Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60196
Title: บทบาทของการส่องกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อในการวินิจฉัยรอยโรคที่เยื่อบุช่องท้อง
Other Titles: The diagnostic yield of endoscopic ultrasound-guided tissue sampling for peritoneal lesions
Authors: ธีรภัทร์ ออประยูร
Advisors: ประเดิมชัย คงคำ
นฤมล คล้ายแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pradermchai.K@Chula.ac.th,euschula@gmail.com,kongkam@hotmail.com
Naruemon.K@Chula.ac.th
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บทนำ: การวินิจฉัยรอยโรคที่เยื่อบุช่องท้องด้วยการผ่าตัดส่องกล้องหรือการผ่าตัดเปิดหน้าท้องแม้จะมีความจำเป็นและมีความแม่นยำสูงแต่ยังเป็นวิธีที่มีความเสี่ยง ส่วนการวินิจฉัยด้วยการเจาะน้ำในท้องไปตรวจก็ยังมีความไวที่ค่อนข้างต่ำ มีการศึกษาย้อนหลังถึงการใช้การส่องกล้องคลื่นเสียงร่วมกับเข็มดูดซึ่งให้ผลการวินิจฉัยที่ดี จึงนำมาสู่การศึกษานี้ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงความสามารถในการวินิจฉัยโรคที่เยื่อบุช่องท้องด้วยการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อผ่านการส่องกล้องคลื่นเสียงในผู้ป่วยที่สงสัยมีรอยโรคของเยื่อบุช่องท้อง ระเบียบวิธีการวิจัย: ผู้ป่วยที่สงสัยรอยโรคเยื่อบุช่องท้องจากการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือเอ็มอาร์ไอที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เข้าสู่การศึกษาโดยการเก็บเนื้อเยื่อบุช่องท้องด้วยการส่องกล้องคลื่นเสียงโดยใช้เข็มดูดส่วนอีกกลุ่มทำการเก็บเนื้อเยื่อบุช่องท้องด้วยการส่องกล้องคลื่นเสียงร่วมกับใช้เข็มตัดเก็บชิ้นเนื้อ จากนั้นจึงนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ความสามารถในการวินิจฉัยโรค ความไว ความจำเพาะ ค่าทำนายผลบวก ค่าทำนายผลลบ ความแม่นยำ ความเพียงพอของเนื้อเยื่อที่ได้ การหลีกเลี่ยงความจำเป็นที่จะต้องไปผ่าตัดชิ้นเนื้อเยื่อบุช่องท้อง และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น หากผลจากการส่องกล้องเป็นลบผู้ป่วยจะได้รับการทำผ่าตัดส่องกล้องหรือการติดตามอาการและภาพรังสีอย่างน้อย 6 เดือน ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งสิ้น 49 ราย ตรงเกณฑ์คัดออก 11 ราย เหลือเข้าการศึกษา 38 ราย ทั้งหมดผ่านการเก็บเนื้อเยื่อบุช่องท้องด้วยการส่องกล้องคลื่นเสียง (EUS-FNA หรือ EUS-FNB) พบว่าการใช้กล้องคลื่นร่วมกับการใช้เข็มดูด (EUS-FNA) สามารถวินิจฉัยรอยโรคมะเร็งได้ 18 รายจาก 21 ราย (ร้อยละ 85.7) ส่วนการใช้กล้องคลื่นร่วมกับการใช้เข็มเก็บชิ้นเนื้อ (EUS-FNB) สามารถวินิจฉัยรอยโรคมะเร็งได้ 8 รายจาก 14 ราย (ร้อยละ 57.14) โดยการใช้กล้องคลื่นเสียงร่วมกับการใช้เข็มดูดพบว่ามีความไวร้อยละ 85.7 มีความจำเพาะร้อยละ 100 ค่าทำนายผลบวกร้อยละ 100 ค่าทำนายผลลบร้อยละ 40 และความแม่นยำร้อยละ 86.9 ส่วนการใช้เข็มเก็บชิ้นเนื้อ (EUS-FNB) มีความไวร้อยละ 51.14 มีความจำเพาะร้อยละ 100 ค่าทำนายผลบวกร้อยละ 100 ค่าทำนายผลลบร้อยละ 14.28 และความแม่นยำร้อยละ 60 โดยทั้งหมดได้ชิ้นเนื้อเพียงพอร้อยละ 34.2 (EUS-FNA: 8.7%; EUS-FNB: 73.3%) การศึกษานี้พบภาวะแทรกซ้อน 4 ราย สรุป: การส่องกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อในการวินิจฉัยรอยโรคที่เยื่อบุช่องท้องนั้น พบว่าสามารถช่วยวินิจฉัยโรคมะเร็งเยื่อบุช่องท้องได้ดี และมีความไว ความจำเพาะ ค่าทำนายผลบวก และความแม่นยำที่ดี อีกทั้งสามารถเก็บเนื้อเยื่อได้เพียงพอต่อการนำไปย้อมทางอิมมูโนพยาธิวิทยา หากพิจาณาจากการส่องกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการใช้เข็มดูดจะช่วยในการวินิจฉัยโรคเยื่อบุช่องท้องได้ดีกว่าการใช้เข็มตัด ขณะที่การส่องกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการใช้เข็มตัดเก็บชิ้นเนื้อมีข้อดีในการได้ชิ้นเนื้อที่พอเพียงกรณีที่ต้องการย้อมทางอิมมูโนพยาธิวิทยาเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการวินิจฉัย โดยภาวะแทรกซ้อนของทั้งสองวิธีมีไม่มาก
Other Abstract: Background: Diagnostic laparoscopy is often a necessary, albeit invasive, procedure to help resolve undiagnosed peritoneal diseases. Previous retrospective study reported that EUS-FNA is feasible on peritoneal and omental lesions, however, no pathological diagnosis was provided in many cases with negative EUS-FNA. This study aims to prospectively determine the effectiveness of EUS-FNA and EUS-FNB (EUS-FNA/B) Objective: to assess the effectiveness of EUS-FNA and EUS-FNB (EUS-FNA/B) in peritoneal lesions. Method: Patients with the lesions identified by CT or MRI at the King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok, Thailand were prospectively enrolled in the study and subsequently underwent EUS-FNA and FNB in 1st and 2nd year of study time, respectively. Diagnostic laparoscopy or clinical follow-up was planned if the pathological result of EUS-FNA/B was negative. Result: During study period, 49 patients met inclusion criteria, 11 of them were excluded from various reasons, 38 of them were enrolled. The detection rate of malignancy from EUS-FNA was 18/21 (85.7%) and EUS-FNB was 8/14 (57.14%). For EUS-FNA or EUS-FNB, The sensitivity, specificity, PPV, NPV and accuracy were 74.8 %, 100%, 100%, 25% and 76.31%, respectively (EUS-FNA: 85.7%, 100%, 100%, 40%, and 86.9%; EUS-FNB: 51.14 %, 100%, 100%, 14.28% and 60%). The tissue from biopsy was adequate 34.2% (EUS-FNA: 8.7%; EUS-FNB: 73.3%). There were four non fatal adverse events such as abdominal pain, anemia, hematoma at gastric wall and retroperitoneum. Conclusion: EUS-FNA/B for peritoneal lesion has good diagnostic yield. Moreover, EUS-FNA has a high sensitivity for diagnosing causes of peritoneal lesions, which can lead to avoidance of diagnostic laparoscopy in the majority of patients. Nevertheless, EUS-FNB provide more tissue acquisition for definite diagnosis with immunohistochemistry.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60196
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1617
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1617
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5974067530.pdf3.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.