Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59945
Title: | การพัฒนากระบวนการนำครูใหม่เข้าสู่วิชาชีพ โดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเป็นฐานร่วมกับการเป็นพี่เลี้ยง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอน |
Other Titles: | DEVELOPMENT OF THE INDUCTION PROCESS FOR NOVICE TEACHERS BASED ON LESSON STUDY APPROACH WITH MENTORING TO ENHANCE ABILITY IN DESIGNING INSTRUCTION |
Authors: | เกรียง ฐิติจำเริญพร |
Advisors: | ชาริณี ตรีวรัญญู สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Charinee.T@Chula.ac.th,charinee.t@hotmail.com Suwatana.S@Chula.ac.th,Siripaarn.S@Chula.ac.th |
Subjects: | ครูพี่เลี้ยง การฝึกหัดครู การสอนงาน ปริญญาดุษฎีบัณฑิต Education -- Study and teaching Job instruction |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการนำครูใหม่เข้าสู่วิชาชีพโดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเป็นฐานร่วมกับการเป็นพี่เลี้ยง และ 2) ศึกษาผลของการดำเนินงานตามกระบวนการที่มีต่อความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของครูใหม่ การดำเนินการวิจัยมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหาของครูใหม่ โดยวิธีการศึกษาเอกสาร ระยะที่ 2 การสร้าง การตรวจสอบ และการปรับปรุงคุณภาพของกระบวนการนำครูใหม่เข้าสู่วิชาชีพ ฯ โดยการสังเคราะห์สาระสำคัญและหลักการของแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน และการเป็นพี่เลี้ยง แล้วนำเสนอกระบวนการต่อผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ตรวจพิจารณาเกี่ยวกับความตรงของเนื้อหา ความสอดคล้องขององค์ประกอบของรูปแบบฯ และความเหมาะสมของกระบวนการที่พัฒนาขึ้น ระยะที่ 3 การใช้กระบวนการนำครูใหม่เข้าสู่วิชาชีพ ฯ กับกรณีศึกษาซึ่งเป็นครูใหม่ที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาด้านครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์ และยังไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูที่ทำการสอนในโรงเรียนไม่เกินระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่เริ่มประกอบวิชาชีพครู จำนวน 8 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินการนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ และแบบประเมินการวิเคราะห์และปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ ระยะที่ 4 การนำเสนอกระบวนการนำครูใหม่เข้าสู่วิชาชีพ ฯ ฉบับสมบูรณ์ แก่ผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัย โดยการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปบทเรียน ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ การสังเกตชั้นเรียน การสังเกตการสะท้อนคิดและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) กระบวนการนำครูใหม่เข้าสู่วิชาชีพที่พัฒนาขึ้นเป็นระบบการพัฒนาวิชาชีพครูแก่ครูใหม่ ที่มุ่งเน้นให้ครูใหม่ได้เรียนรู้จากการทำงานกลุ่มแบบร่วมมือรวมพลัง การปฏิบัติการสอนจริงในชั้นเรียน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยใจที่เปิดกว้างร่วมกับครูใหม่ที่เป็นสมาชิกของกลุ่มและพี่เลี้ยงผู้มีประสบการณ์สูงกว่า กระบวนการนี้มีหลักการสำคัญ 5 ประการ คือ 1) การดำเนินการพัฒนาวิชาชีพครูทันทีเมื่อครูใหม่เริ่มปฏิบัติงานโดยดำเนินงานอย่างเป็นระบบและเป็นวงจรต่อเนื่องในระยะยาว 2) การพัฒนาวิชาชีพในระบบการทำงานจริงในชั้นเรียน 3) การพัฒนาความสัมพันธ์และการปฏิบัติงานร่วมกันของครูใหม่กับพี่เลี้ยงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรและส่วนตน 4) การร่วมมือรวมพลังขับเคลื่อนและปรับกระบวนการทำงานด้วยตนเองของครูใหม่ โดยการสนับสนุนส่งเสริมจากพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์สูงกว่า 5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การออกแบบการเรียนการสอนและการปฏิบัติการสอนเพื่อขยายผลและเติมเต็มการเรียนรู้ของกลุ่ม การดำเนินงานตามกระบวนการมี 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ขั้นที่ 1 การสร้างทีมงานและตั้งเป้าหมายร่วมกัน ประกอบด้วยการนำครูใหม่สร้างทีมงาน การจับคู่ครูใหม่กับพี่เลี้ยง การอบรมพี่เลี้ยง การปฐมนิเทศครูใหม่ และการตั้งเป้าหมายที่ต้องการบรรลุร่วมกัน ขั้นที่ 2 การเรียนรู้การออกแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน ประกอบด้วยวงจรของการวางแผนบทเรียนและสังเกตชั้นเรียนของพี่เลี้ยง การเรียนรู้การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ของพี่เลี้ยง การสะท้อนคิดจากการสังเกตชั้นเรียนของพี่เลี้ยงร่วมกัน การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ของครูใหม่ การปฏิบัติการสอนและสังเกตชั้นเรียนของครูใหม่ การสะท้อนคิดโดยครูใหม่ที่ปฏิบัติการสอน การสืบสอบผลและการสะท้อนคิดโดยพี่เลี้ยงและครูใหม่ที่สังเกตชั้นเรียน และการวิเคราะห์และปรับปรุงบทเรียน และขั้นที่ 3 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพในการออกแบบการเรียนการสอนและการปฏิบัติการสอน 2) กระบวนการที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้ครูใหม่มีพัฒนาการด้านความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อสิ้นสุดกระบวนการครูใหม่มีความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนแปลงจากระดับพอใช้ 2 คน ระดับดี 5 คน ระดับดีมาก 1 คน ไปเป็นระดับดี 1 คน และระดับดีมาก 7 คน รวมถึงส่งผลให้ครูใหม่สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้และมีส่วนร่วมมากขึ้น ครูใหม่สามารถเลือกใช้สื่อการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียน สามารถออกแบบการประเมินผลการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย ตลอดจนคำนึงถึงการจัดการชั้นเรียนที่เอื้อต่อการเรียนการสอน |
Other Abstract: | This research aimed to 1) develop the induction process based on lesson study approach with mentoring and 2) investigate the results of implementing the developed induction process on novice teachers’ ability in designing instruction. The research process was composed of four phases: Phase 1) exploring novice teachers’ conditions and problems by documents’ study, Phase 2) designing, inspecting, and improving the novice teachers’ induction process by synthesizing core concepts and principles of lesson study, and mentoring approaches, Phase 3) implementing the induction process with 8 novice teachers who did not graduate from any educational program. Participants were selected through a purposive sampling method. The quantitative data collection instruments include; lesson plan evaluation forms, teaching evaluation forms, and analyzing and redesigning lesson plan forms, and Phase 4) presenting the complete novice teachers induction process to the involved participants by summarizing and sharing lessons learned in meeting. Moreover, the researcher had collected qualitative data from participants’ interviews, classroom observations, participants’ reflections and sharing observation. The statistics used in the data analysis include percentage, mean, and content analysis. The research findings suggested that 1) the developed induction process was the procedures that enhanced the novice teachers to learn from team collaborative working, authentic classroom teaching and sharing knowledge with an open-minded view among novice teachers and mentor teachers who had more experiences. There were five principles of the induction process; 1) develop the induction process as soon as novice teachers start working systematically and continuously 2) develop the induction process as a part of authentic classroom working system 3) develop the relationship and collaboration between novice and mentor teachers in order to complete the organizational and individual purposes 4) empower the novice teachers’ professional competence by the supports of mentor teachers who have more teaching experiences. 5) exchange and share knowledge in designing classroom lessons and instruction to extend the results and fulfill the incomplete areas of the team learning process. The process was composed of three steps which were; Step (1) team-building and goal-setting, which refers to matching mentors with novice teachers, training mentors, orienting novice teachers, and setting goals together, Step (2) in - class instructional design learning, which composed of planning lessons and observing mentor classes, studying mentor’s lesson plans, reflecting on observing mentor’s classes, developing novice teachers’ lesson plans, teaching and observing novice teachers’ classes (do & see), reflection on one’s own teaching, debriefing & reflecting on novice teachers’ teaching by mentor and novice teachers observing the classroom, and analyzing and redesigning lessons, and Step (3) professional sharing and learning in instruction as well as instructional design. 2) This developed induction process enhanced novice teachers’ ability in designing instruction continuously. The research results showed the changes of novice teachers’ abilities; from 2 novice teachers with level fair, 5 novice teachers with level good and 1 novice teacher with very good level to 1 novice teacher with good level and 7 novice teachers with very good level. All novice teachers can design successful lessons that make their students achieve the learning objectives and more engage in classrooms activities. Novice teachers can also effectively select teaching materials that suit their students’ learning ability levels and design different assessment and evaluation methods including classroom management that facilitates teaching instruction. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | หลักสูตรและการสอน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59945 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1588 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1588 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5684452827.pdf | 10.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.