Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59561
Title: นโยบายสาธารณะว่าด้วยการพัฒนาเมือง
Other Titles: Urban Development Policy
Authors: เกวลี เพชรศรีชาติ
Advisors: จรัส สุวรรณมาลา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Charas.Su@Chula.ac.th,charas1953@yahoo.co.th,charas1953@outlook.com
Subjects: นโยบายสาธารณะ
Public policy
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายการพัฒนาเมืองในภูมิภาคของไทย โดยพิจารณาบทบาทหน้าที่ขององค์กรภาครัฐในการพัฒนาเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบายดังกล่าว โดยมีคำถามวิจัยคือ นโยบายการพัฒนาเมืองของไทยในช่วงหลังปี 2540 มีสาระสำคัญอะไรบ้าง ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเมืองในภูมิภาคอย่างไร อีกทั้งยังมีปัจจัยแวดล้อมอื่นที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการพัฒนาเมืองหรือไม่ โดยอาศัยกรอบแนวคิด 2 แนวคิดคือ ทฤษฎีทำเลที่ตั้ง (Location theory) และแนวคิดเมืองที่เกิดและเติบโตจากนโยบายรัฐ (รัฐเป็นผู้สร้างเมือง) การศึกษาครั้งนี้ได้อาศัยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านกรณีศึกษาเมืองในภูมิภาคจำนวน 2 แห่งคือ เมืองสงขลาและเมืองสตูล ผลการศึกษาพบว่า นโยบายการพัฒนาเมืองของรัฐได้ส่งผลให้เมืองสงขลาและเมืองสตูลมีผลของการพัฒนาที่แตกต่างกัน นโยบายการพัฒนาส่วนใหญ่มุ่งที่จะพัฒนาเมืองสงขลามากกว่าเมืองสตูล เนื่องจากรัฐต้องการสร้างเมืองสงขลาให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคและศูนย์กลางการบริหารราชการ รวมไปถึงเป็นเมืองที่เชื่อมโยงการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง จึงทำให้มีนโยบายการพัฒนาของรัฐลงมาสู่พื้นที่สงขลาอย่างต่อเนื่องและชัดเจน ขณะที่เมืองสตูลนั้นกลับพบว่า รัฐไม่ได้มีนโยบายพัฒนาเมืองที่มีความต่อเนื่องมากนัก นโยบายการพัฒนาเมืองสตูลจึงไม่มีความโดดเด่นและชัดเจนเท่าเมืองสงขลา เป็นเพียงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยทั่วไป ผลจากนโยบายการพัฒนาเมืองในช่วงที่ผ่านมาจึงส่งผลให้เมืองสตูลไม่ได้เติบโตเทียบเท่าเมืองสงขลา อีกทั้งยังส่งผลให้การพัฒนาเมืองสตูลด้อยกว่าเมืองสงขลา
Other Abstract: This study explored urban development policies and their consequences in Thailand since 1997. A research question were (1) how urbanization had been affected by the urban development policies, and (2) had urbanization been influenced by other factors than the policy measures. The research framework, as well as the hypothesis, had been structured on two different theories of urbanization, the location, and the state intervention premises. Two cities had been selected as studied cases, Songkla, and Satun. The research findings contended that urban development policies launched the national government strongly explained patterns of urbanization of the two cities. Songkla and Satun had more of commonalities than differences in terms of location and historical background. But Songkla appeared to be far more urbanized than Satun. This is due to the facts that the national government had adopted Songkla as a regional city since 1960s and had continuing allocated a large amount of budgets for infrastructure development in Songkla during the past decades. On the other hand, Satun was left behind until recently, and thus had gradually grown up on its own locational capacities. Thus, Songkla’s urbanization can be explained by the government intervention, while that of Satun would be better explained by the location theory. Theories of urbanization, however, cannot explain the whole story of the two cities. The progress of Songkla’s urbanization had been significantly influenced by civil organizations. Satun did not appear to have civic roles in urban development. The role of civil organization thus was an important factor that explain differences between the two cities as well.
Description: วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59561
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1179
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1179
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5780603624.pdf6.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.