Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60763
Title: การศึกษาเปรียบเทียบภาวะถูกกระตุ้นของเซลล์เยื่อบุชนิดพาไรทัล ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านในผู้ป่วยกลุ่มอาการเนฟโฟรติก โรคเอฟเอสจีเอส และโรคมินิมัลเชนจ์ชนิดปฐมภูมิ
Other Titles: An Analysis of Activated Parietal Epithelial Cells in Patients with Primary Focal Segmental Glomerulosclerosis and Minimal Change Disease Using Transmission Electron Microscopy
Authors: ปองปราชญ์ พัวพัฒนกุล
Advisors: เถลิงศักดิ์ กาญจนบุษย์
ป๋วย อุ่นใจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Talerngsak.K@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ไต -- โรค -- การวินิจฉัยจากเซลล์
Kidneys -- Diseases -- Cytodiagnosis
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มาของงานวิจัย: บทบาทของเซลล์เยื่อบุชนิดพาไรทัล (parietal epithelial cells, PECs) ในโกลเมอรูลัส (glomerulus) เริ่มเป็นที่ทราบกันมากขึ้น และมีการศึกษาพบว่าในผู้ป่วยโรค focal segmental glomerulosclerosis (FSGS) จะพบ PECs ที่ถูกกระตุ้น (activated PECs) โดยการตรวจอิมมูโนพยาธิวิทยาของโปรตีนสัญลักษณ์ CD44 และสามารถนำมาช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคจากโรค minimal change disease (MCD) ได้ แต่ยังไม่เคยมีการศึกษาที่วิเคราะห์ความแตกต่างของ activated PECs โดยใช้ลักษณะโครงสร้างของเซลล์จากการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน ระหว่างผู้ป่วยโรค FSGS และผู้ป่วยโรค MCD วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบการตรวจพบ activated PECs ระหว่างผู้ป่วยโรค FSGS ผู้ป่วยโรค MCD ชนิดปฐมภูมิ วิธีการศึกษา: ทบทวนข้อมูลผู้ป่วยโรค FSGS และโรค MCD ชนิดปฐมภูมิตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 ถึง 2559 คัดเลือกผู้ป่วยที่มีข้อมูลทางพยาธิวิทยาครบถ้วน และได้รับการวินิจฉัยโรคถูกต้องตามเกณฑ์การวินิจฉัย นำชิ้นเนื้อไตของผู้ป่วยที่บรรจุอยู่ในเรซินมาทำการตัดชิ้นเนื้อ และวางลงบน slot grid ที่ถูกหุ้มด้วยฟิล์ม formvar เพื่อนำไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน ทำการบันทึกภาพของทั้ง glomerulus และ PECs ทุกเซลล์ใน glomerulus ด้วยเทคนิค montage ที่กำลังขยายสูง ผลการศึกษา: จากการทบทวน พบผู้ป่วยโรค FSGS 7 ราย และผู้ป่วยโรค MCD 8 รายที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การศึกษาและมีชิ้นเนื้อเพียงพอสำหรับการตรวจเพิ่มเติมด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ผลการศึกษาพบ activated PECs ในผู้ป่วยโรค FSGS ทุกราย (ร้อยละ 100) และพบในผู้ป่วยโรค MCD 6 จาก 8 ราย (ร้อยละ 80) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.467) ผู้ป่วยโรค FSGS พบ activated PECs เฉลี่ยร้อยละ 53.6 (95% CI = 26.6 - 80.6) ของ PECs ทั้งหมด มากกว่าผู้ป่วยโรค MCD ซึ่งพบ activated PECs เฉลี่ยร้อยละ 15.8 (95% CI = 3.1 - 28.5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.004) สรุป: Activated PECs สามารถพบได้ทั้งในผู้ป่วยโรค FSGS และผู้ป่วยโรค MCD แต่พบปริมาณที่มากกว่าในโรค FSGS การพบ activated PECs ในปริมาณมากอาจสามารถนำมาใช้ในการวินิจฉัยแยกโรค FSGS ออกจากโรค MCD ได้ แต่ยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติมในผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นต่อไป    
Other Abstract: Background: Demonstration of activated glomerular parietal epithelial cells (PECs) using immunohistochemistry of CD44 has been proposed to help distinguishing focal segmental glomerulosclerosis (FSGS) patients from minimal change disease (MCD). However, the comparison of activated PECs by using morphologic criteria under transmission electron microscopy (TEM) between these 2 diseases has never been studied. Objectives: To study the presence of activated PECs in FSGS patients in comparison to those in MCD patients. Methods: Renal specimens of patients with primary FSGS and MCD at King Chulalongkorn Memorial Hospital from 2013 to 2016 were retrieved. The adequate glomerular sections (diameter > 100 μm) were placed on formvar-coated slot grid and analyzed under montage TEM providing high magnification images of each PECs. Results: Seven FSGS and 8 MCD patients had adequate renal specimens for the TEM studies. Activated PECs were observed in all FSGS patients (100%) and 6 out of 8 MCD patients (80%) of which the difference was not statistically significant (p = 0.467). The mean percentage of activated PECs in FSGS patients was significantly higher than MCD patients (53.6%, 95% CI = 26.6 - 80.6 vs 15.8%, 95% CI = 3.1 - 28.5; p = 0.004). Conclusions: Activated PECs can be observed in patients with primary FSGS and MCD but at a significantly higher proportion in FSGS patients. The markedly increased activated PECs might provide a new diagnostic approach to distinguish FSGS from MCD. Further validation in a larger sample is still needed.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60763
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1271
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1271
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5874045630.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.