Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59805
Title: ผลของการออกกำลังกายขณะฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมต่อการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมทางกายในแต่ละวันของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่มารับการฟอกเลือด
Other Titles: The effects of intradialytic exercise on improvement of daily physical activity in hemodialysis patients
Authors: นวพร อัศวศักดิ์สกุล
Advisors: ขจร ตีรณธนากุล
วรวรรณ ศิริชนะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Khajohn.T@chula.ac.th,khajohn_t@hotmail.com
oooo846@gmail.com
Subjects: การออกกำลังกาย
ไตวายเรื้อรัง -- ผู้ป่วย
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
Exercise
Chronic renal failure -- Patients
Hemodialysis
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย: ผู้ป่วยฟอกเลือดนั้นมีภาวะเนือยนิ่งหรือการมีระดับกิจกรรมทางกายที่ต่ำ, กล้ามเนื้อลดลง (sarcopenia) และมีการคั่งของของเสียจากภาวะไตวาย (uremic toxins) ซึ่งสัมพันธ์กับอัตราตายจากโรคหัวใจเพิ่มสูงขึ้น การออกกำลังกายขณะฟอกเลือด (intradialytic exercise) อาจเพิ่มระดับกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยฟอกเลือดได้ วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาว่าการออกกำลังกายขณะฟอกเลือดสามารถเพิ่มระดับกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยฟอกเลือดได้หรือไม่ ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมแบบเปิด (open-labelled randomized controlled trial) ในผู้ป่วยฟอกเลือดโดยวิธี online HDF โดยผู้ป่วยจะถูกสุ่มเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ไม่ต้องออกกำลังกาย และ กลุ่มที่ออกกำลังกายขณะฟอกเลือด (intradialytic exercise, IDX) โดยใช้จักรยาน (cycle ergometer) และวัดระดับกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันโดยใช้เครื่องสวมใส่บริเวณข้อมือ (wrist-worn wearable triaxial accelerometer (Fitbit flex2®)) วัดผลเลือด มวลกล้ามเนื้อ และ สมรรถภาพของร่างกาย ตอนเริ่มต้นและที่ 6 เดือน ผลการศึกษา: มีผู้ป่วย 12 ราย อายุเฉลี่ย 53.1±14.5 ปี และมีค่า body mass index (BMI) 23.23 ± 5.5 กก/ม2 ระดับกิจกรรมทางกายโดยการวัดจำนวณก้าวจากเครื่องเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (+1956.2 ± 2164.18 Vs -1302.92 +/- 1956.03 ก้าว, P = 0.021) ระดับฮีโมโกลบินและอัลบูมินเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่ออกกำลังกายขณะฟอกเลือดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม [+1.0 (-0.1,2.7) vs. -1.4 (-3.4,0.2) กรัม/ดล., P= 0.025 และ +0.30(0.08, 0.50) vs. -0.15(-0.28, 0.05) กรัม/ดล., P=0.012] และยังมีการลดลงของระดับฟอสเฟตในเลือด -1.95 (-2.8, -0.63) vs. -0.50 (-0.88,0.55), P=0.037]. สรุป: การออกกำลังกายขณะฟอกเลือดสามารถเพิ่มระดับกิจกรรมทางกายในแต่ละวัน ซึ่งอาจทำให้มีการลดลงของอัตราการเสียชีวิตในระยะยาว
Other Abstract: Introduction: HD patients with sedentary or low physical activity, caused by sarcopenia, inactive lifestyle, and uremic toxins, correlated with increased cardiovascular mortality. The potential of adding intradialytic exercise program might improve daily physical activity. Objective: To determine whether intradialytic exercise can increase the level of daily physical activity in hemodialysis patients. Methods: This was an open-labelled randomized controlled trial in 12 HD patients treated with the online HDF. All participants were randomized into control or intradialytic exercise (IDX) groups. The subjects in IDX group were trained to exercise on a cycle ergometer within the first 2 hours of online HDF. Physical activity was measured by a wrist-worn wearable triaxial accelerometer (Fitbit flex2®). The muscle mass and biochemical values were measured and compared at baseline and 6 months. Result: Of 12 HD patients, their ages were 53.1±14.5 years old and BMI were 23.23 ± 5.5 kg/m2. At 6 months, the physical activities were improved in IDX group compared with control group (+1956.2 ± 2164.18 vs. -1302.92 ± 1956.03 steps, P = 0.021). Hemoglobin and albumin changes were increased in IDX compared with control groups [ +1.0 (-0.1,2.7) vs. -1.4 (-3.4,0.2) g/dL, P= 0.025 and +0.30(0.08, 0.50) vs. -0.15(-0.28, 0.05) g/dL, P=0.012]. The phosphate reductions were more favourable in IDX group [-1.95 (-2.80, -0.63) vs. -0.50 (-0.88,0.55), P=0.037]. Conclusion: Intradialytic exercise training could improve physical activity and may contribute to decrease cardiovascular mortality
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59805
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1618
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1618
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5974068130.pdf2.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.