Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59342
Title: การประเมินเปรียบเทียบแบบจำลองบน NS-3 และระบบทดสอบจริง : กรณีศึกษาของระบบแจ้งเตือนอุบัติการณ์ที่ใช้ VANET
Other Titles: Comparative evaluation of NS-3 simulator and testbed platform : case study of incident warning system using VANET
Authors: เพียงพูน จักรแก้ว
Advisors: เชาวน์ดิศ อัศวกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chaodit.A@Chula.ac.th
Subjects: เครือข่ายแอดฮอกของยานพาหนะ
การเตือนภัย
Vehicular ad hoc networks (Computer networks)
Warnings
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอการจำลองระบบและการทดสอบจริงของระบบแจ้งเตือนอุบัติการณ์สำหรับยานพาหนะด้วยการใช้โครงข่ายแอดฮอกของยานพาหนะ ซึ่งได้สร้างโค้ดใหม่ในการส่งต่อข้อมูลของระบบแจ้งเตือนอุบัติการณ์ เพื่อใช้ในการจำลองระบบและทดสอบจริงด้วยการใช้โปรแกรมจำลองโครงข่าย ns-3 โดยใช้โปรโตคอลการฟลัดดิ้งอย่างง่ายในการกระจายข้อมูลแจ้งเตือน โค้ดที่พัฒนาขึ้นนั้นอยู่บนชั้นการประยุกต์ใช้ของระบบแจ้งเตือนอุบัติการณ์ในระบบปฏิบัติการลินุกซ์ การทดลองแรกใช้การทดสอบจริงด้วยโครงข่ายแอดฮอกที่มีสี่โนดซึ่งใช้แผ่นวงจรประสานไร้สายมาตรฐาน IEEE 802.11b/g การทดลองเป็นสภาพที่มีสองช่วงการเชื่อมต่อของโครงข่ายแอดฮอกในสภาพที่มีและไม่มีผลกระทบจากการรบกวน โดยผลของค่าอัตราส่วนการได้รับข้อมูลและค่าประวิงเวลาเป็นผลการทดลองที่พิจารณา จากผลการทดสอบจริงในระบบขนาดเล็กนี้พบว่าการทดสอบระบบด้วยการใช้การจำลองระบบไม่สามารถให้ผลที่น่าเชื่อถือได้เหมือนกับการทดสอบจริง เนื่องจากการตั้งค่าอย่างง่ายในการจำลองระบบไม่ได้สะท้อนถึงสภาพแวดล้อมที่แท้จริง การทดลองที่สองเป็นการทดลองของโครงข่ายแอดฮอกของรถยนต์ที่ใช้โนดที่เป็นยานพาหนะสามโนดซึ่งเคลื่อนที่ด้วยวามเร็วคงที่ ในสภาพการติดต่อสื่อสารแบบแอดฮอกสองช่วงเชื่อมต่อที่สภาพแวดล้อมมีการรบกวนสัญญาณจากพื้นที่ทดสอบภายในมหาวิทยาลัย การทดลองที่สองนี้เป็นการหาค่ากำลังการส่ง และแบบจำลองการสูญเสียการแพร่กระจายที่ใช้ในการจำลองระบบที่ทำให้ได้ค่าผลการทดลองใกล้เคียงกับการทดสอบจริงซึ่งสะท้อนสภาพแวดล้อมแบบเฉพาะเจาะจงของการทดสอบจริง โดยค่าพารามิเตอร์ที่หาได้นี้ถูกนำไปใช้ในการจำลองระบบที่โนด 250 โนดเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ ในการทดลองสุดท้ายเป็นการจำลองระบบแบบเพื่อเน้นการเปรียบเทียบผลการทดลองระหว่างการตั้งค่าอย่างง่ายที่ใช้แบบจำลองการสูญเสียการแพร่กระจายแบบระยะทางลอการิทึม และการตั้งค่าที่สะท้อนสภาพแวดล้อมจริง ด้วยการตั้งค่าทั้งสองแบบดังกล่าวพบว่าผลการทดลองมีแนวโน้มที่เหมือนกันเกือบทุกรูปแบบการทดลอง แต่ค่าของผลการทดลองคือค่าประวิงเวลาที่แต่ละโนดจะได้รับข้อมูลแจ้งเตือนนั้นพบว่าผลจากการจำลองระบบที่ตั้งค่าสะท้อนสภาพแวดล้อมจริงมีค่าสูงกว่าการตั้งค่าอย่างง่าย ผลจากการทดลองยังแสดงให้เห็นว่าถ้าส่งข้อมูลแจ้งเตือนอุบัติการณ์ด้วยความถี่มากขึ้นก็จะทำให้ค่าประวิงเวลาที่แต่ละโนดได้รับข้อมูลเพิ่มขึ้น และทำให้อัตราส่วนการได้รับข้อมูลลแจ้งเตือนแรกลดลงด้วย การค้นพบนี้สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นอย่างมากของข้อได้เปรียบเสียเปรียบในทางปฏิบัติที่จะต้องระวังในการเลือกปรับค่าอัตราการส่งข้อมูลแจ้งเตือนอย่างเหมาะสม ซึ่งจะเป็นแนวทางในการวิจัยเพื่อหาค่าที่เหมาะสมที่สุดที่จะรับประกันความสำเร็จของการทำงานของระบบได้ในอนาคต
Other Abstract: This thesis is proposed with the experimental simulation and testbed of incident warning system for vehicles with a vehicular ad-hoc network (VANET) capability. Based on the ns-3 platform, a new code has been developed to simulate and emulate the mes- sage forwarding of incident warning system application. A warning message dissemination mechanism is a simple flooding protocol. The developed code is located on the layer of incident warning application upon the protocol stacks of UDP and IP in the Linux operating system. First experiments have been reported on an ad hoc network testbed with four nodes each with an IEEE 802.11b/g wireless interface card. The testbed consists of 2-hop ad hoc scenario. Message delivery ratio and message receiving delay have been reported in the scenarios with and without interference effects. Despite of small testbed size, the obtained results suggest interesting findings that can only be confirmed by the testbed, but not from simulations because using simple parameter settings in the simulation cannot reflect the real environment. Second experiments have been reported on VANET with three vehicle nodes with a constant velocity. The testbed consists of 2-hop ad hoc scenario with interference effects within the university area used in the test. Values of transmission power and prop-agation loss model in the latter simulation have been found in this experiment to reflect the specific environment of testbed. In particular, these values have later been used in the large network-size simulation of 250 nodes with a constan tvelocity. In this final simulation, which cannot inevitably be replicated by the actual testbed measurements, the focus is on comparing results between the simple setting using log distance propagation loss model and specific environment setting. Based on two settings, trend of the results are same in almost scenarios. But the values of the resultant delay in reaching the nodes nearby of specific environment setting are higher than simple setting. The results also suggest that if we send incident warning messages more frequently, then the message receiving delay of each node will be higher and the delivery success ratio will be lower. This finding therefore strongly reflects the necessary trade-off that, in practice, must be carefully calibrated by choosing an optimal rate of incident warning message generation. Future research into that optimization is expected to warrant a worthy fruitful implication.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59342
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.162
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.162
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piangpoon Jakkaew.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.