Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60643
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฐานบ ธิติมากร-
dc.contributor.authorอาทิมา โคจิมะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-12-02T03:55:04Z-
dc.date.available2018-12-02T03:55:04Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60643-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560en_US
dc.description.abstractโพรงใต้ผิวทางคอนกรีตเป็นปัญหาสาคัญที่ส่งผลให้ถนนคอนกรีตเกิดความเสียหาย ในการทำโครงงานวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาวิธีการและความสามารถในการสำรวจแบบจำลองโพรงใต้ผิวทางคอนกรีตด้วยวิธีสำรวจหยั่งลึกด้วยสัญญาณเรดาร์แบบสามมิติ เพื่อหาวิธีการประมวลผลที่เหมาะสมและให้ผลลัพธ์ในการสำรวจที่ชัดเจนที่สุด สำรวจโดยใช้สายอากาศความถี่ 400 และ 900 เมกะเฮิร์ทซ์ ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นภาพโพรไฟล์ (Profile) 2 มิติ จากนั้นนำภาพโพรไฟล์ประมวลผลด้วยโปรแกรม RADAN 6 ซึ่งใช้วิธีการประมวลผลแบบข้อมูลแอมพลิจูดจากการสะท้อนกลับเทียบกับเวลา (Time domain radar data) ประกอบไปด้วย การขยายสัญญาณ (Display gain) การปรับตำแหน่งข้อมูล (Correction position) การกำจัดสัญญาณรบกวนพื้นหลัง (Background removal) และการกำจัดปลายหางของไฮเปอร์โบลาจากเหล็กเสริม (Migration) สามารถนำข้อมูลแอมพลิจูดจากการสะท้อนกลับเทียบกับเวลาประมวลผลต่อด้วยการแปลงฮิลเบิร์ต (Hilbert transform) เพื่อแปลงให้แสดงข้อมูลออกมาในรูปแมกนิจูดขณะใดขณะหนึ่ง (Instantaneous magnitude) เฟสขณะใดขณะหนึ่ง (Instantaneous phase) และความถี่ขณะใดขณะหนึ่ง (Instantaneous frequency) จากนั้นนำภาพโพรไฟล์ 2 มิติที่ผ่านการประมวลผลสร้างเป็นแบบจำลอง 3 มิติ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างภาพที่ได้จากสายอากาศ 400 และ 900 เมกะเฮิร์ทซ์ พบว่าภาพจากสายอากาศความถี่ 900 เมกะเฮิร์ทซ์เห็นรายละเอียดรูปร่างโพรงมากกว่า ในขณะที่สายอากาศความถี่ 400 เมกะเฮิร์ทซ์ ให้ความลึกในการสำรวจมากกว่า สำหรับภาพโพรไฟล์ 2 มิติเหมาะสาหรับการดูรูปร่างหน้าตัดขวางของโพรง ในขณะที่แบบจำลอง 3 มิติเหมาะสมสำหรับการดูรูปร่างโพรงเมื่อมองจากมุมมองด้านบน เมื่อนำข้อมูลทั้งสองแบบมาแปลผลร่วมกันส่งผลให้สามารถประเมินขนาดและรูปร่างของโพรงได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลแอมพลิจูดจากการสะท้อนกลับเทียบกับเวลากับการแปลงแบบฮิลเบิร์ต พบว่าข้อมูลแอมพลิจูดจากการสะท้อนกลับเทียบกับเวลาให้รายละเอียดของรูปร่างที่ชัดเจนกว่า แต่การแปลงแบบฮิลเบิร์ตอาจให้รายละเอียดรูปร่างไม่ชัดเจน แต่สามารถสังเกตเห็นตำแหน่งของโพรงได้ง่ายกว่าen_US
dc.description.abstractalternativeVoid under concrete pavement is major problem that results in concrete road damage. This research investigated the methods and capabilities for void exploring by using 3D GPR (Ground penetrating radar) methods to find the appropriate processing method and to provide a clear survey result. This Survey use 400 and 900 MHz frequency antennas. The results were analyzed using RADAN software. Time domain radar data were processed by basic processing steps such as display gain, position correction and migration. Then, these 2D profiles from the processing methods process again to create 3D model. Additionally the GPR data were also converted into the frequency, phase, and amplitude domain using Hilbert transform. When comparing 2D profile and 3D model obtained from the 400 and 900 MHz antennas, the image obtained from the 900 MHz provided better resolution while the 400 MHz antenna provides greater depth of penetration. For 2D profile, it is good for viewing the shape and depth of the voids, while 3D images make it possible to see the boundary of the voids from top view. When both types of data were interpreted together, the result was a better assessment of the shape of the voids. Between Time domain radar data and Hilbert transform, Time domain radar data provides clearer shape and depth of the voids. But the Hilbert transform gave the better position of voids.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผิวทางคอนกรีตen_US
dc.subjectหลุมen_US
dc.subjectการสร้างภาพสามมิติทางธรณีวิทยาen_US
dc.subjectPavements, Concreteen_US
dc.subjectHolesen_US
dc.subjectThree-dimensional imaging in geologyen_US
dc.titleการสำรวจแบบจำลองโพรงใต้ผิวทางคอนกรีต ด้วยวิธีสำรวจหยั่งลึกด้วยสัญญาณเรดาร์แบบสามมิติen_US
dc.title.alternativeExploration of void model under concrete pavement by 3D ground penetrating radar methoden_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorThanop.T@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Senior_project_Atima Kojima.pdf6.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.