Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59105
Title: ผลของไคโทซานต่อประสิทธิภาพการกำจัดหมึกโทนเนอร์ด้วยวิธีการลอยฟองอากาศ
Other Titles: Effects of chitosan on flotation deinking efficiency of toner ink
Authors: ธนพล ว่องวาณิช
Advisors: ณัฐธยาน์ พงศ์สถาบดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Sangobtip.P@Chula.ac.th
Subjects: กระดาษ
ไคโตแซน
หมึกพิมพ์
Paper
Chitosan
Printing ink
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของไคโทซานต่อประสิทธิภาพการกำจัดหมึกโทนเนอร์ด้วยวิธีการลอยฟองอากาศ ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษามี 2 ตัวแปร โดยตัวแปรแรก คือ ชนิดของไคโทซานซึ่งจำแนกโดยใช้น้ำหนักโมเลกุล และมี 3 ระดับดังนี้ คือ ไคโทซานชนิดที่ 1 มีน้ำหนักโมเลกุลประมาณ 32,000 ดอลตัน ไคโทซานชนิดที่ 2 มีน้ำหนักโมเลกุลประมาณ 21,000 ดอลตัน และไคโทซานชนิดที่ 3 มีน้ำหนักโมเลกุลประมาณ 6,500 ดอลตัน ตัวแปรที่สอง คือ ปริมาณไคโทซานที่เติมในขั้นตอนการตีกระจายเยื่อ โดยงานวิจัยนี้จะมีการใช้ปริมาณไคโทซานร้อยละ 0.1 และ 1.0 ของน้ำหนักเยื่อแห้ง จากการทดลองพบว่า น้ำหนักโมเลกุลของไคโทซานที่ใช้ไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อสมบัติเชิงแสงและสมบัติทางกายภาพของแผ่นทดสอบที่ได้จากกรณีหลังการลอยฟองอากาศ (P-value มากกว่า 0.05) ในขณะที่ปริมาณไคโทซานที่เติมลงไปในขั้นตอนการตีกระจายเยื่อแล้วผ่านเข้าสู่กระบวนการลอยฟองอากาศนั้น มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อสมบัติเชิงแสงและสมบัติทางกายภาพของแผ่นทดสอบที่ได้จากกรณีหลังการลอยฟองอากาศ (P-value น้อยกว่า 0.05) ดังนี้คือ ค่าความขาวสว่าง ค่าความทึบแสง ปริมาณหมึกที่เหลืออยู่ และดัชนีความต้านทานแรงฉีก แต่ไม่มีผลกระทบต่อดัชนีความแข็งแรงต่อแรงดึง ดัชนีความแข็งแรงต่อแรงดันทะลุ ค่าสภาพระบายน้ำได้ และค่าความหนาแน่นของแผ่นทดสอบ เมื่อใช้ปริมาณไคโทซานมากขึ้นส่งผลให้ค่าความขาวสว่างลดลง ในขณะที่ค่าความทึบแสงและปริมาณหมึกที่เหลืออยู่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าปริมาณไคโทซานที่มากเกินไปอาจทำให้ประสิทธิภาพการกำจัดหมึกด้วยวิธีการลองฟองอากาศลดลง เนื่องจากทำให้เกิดกลุ่มอนุภาคของหมึกที่มีขนาดใหญ่มากเกินไป นอกจากนี้ยังอาจเป็นไปได้ว่าไคโทซานไปจับกับเส้นใยมากกว่าอนุภาคหมึก เนื่องจากไคโทซานมีความเป็นประจุบวก ในขณะที่เส้นใยมีความเป็นประจุลบ จึงอาจทำให้ไคโทซานเหลือโอกาสในการไปจับอนุภาคหมึกน้อยลง อนุภาคหมึกจึงหลงเหลืออยู่ในเยื่อมาก ในขณะที่การใช้ปริมาณไคโทซานสูงทำให้ดัชนีความต้านทานแรงฉีกเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เป็นเพราะไคโทซานเป็นสารช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กระดาษ
Other Abstract: The objective of this research was to investigate the effects of chitosan on flotation deinking efficiency of toner ink. Two factors studied were studied. The first factor was types of chitosan with three different molecular weights i.e. 1st chitosan with molecular weight of 32,000 Dalton, 2nd chitosan with molecular weight of 6,500 Dalton, and 3rd chitosan with molecular weight of 21,000 Dalton. The second factor was the dosage of chitosan which was 0.1% and 1.0% based on oven dried (O.D.) pulp weight. The experimental results indicated that molecular weight of chitosan had no statistically significant effect on optical and physical properties of handsheets prepared after flotation (P-value was higher than 0.05). However, the dosage of chitosan had a statistically significant effect on brightness, opacity, effective residual ink concentration (ERIC) and tear index (P-value was lower than 0.05) while it had no statistically significant effect on tensile index, burst index, freeness and apparent density. Higher dosage of chitosan resulted in lower brightness, higher opacity and higher ERIC possibly because too much chitosan reduced flotation deinking efficiency due to too large ink particles agglomerated by chitosan. Also, it might be because chitosan might react with pulp fibers more than ink particles due to the positive charge of chitosan and negative charge of pulp fiber. Thus, the chance of chitosan to collect ink particles might be decreased and more ink particles were left in the pulp. Higher dosage of chitosan also led to higher tear index since chitosan itself was a strength agent for paper.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59105
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2128
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.2128
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tanapon Wongwanich.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.