Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59753
Title: ผลของการเติมเถ้าแกลบต่อการเกิดชั้นฟิล์มในกระบวนการอะลูมิไนซิงแบบผงบนนิกเกิลบริสุทธิ์
Other Titles: EFFECT OF RICE HUSK ASH ADDITION ON FILM FORMATION IN PACK ALUMINIZING PROCESS FOR PURE NICKEL
Authors: บุญฤทธิ์ เฮงประยูร
Advisors: ปฐมา วิสุทธิพิทักษ์กุล
ศิริชัย ลีลาเชาว์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Patama.V@Chula.ac.th,patama.v@chula.ac.th
sirichai.l@eng.kmutnb.ac.th
Subjects: โลหะผสมนิกเกิล
ขี้เถ้าแกลบ
Rice hull ash
Nickel alloys
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การปรับปรุงกระบวนการอะลูมิไนซิงแบบผงทำได้โดยการเจือธาตุซิลิกอนเพื่อเพิ่มความเสถียรของชั้นออกไซด์ที่เกิดขึ้นในการใช้งานที่อุณหภูมิสูง ซึ่งเถ้าแกลบมีส่วนประกอบของซิลิกาอยู่มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ในงานวิจัยนี้จะหาความเป็นไปได้ในการใช้เถ้าแกลบแทนซิลิกาจากอุตสาหกรรม (ควอทซ์) เพื่อเจือซิลิกอนลงในกระบวนการอะลูมิไนซิงแบบผง โดยวิเคราะห์ถึงความแตกต่างของโครงสร้างผลึก สารเจือในเถ้าแกลบ ขนาดอนุภาค ลักษณะพิ้นผิวและพื้นที่ผิวจำเพาะระหว่างผงควอทซ์และผงเถ้าแกลบที่จะส่งผลต่อโครงสร้างจุลภาค โครงสร้างของสารประกอบของชั้นแพร่และปริมาณซิลิกอนที่พบในชั้นแพร่ในผิวชิ้นงานที่ใช้สารตั้งต้นเป็นควอทซ์และเถ้าแกลบ ซึ่งปริมาณสารเจือที่เติมคือ 9, 13.5, 18 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เผาที่อุณหภูมิ 800 และ 1000๐C เป็นเวลา 4 ชั่วโมง และทดสอบความต้านทานการเกิดออกซิเดชันที่อุณหภูมิ 1000๐C เป็นเวลา 100 ชั่วโมง ชิ้นงานที่นำมาทดสอบคือ นิกเกิลบริสุทธิ์, ชิ้นงานที่ทำอะลูมิไนซิงที่ 900๐C เป็นเวลา 4 ชั่วโมง, ชิ้นงานที่เติมควอทซ์ 13.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ทำอะลูมิไนซิงที่ 1000๐C เป็นเวลา 4 ชั่วโมงและชิ้นงานที่เติมเถ้าแกลบ 13.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ทำอะลูมิไนซิงที่ 1000๐C เป็นเวลา 4 ชั่วโมง นำชิ้นงานมาวิเคราะห์ลักษณะพื้นผิวและโครงสร้างของสารประกอบออกไซด์ที่เกิดขึ้นที่ผิว พบว่าชิ้นงานที่เติมเถ้าแกลบจะมีปริมาณซิลิกอนที่พบในชั้นแพร่มากกว่าและมีความสามารถในการต้านทานการเกิดออกซิเดชันที่อุณหภูมิสูงดีกว่าชิ้นงานที่เติมควอทซ์
Other Abstract: Improvement of the pack aluminizing process by doping silicon is achieved in order to increase the stability of the oxide layer in which occurs at high temperature. Rice Husk Ash (RHA) was found to contain more than 90 wt.% SiO2. In this research, it is possible to use RHA instead of commercial silica (quartz) for doping silicon in pack aluminizing process. Differences in crystal structure, impurities in RHA, particle size, surface morphology and specific surface area between quartz powder and RHA powder were analyzed. Those had an influence on microstructure, phase and the silicon content in the diffusion layer. The composition of pack mixtures at 9, 13.5, 18 wt.% quartz/RHA were heated to 800 and 1000๐C for 4 hours. Oxidation test was conducted at 1000๐C for 100 hours on the following samples: pure nickel, Al coated prepared at 900๐C for 4 hours, Al+quartz 13.5 wt.% prepared at 1000๐C for 4 hours and Al+RHA 13.5 wt.% prepared at 1000๐C for 4 hours. After oxidation, samples were subjected to analyses of surface morphology and phase of the oxide layer occurring at the surface. The results show that Al+RHA coated has higher silicon content in diffusion layer and oxidation resistant at high temperature higher than that of Al+ quartz coated.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโลหการและวัสดุ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59753
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2017.570
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2017.570
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5971472421.pdf6.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.