Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59797
Title: ประสิทธิผลของยา 15% ซิงค์ออกไซด์ชนิดขี้ผึ้งสำหรับการรักษาหูดบนผิวหนัง, การศึกษาแบบสุ่มเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม
Other Titles: Efficacy of 15% topical zinc oxide ointment for the treatment of common warts, a randomized placebo-controlled trial
Authors: ชาญเกียรติ ส่องสันติภาพ
Advisors: ประวิตร อัศวานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pravit.A@Chula.ac.th,fibrosis@gmail.com
Subjects: หูด -- การรักษา
Warts -- Treatment
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันมียาทาที่ใช้รักษาโรคหูดไม่มากนักและมีเพียงการศึกษาจำนวนหนึ่งที่บ่งบอกถึงประสิทธิผลของยาทาซิงค์-ออกไซด์ที่ใช้ในการรักษาเหล่านั้น วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิผลของยาทา 15% ซิงค์ออกไซด์ ในแง่ของการลดขนาดของรอยโรคหูดทั่วไป วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 16 รายที่มีหูดชนิดทั่วไปบนฝ่ามือที่สามารถเปรียบเทียบกันได้อย่างน้อย 2 รอยโรคถูกนำมาศึกษาในงานวิจัย หูดทั้ง 2 รอยโรคได้รับการสุ่มเพื่อรับยา 15% ซิงค์ออกไซด์และยาควบคุม ทาอย่างน้อยวันละ 3 ครั้งเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ผลการรักษาประเมินจากความยาวเส้นผ่าศูนย์กลาง ขนาดพื้นที่ผิว ปริมาตรของรอยโรคที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงการประเมินผลการรักษาจากผู้ป่วยและแพทย์ผิวหนัง ผลการศึกษา: ณ สัปดาห์ที่ 4 ซิงค์ออกไซด์สามารถลดค่ามัธยฐานของขนาดพื้นที่ผิวของรอยโรคหูดทั่วไปได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับก่อนรักษา (P < 0.037) อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่าง 2 กลุ่มพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผล: ซิงค์ออกไซด์สามารถลดขนาดของหูดทั่วไปที่มือได้ภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์ จึงเป็นไปได้ว่าซิงค์ออกไซด์สามารถนำมาใช้ร่วมกับการรักษาชนิดอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาหูดให้ดียิ่งขึ้น
Other Abstract: Background: There are limited number of topical agents for the treatment of common warts. Few reports show efficacy of zinc oxide for such indication. Objectives: To evaluate the efficacy of topical 15% zinc oxide ointment, especially in terms of reduction in size of common warts Materials and Methods: Sixteen patients with 2 comparable palmar warts or verruca vulgaris were randomized to receive either 15% zinc oxide ointment or placebo thrice a day for 4 weeks. Diameter, surface area, as well as volume change of warts in both groups were used as objective assessments, while patients’ and physicians’ assessments were also recorded. Results: At week 4, zinc oxide significantly reduced the median surface area when compared with baseline (P < 0.037). However, when the median percent changes between groups were compared, there were no statistically significant differences. Conclusion: Zinc oxide can reduce the size of common hand warts after 4 weeks’ treatment. We suggest that it can be used as an adjunctive therapy to enhance the efficacy of other treatments.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59797
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1610
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1610
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5974056630.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.