Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5880
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พิมพ์พร อสัมภินพงศ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-02-20T01:29:02Z | - |
dc.date.available | 2008-02-20T01:29:02Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5880 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 62 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 31 คน และกลุ่มควบคุม 31 คน กลุ่มทดลองเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการสอนเป็นกลุ่มที่ช่วยเหลือเป็นรายบุคคลโดยเรียน 15 คาบ คาบละ 50 นาที เป็นระยะเวลา 1 เดือน โดยแบ่งขั้นตอนในการจัดเก็บข้อมูลเป็น 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2. สร้างเครื่องในการวิจัย 3. จัดแบ่งนักเรียนในห้องที่ทำการทดลองตามระดับความสามารถโดยคละหญิง-ชาย กลุ่มละ 4-5 คน 4. ทดลองสอนตามเครื่องมือที่กำหนด โดยทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนและ 5. วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ( Mean ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) F- test และ t – test ผลการวิจัย พบว่า 1. นักเรียนที่เรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและตัวประกอบของจำนวนนับ สูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่เรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือมีความร่วมมือในการทำงานกลุ่มมากกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่เรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือมีเจตคติในด้านความพอใจที่จะเรียน การเพิ่มพูนความรู้นอกเวลาและเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักเรียนที่เรียนแบบปกติมีเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนที่เรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือและนักเรียนที่เรียนแบบปกติ มีเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ไม่แตกต่างกัน | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research is to study effects of using cooperative learning approach in organizing mathematics activity on problem solving ability, working cooperation and attitude towards mathematics of prathom suksa six students. The sample consisted of 62 prathom suksa six students of Chulalongkorn University Demonstration School. They were divided to the experimental group and the control group, comprising of 31 students in each group. The experimental group participated in cooperative learning using team assisted individualization technique for a session of 50 minutes in each period, 15 consecutive periods for a month. The research processes consisted of five steps as follow; 1) reviewing the literature, 2) developing the research instrument, 3) separating the students in the experimental room depending on their ability level, comprising of 4-5 students in each group including both male and female, 4) conducting the instruction followed the specific instrument by using pre-test and post-test, finally, and 5) analyzing the data using Mean, standard deviation (S.D.), F-test and t-test. The results were as follows: The students participated in cooperative learning approach in organizing mathematics activity had the problem solving ability in algebraic and factor of counting number higher than the control group at the .05 level of significance. 1) The students participated in cooperative learning approach had working cooperation higher than the control group at the .05 level of significance. 2)The students participated in cooperative learning approach had working cooperation higher than the control group at the .05 level of significance. 3) The students participated in cooperative learning approach had higher post-test attitude towards the satisfying in the additional learning and attitude towards learning mathematics than pre-test at the .05 level of significance. However, the control group had higher post-test attitude towards learning mathematics than pre-test at the .05 level of significance. 4) There was no significance difference between the students participated in cooperative learning approach and the control group in their attitude towards mathematics. | en |
dc.description.sponsorship | ทุนวิจัยคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2549 | en |
dc.format.extent | 1810943 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | กิจกรรมการเรียนการสอน | en |
dc.subject | การทำงานกลุ่มในการศึกษา | en |
dc.subject | คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) | en |
dc.subject | การเขียนงานกลุ่มในการศึกษา | en |
dc.title | ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา ความร่วมมือในการทำงานกลุ่มและเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 : รายงานการวิจัย | en |
dc.title.alternative | Effects of using cooperative learning approach in organizing mathematics activity on problem solving ability, working cooperation and attitude towards mathematics of prathom suksa six students | en |
dc.type | Technical Report | es |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pimporn.pdf | 1.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.