Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/606
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวชิระ บุณยเนตร-
dc.contributor.authorสมบูรณ์ สาระพัด, 2522--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี-
dc.date.accessioned2006-06-29T11:00:08Z-
dc.date.available2006-06-29T11:00:08Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741763751-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/606-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของคณะกรรมการตรวจสอบกับรายงานผู้สอบบัญชี องค์ประกอบของคณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วย (1) จำนวนคณะกรรมการตรวจสอบ (2) ความเป็นอิสระของคณะกรรมการตรวจสอบ (3) สัดส่วนการถือหุ้นของคณะกรรมการตรวจสอบ (4) ความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษทางการบัญชีหรือการเงินของคณะกรรมการตรวจสอบ และ (5) ความรู้ความชำนาญด้านการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบ กลุ่มตัวอย่างคือบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2546 ยกเว้นกลุ่มธนาคาร เงินทุนหลักทรัพย์ประกันชีวิตและประกันภัย การศึกษาในครั้งนี้ใช้สถิติเชิงพรรณนา (ความถี่และร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยมและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติเชิงอนุมาน (ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของสองประชากร และการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติค) ในการอธิบายผลการวิจัยและการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของคณะกรรมการตรวจสอบกับรายงานผู้สอบบัญชี ผลการทดสอบ ณ ระดับความเชื่อมั่นที่ 95% พบว่า สัดส่วนของคณะกรรมการตรวจสอบที่มีความเป็นอิสระมีความสัมพันธ์เชิงลบกับโอกาส (ความน่าจะเป็น) ที่ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นแบบที่เปลี่ยนแปลงไปในทำนองเดียวกันพบว่า สัดส่วนของคณะกรรมการตรวจสอบที่มีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษทางการบัญชี หรือการเงินมีความสัมพันธ์เชิงลบกับโอกาส (ความน่าจะเป็น) ที่ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นแบบที่เปลี่ยนแปลงไป การศึกษานี้ได้ทดสอบตัวแปรควบคุมเพิ่มเติม ผลการทดสอบพบว่า ทิศทางความสัมพันธ์สอดคล้องกับงานวิจัยในอดีตทุกประการ กล่าวคือ ผู้สอบบัญชีมีแนวโน้มสูงที่จะแสดงความเห็นแบบที่เปลี่ยนแปลงไปในกรณีที่ (1) งวดที่แล้วกิจการได้รับรายงานแบบที่เปลี่ยนแปลงไป (2) อัตราส่วนของหนี้สินรวมต่อสินทรัพย์รวมอยู่ในระดับสูง และ (3) ถ้ากิจการผิดนัดชำระหนี้ ในทางตรงกันข้ามพบว่า ผู้สอบบัญชีมีแนวโน้มต่ำที่จะแสดงความเห็นแบบที่เปลี่ยนแปลงไป ในกรณีที่อัตราส่วนของกำไรสุทธิก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ต่อยอดขายสุทธิอยู่ในระดับสูงen
dc.description.abstractalternativeThe main objective of this thesis is to study the relationship between audit committee composition and auditor's reports. The audit committee composition consists of: (1) a number of audit committee members (2) independence of audit committee members (3) proportion of common stock held by audit committee members (4) experience in accounting and financial of audit committee members, and (5) experience in corporate governance of audit committee members. The samples include Thai listed companies in 2004 and exclude companies engaging in commercial banking, financing and securities, and insurance business. Not only descriptive statistics (frequency and proportion, minimum, maximum, mean, median, and standard deviation) but also inferential statistics (compare means and logistic regression analysis) are used to describe the results and test the relationship between audit committee composition and auditor's reports. As expected at 95% confidence interval, the greater the proportion of independence of audit committee members, the lower the probability the auditor will issue a modified report. Moreover, the greater the proportion of audit committee members with experience in accounting and financial, the lower the probability the auditor will issue a modified report. This study has attempted to minimize the risk by controlling other factors that could be correlated with both audit committee composition and auditor's reports. It is found that the relation between modified reports and the controls variables are consistent with prior studies. The likelihood of the modified reports increases when: (1) the modified reports are issued in the prior year (2) the greater leverage ratio, and (3) default and declines when the greater profitability ratio.en
dc.format.extent2293909 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.517-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectรายงานของผู้สอบบัญชีen
dc.subjectผู้สอบบัญชีen
dc.subjectคณะกรรมการตรวจสอบen
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของคณะกรรมการตรวจสอบกับรายงานของผู้สอบบัญชีen
dc.title.alternativeThe relationship between audit committee composition and auditor's reportsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameบัญชีมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการบัญชีen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorwachira@acc.chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.517-
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sombbon.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.