Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59443
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีรฉัตร์ สุปัญโญ-
dc.contributor.advisorกุลธิดา จันทร์เจริญ-
dc.contributor.authorกิตติกันตพงศ์ ศรีบัวนำ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-09-14T05:05:53Z-
dc.date.available2018-09-14T05:05:53Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59443-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สังเคราะห์ตัวบ่งชี้การอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนเมือง 2) ศึกษาระดับความตระหนักรู้ในการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนเมือง 3) พัฒนากระบวนการการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนเมือง และ 4) นำเสนอแนวปฏิบัติในการสร้างความตระหนักรู้ในการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนด้วยกระบวนการการศึกษานอกระบบโรงเรียน เป็นการวิจัยผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยในเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง กรุงเทพมหานคร จำนวน 5,807 คน และผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านครัวเหนือ แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คิอ แบบสอบถามและแบบวัดความตระหนักรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) ในเชิงคุณภาพการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 1) การศึกษาเอกสาร 2) การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก และ 3) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้การตรวจสอบแบบสามเส้า (Triangulation) พื้นที่ชุมชนที่ศึกษา ได้แก่ ชุมชนบ้านครัวเหนือ แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวบ่งชี้การอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนเมืองประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก 8 องค์ประกอบย่อย และ 50 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ องค์ประกอบหลักด้านกาย มี 3 องค์ประกอบย่อย 16 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การเสียสละ 6 ตัวบ่งชี้ การเคารพกติกาสังคม 5 ตัวบ่งชี้ และการยอมรับซึ่งกันและกัน 5 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบหลักด้านวาจา มี 2 องค์ประกอบย่อย 11 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การพูดถูกกาลเทศะ 5 ตัวบ่งชี้ และการพูดสร้างสรรค์ 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบหลักด้านใจ มี 3 องค์ประกอบย่อย 23 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การทัศนคติที่ดีต่อความแตกต่างระหว่างของบุคคล จำนวน 7 ตัวบ่งชี้ การปรารถนาดีต่อผู้อื่น 8 ตัวบ่งชี้ และการรักษาความดีของตัวเอง จำนวน 8 ตัวบ่งชี้ 2. ผลการวิเคราะห์ระดับความตระหนักรู้ในการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนเมือง พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความตระหนักรู้ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีระดับความตระหนักรู้ด้านวาจาสูงที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 รองลงมา คือ ด้านกาย และด้านใจ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 และ 4.15 ตามลำดับ 3. กระบวนการการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนเมือง ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) รับรู้ปัญหา 2) วางแผนแก้ไข 3) ลงมือปฏิบัติ 4) สรุปผล และ 5) สะท้อนคิดทบทวน 4. แนวปฏิบัติในการสร้างความตระหนักรู้ในการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนเมืองด้วยกระบวนการการศึกษานอกระบบโรงเรียน ประกอบด้วย 8 ข้อ หรือหลัก 8ร ได้แก่ 1) “ร่วม” (Participation) การมีส่วนร่วมในการร่วมกันคิด ร่วมกันทำ และร่วมกันสร้าง 2) “ร่าเริง” (Happiness) ร่วมกิจกรรมด้วยความเต็มใจ และมีความสุขที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม 3) “เรียน” (Learning) เรียนรู้ตัวเอง เรียนรู้ผู้อื่น เรียนรู้ชุมชน ตลอดจนการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันในสังคม 4) “รักษ์” (Conservation) รักและปรารถนาดีต่อกัน รักและดูแลคนในชุมชน รักษาประเพณี และวัฒนธรรมของชุมชนให้คงอยู่สืบไป 5) “ริเริ่ม” (Creative) มีความคิดริเริ่มในการสร้างสรรค์กิจกรรม รู้จักแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนาชุมชนให้ก้าวหน้าและยั่งยืน 6) “รวม” (Coordination) ประสานความร่วมมือ และมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน 7) “รับ”(Acceptation) ยอมรับและเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น และ 8) “รู้” (Knowledge) รู้บทบาทและหน้าที่ของตัวเองรู้ประเพณี กฎหมาย และรู้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก-
dc.description.abstractalternativeThe aims of this research were to 1) synthesize indicators of living together with care in urban communities 2) to study of awareness level of living together with care in urban communities 3) to development of a non-formal education process to promote the awareness in living together with care in urban communities and 4) to propose guidelines for raising awareness in living together with care in urban communities with the non-formal education process. This research was mixed method in a quantitative and qualitative research. For quantitative the sampling using data collection were 5,708 participants living in urban communities in Bangkok and 400 participants living in Baan Krua Nua Community, Petchaburi Road District, Ratchathewi, Bangkok by accidental sampling, research instrument included questionnaire and awareness test, data were analyzed by using descriptive, analysis of variance, confirmatory factor analysis. For qualitative based on documentary study and key informant interview. Moreover, participatory action research (PAR) This research was conducted in collaboration with the researcher and community organization focusing on the area of Baan Krua Nua Community, Petchaburi Road District, Ratchathewi, Bangkok, Thailand. The findings were as follows; 1. The indicators of living together with care in urban communities consisted of 3 main factors, 8 minor factors and 50 indicators. They were divided into 1) the body main factors consisted of 3 minor factors and 16 indicators: 6 indicators of sacrifice, 5 indicators of respect for social rules and 5 indicators of mutual recognition. 2) The verbal main factors consisted of 2 minor factors and 11 indicators: 5 indicators of speak untimely and 6 indicators speak creative. 3) The mind main factors consisted of 3 minor factors and 23 indicators: 7 indicators of positive attitude towards difference between individuals, 8 indicators of goodwill toward others, 8 indicators of maintain of good own. 2. The results of the analysis of awareness level of living together with care in urban communities showed that the respondents had a high level of awareness in all aspects with the highest level of verbal aspect mean was 4.45, followed by the physical and mind mean was 4.31 and 4.15. 3. A non-formal education process to promote the awareness in living together with care in urban communities which consisted of five process as follows; 1) perceive the problem, 2) planning, 3) doing, 4) conclusions and 5) reflection. 4. The propose guidelines for raising awareness in living together with care in urban communities with the non-formal education process which consisted of eight components as follows; 1) participation, 2) happiness, 3) learning, 4) conservation, 5) creative, 6) coordination, 7) acceptation and 8) knowledge.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.769-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการศึกษานอกระบบโรงเรียน-
dc.subjectNon-formal education-
dc.titleพัฒนากระบวนการการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนเมือง: กรณีศึกษาชุมชนบ้านครัวเหนือ-
dc.title.alternativeDevelopment of a non-formal education process to promote the awareness in living together with care in urban communities : a case study of Baan Krua Nua Community-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียน-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorWeerachat.S@chula.ac.th,drpaw@hotmail.com-
dc.email.advisortim.kuntida@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.769-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584279527.pdf21.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.