้างอุโมงค์ที่มีการจัดสรรความเสี่ยงระหว่างคู่สัญญาทุกฝ่ายอย่างเหมาะสมในอนาคตen_US
dc.description.abstractalternativeTunnel construction is a large, complex, and expensive engineering project encompassing a variety of risk factors, which are different from those in ground construction. Effective risk management requires identifying crucial risk factors in the project and allocating such risk factors to every contractual party appropriately. The objectives of this research are to analyze risk allocation in construction contracts of tunneling projects using the earth pressure balance tunnel boring machines as well as to propose the guidelines of appropriate risk allocation and of improving tunneling contracts. Based on literature review and interviews with nine experienced engineers, 34 risk factors are identified and classified into seven categories. The allocation of these risk factors is analyzed by investigating the tunneling contracts of five projects owned by three government agencies. It is found that the contract clauses address most of the aforementioned risk factors, a majority of which are allocated to the contractor, some are retained within the employer, and some are shared between the employer and the contractor. The results are then incorporated with the ITA recommendations on contractual sharing of risks, FIDIC contract clauses, and general concepts from literature and research in order to establish a guideline for appropriate tunneling risk allocation. The guideline suggests fifteen, nine, and seven risk factors be allocated to contractor, employer, and both parties, respective; whereas, the allocation of the other three risk factors depends upon project conditions. Moreover, the research proposes 25 important issues considered as a guideline for improving tunneling contracts. The results guide contractual parties to be aware of critical risk factors and the limitation of risk allocation in current tunnel construction contracts. The proposed guideline of appropriate tunneling risk allocation and guideline for improving tunneling contract can be used to prepare tunneling contracts with appropriate risk allocating among the parties involved in the future.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.2045-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการบริหารความเสี่ยงen_US
dc.subjectสัญญาก่อสร้างen_US
dc.subjectอุโมงค์en_US
dc.subjectการก่อสร้าง -- การบริหารความเสี่ยงen_US
dc.subjectRisk managementen_US
dc.subjectConstruction contractsen_US
dc.subjectTunnelsen_US
dc.subjectBuilding -- Risk managementen_US
dc.titleการจัดสรรความเสี่ยงในสัญญาจ้างก่อสร้างอุโมงค์ด้วยเครื่องขุดเจาะen_US
dc.title.alternativeRisk allocation in tunneling contracts using tunnel boring machinesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorVeerasak.L@chula.ac.th,veerasakl@gmail.com,veerasakl@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.2045-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sudarat_ch_front.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
sudarat_ch_ch1.pdf583.58 kBAdobe PDFView/Open
sudarat_ch_ch2.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open
sudarat_ch_ch3.pdf796.89 kBAdobe PDFView/Open
sudarat_ch_ch4.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open
sudarat_ch_ch5.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open
sudarat_ch_ch6.pdf5.7 MBAdobe PDFView/Open
sudarat_ch_ch7.pdf6.58 MBAdobe PDFView/Open
sudarat_ch_ch8.pdf712.89 kBAdobe PDFView/Open
sudarat_ch_back.pdf6.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.