Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58932
Title: การเตรียมหมึกพิมพ์เฟล็กโซชีวภาพโดยใช้สารยึดพอลิแล็กไทด์สำหรับการพิมพ์กระดาษเหนียว
Other Titles: Preparation of bio flexo-ink using polylactide binder for kraft paper printing
Authors: ธีศิษฎ์ วราภาสกุล
Advisors: สิริวรรณ พัฒนาฤดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Siriwan.Ph@Chula.ac.th
Subjects: กรดโพลิแล็กติก
อุตสาหกรรมน้ำหมึก
กระดาษคราฟต์
Polylactic acid
Ink industry
Kraft paper
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาการเตรียมหมึกพิมพ์เฟล็กโซชีวภาพที่ใช้สารยึดจากพอลิแล็กไทด์สำหรับการพิมพ์กระดาษเหนียว สารยึดพอลิแล็กไทด์ที่เตรียมได้มีขนาดอนุภาคเล็กกว่า 1 ไมโครเมตร การเติมพอลิเอทิลีนไกลคอลในขณะเตรียมอิมัลชัน ทำให้สารยึดมีขนาดอนุภาค ความหนืด และอุณหภูมิสภาพแก้วลดลง ส่งผลให้แผ่นฟิล์มที่ได้มีความเรียบมากขึ้น เมื่อนำสารยึดไปผสมในหมึกพิมพ์ที่ปริมาณสารสีร้อยละ 10, 20 และ 30 พบว่าสมบัติการไหลของหมึกพิมพ์ที่เตรียมได้ทั้ง 3 สูตร เป็นแบบพฤติกรรมแรงเฉือนลด เมื่อใช้ปริมาณของสารสีเพิ่มขึ้น หมึกพิมพ์มีความหนืดและแรงตึงผิวสูงขึ้น โดยหมึกพิมพ์ที่ใช้สารยึดพอลิแล็กไทด์ชนิดเติมพอลิเอทิลีนไกลคอล มีความหนืดและแรงตึงผิวต่ำกว่าหมึกพิมพ์ที่ใช้สารยึดพอลิแล็กไทด์ชนิดไม่เติมพอลิเอทิลีนไกลคอล เมื่อนำหมึกพิมพ์ไปทดสอบพิมพ์และตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์พบว่า เมื่อใช้ปริมาณสารสีสูงขึ้น ค่าความดำ ค่าเม็ดสกรีนบวม และความมันวาว มีค่าเพิ่มขึ้น แต่สมบัติด้านความต้านทานการถอนผิวลดลง และหมึกพิมพ์ที่ใช้สารยึดชนิดเติมพอลิเอทิลีนไกลคอลให้คุณภาพงานพิมพ์ เช่น ค่าความดำ ค่าเม็ดสกรีนบวม คุณภาพเส้น ความสม่ำเสมอ และความมันวาวที่ดีกว่าหมึกพิมพ์ที่ใช้สารยึดชนิดไม่เติมพอลิเอทิลีนไกลคอล แต่มีสมบัติด้านความต้านทานการถอนผิวต่ำกว่า หมึกพิมพ์ที่เตรียมมีสมบัติการทนต่อการขัดถูที่ดีมาก นอกจากนี้ เมื่อนำหมึกพิมพ์ชีวภาพที่ใช้สารยึดชนิดเติมพอลิเอทิลีนไกลคอลร้อยละ 10 ปริมาณสารสีร้อยละ 30 เปรียบเทียบกับหมึกพิมพ์เฟล็กโซทางการค้า พบว่าหมึกพิมพ์เฟล็กโซชีวภาพที่เตรียมได้มีความสม่ำเสมอและความต้านทานต่อการถอนผิวของงานพิมพ์ที่ดี ขณะที่ค่าความดำและความมันวาวของงานพิมพ์ต่ำกว่าหมึกพิมพ์เฟล็กโซทางการค้า ส่วนค่าเม็ดสกรีนบวม และคุณภาพเส้นของงานพิมพ์ มีผลที่ใกล้เคียงกัน
Other Abstract: This study aimed to prepare bio-flexo ink using polylactide binder for kraft paper printing. Particle size of the polylactide binder prepared was smaller than 1 μm. By adding polyethylene glycol during binder preparation, it resulted in a decrease in particle size, viscosity, and Tg of emulsion, which influenced on smoothness of film. Bio-flexo inks containing polylactide binders were prepared at various pigment to binder ratios (10:90, 20:80, and 30:70) and characterized. Viscosity of the inks exhibited a shear-thinning behavior. When the pigment content in the inks was increased, viscosity and surface tension were also enhanced. It was due to more interactions between pigment and binder. The inks containing binder with PEG yielded a lower viscosity and surface tension compared to the inks containing binder without PEG. The printed quality was investigated. The results showed that the pigment content was found to directly correlate to the print density, dot gain and print gloss, while adhesion between ink and paper depended on the content of the binder. The ink with PEG binder clearly dominated in printing quality but gave less adhesion property. The inks prepared also gave very good rub resistance. Quality of the printed paper was compared between the bio-flexo ink prepared at 30:70 of pigment to binder ratio and a commercial ink. It was found that the bio-flexo ink showed better printing quality and picking resistance than the commercial ink, whereas a lower in density and gloss were obtained. The results of dot gain and line quality were similar.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. )--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีทางภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58932
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2016
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.2016
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Teesit Varapaskul.pdf8.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.